ทีทีบี เสนอรับมืออัตราแลกเปลี่ยนที่คาดเดาได้ยาก

Date:

นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 การนำเข้าและส่งออกของไทยมีสัดส่วนมากถึง 111.80% ของ GDP ซึ่งเป็นการซื้อขายกับประเทศคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียสูงถึง 36% เมื่อเทียบกับการซื้อขายกับสหรัฐอเมริกาซึ่งมีสัดส่วนเพียง 10.80% 

อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐในการชำระเงินระหว่างประเทศยังมีสัดส่วนที่สูงถึง 77.4% ซึ่งความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการเผชิญกับการควบคุมต้นทุนได้ยาก และส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น ทีทีบีจึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้ Local Currency Solutions เพื่อบริหารความเสี่ยงต้นทุนที่เกิดจากค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในปี 2566 สกุลเงินหยวนจีนและสกุลเงินท้องถิ่นอื่น ๆ มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาทหรือปรับตัวอยู่ไม่เกิน 3% เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวสูงถึง 9% 

นอกจากนี้สถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ภาวะสงคราม ภัยธรรมชาติ การเมืองและการค้าโลก ล้วนส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ

“ทีทีบีมีโซลูชันเพื่อให้ผู้ประกอบการพร้อมรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการคาดเดาได้ยาก ครอบคลุมทั้งบริการ Local Currency Solutions และบริการการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (New FX Ecosystem) ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องรับมือกับความผันผวนเงินตราต่างประเทศให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ“ นางสาวบุษรัตน์ กล่าว

ธนาคารมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันบริหารความเสี่ยงที่สามารถตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออก ด้วยบริการ Local Currency Solutions เพื่อช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกว่า 90% อาทิ  สกุลหยวนจีน อินเดียรูปี มาเลเซียริงกิต โดยมี 3 สกุลเงินใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ เวียดนามดอง เกาหลีวอน และ ฟิลิปปินส์เปโซ  โดยทีทีบี ถือเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็น

·    “Yuan Pro Rata Forward” เพื่อลดความผันผวน และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยงจากบริการรับจองอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวนจีน โดยทีทีบี เป็นธนาคารแรกที่ให้บริการ

·       บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (ttb multi-currency account)  สะดวก คล่องตัว ด้วยการบริหารจัดการเงินสกุลหลักและสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยรวม 11 สกุลเงิน เพียงใช้บัญชีเดียวสามารถใช้ซื้อ ขาย รับ จ่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สะดวกมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ควบคู่ไปกับธนาคารดิจิทัลอย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one)

·       สามารถเบิกใช้วงเงินกู้ Trade Finance ได้ทั้งสกุลเงินหลักและท้องถิ่นได้ถึง 13 สกุลเงิน รวมถึงสกุลหยวนจีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับคู่ค้า

ทีทีบีมุ่งหวังว่า Local Currency Solutions จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลง รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายตลาดไปยังเป้าหมายใหม่และเจรจาการค้าได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการและโซลูชันที่มุ่งตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ในทุกสถานการณ์ ก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เตรียมเคาะแจกเงิน ชาวนา ไร่ละ 1,000 บาท 

“อนุกูล” รองโฆษกรัฐบาล เผย การประชุม นบข. 25 พ.ย.นี้ เตรียมเคาะมาตรการช่วยเหลือเกษตรไร่ละ 1,000 บาท

ยัน แจกเงินหมื่น เฟส 2 ไม่ได้หวังผลการเมือง

ยัน แจกเงินหมื่น เฟส 2 ไม่ได้หวังผลการเมือง เป็นไปตามระยะเวลาที่เหมาะสม  ส่วนเงินหมื่นเฟส 3 ระบบเสร็จในเดือนมีนาคม 2568   

ธอส. รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ

ธอส. รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณผู้สนับสนุนโครงการเดิน วิ่ง ปั่น ป้องกันอัมพาต ครั้งที่ 10 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

จดทะเบียนธุรกิจใหม่ 10 เดือน แตะ 7.7 หมื่นราย

จดทะเบียนธุรกิจใหม่สะสม 10 เดือน แตะ 7.7 หมื่นราย โตขึ้น 2.18% คาดจัดตั้งทั้งปี 67 ทะลุ 9 หมื่นราย