GPSC – Doosan ปูทางสู่เป้าหมาย Net Zero

Date:

นายศิริเมธ ลี้ภากรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือ GPSC แกนนำนวัตกรรมธุรกิจไฟฟ้ากลุ่ม ปตท. เปิดเผยว่า วันที 19 มิถุนายน พ.ศ. 2567 GPSC ได้ลงนามบันทึกความข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับ Mr. Jung-kwan Kim รองประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท Doosan Enerbility Co, Ltd.  ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและน้ำเพื่ออุตสาหกรรม ดำเนินธุรกิจ อาทิ โรงไฟฟ้าพลังความร้อน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ โรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน และโซลูชั่นพลังงานปลอดคาร์บอนต่างๆ  จากสาธารณรัฐเกาหลี โดยได้รับเกียรติจาก Mr. Sang-jun Lim ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสิ่งแวดล้อม (MOE) สาธารณรัฐเกาหลี ร่วมเป็นประธานและสักขีพยานภายในพิธีลงนามฯ เพื่อร่วมกันศึกษาและพัฒนาการใช้เชื้อเพลิงร่วม (Fuel Shifts & Hybridization) เทคโนโลยี CCUS (Carbon, Capture, Utilization & Storage) หรือการดักจับ ใช้ประโยชน์ และกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งโซลูชั่นพลังงานปลอดคาร์บอน (Carbon Free Energy Solutions) อื่นๆ เพื่อการนำไปสู่การลดการปล่อยคาร์บอนในกระบวนการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำในโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ  ซึ่งเป็นหนึ่งในความมุ่งมั่นและพันธกิจหลักของบริษัทฯ เพื่อมุ่งลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ โดยมีแผนการศึกษาร่วมกันระหว่างปี พ.ศ. 2567-2569 เป็นระยะเวลาประมาณ 3 ปี 

Mr. Jung-kwan Kim รองประธานบริหารและประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ Doosan Enerbility กล่าวว่า การศึกษาร่วมกันในครั้งนี้ ได้นำเทคโนโลยีขั้นสูงของ Doosan Enerbility ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำแอมโมเนียมาเป็นเชื้อเพลิงผสมในการผลิตไฟฟ้าซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตร และเทคโนโลยี CCUS ที่มีความเหมาะสมในการติดตั้งและเพิ่มประสิทธิภาพของโรงไฟฟ้าของ GPSC ในการดักจับคาร์บอนให้เป็นไปตามเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจของ GPSC

“นับเป็นโอกาสที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการศึกษาเพื่อต่อยอดขยายการพัฒนาธุรกิจพลังงานสะอาดของ GPSC ตามแผนการเพิ่มสัดส่วนการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นหนึ่งในธุรกิจหลักของ GPSC ที่พร้อมแสวงหาโอกาส และขยายแนวทางการลดการปล่อยคาร์บอนในขั้นตอนการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ   นำไปสู่ศักยภาพการปรับปรุงโรงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั้งหมดของ GPSC  พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีขั้นสูง ที่ต้องมีปรับให้เข้ากับบริบทของโรงไฟฟ้าต่างๆ ที่ดำเนินการอยู่  ซึ่งสอดคล้องกับภารกิจหลักของ GPSC ในการช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน ดังนั้นการศึกษาร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจาก Doosan Enerbility และการได้รับการสนับสนุนจาก MOE จะผลักดันให้ GPSC สามารถบรรลุเป้าหมายแผนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ภายในปี พ.ศ. 2603” นายศิริเมธ กล่าว

จากความร่วมมือดังกล่าว ทั้งสององค์กรจะร่วมศึกษาการนำแอมโมเนีย ไฮโดรเจน มาใช้เป็นเชื้อเพลิงผสมในการผลิตไฟฟ้า และเทคโนโลยี CCUS รวมถึงการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อเตรียมติดตั้งระบบ อุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในอนาคต ซึ่งถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ต้องใช้การศึกษาเฉพาะทางเพื่อนำมาปรับใช้กายในโรงไฟฟ้าดั้งเดิมที่มีอยู่ เพื่อสร้างโอกาสในการขยายการพัฒนาโครงการพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยการนำโซลูชั่นที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อลดคาร์บอนในการผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการป้อนพลังงานให้กับลูกค้าภาคอุตสาหกรรม ที่ต้องการพลังงานสะอาดมาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของ GPSC ในการพัฒนานวัตกรรมพลังงานสะอาดและธุรกิจแห่งอนาคต หรือ S-Curve เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในนวัตกรรมพลังงานสะอาด เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้เกิดความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นำมาสู่การพัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืนในระดับประเทศต่อไป

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

”พิชัย“ ต้อนรับ ทัพนักธุรกิจรายใหญ่สหรัฐฯ

"พิชัย" ต้อนรับ ทัพนักธุรกิจรายใหญ่สหรัฐฯ USABC ชวนลงทุน-ตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ในไทย

นายแพทย์บุญ ได้กระทำในนามส่วนตัวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ THG

ก.ล.ต. ชี้ นายแพทย์บุญ ได้กระทำในนามส่วนตัวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ THG

บจ. SET งวด 9 เดือน กำไรอ่อนตัวลงจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน

ผลประกอบการ บจ. SET งวด 9 เดือน ได้รับแรงสนับสนุนจากธุรกิจท่องเที่ยว แต่กำไรอ่อนตัวลงจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน จากราคาน้ำมันที่ลดลง

หนี้ครัวเรือน เสียเพิ่มเป็น 1.16 ล้านล้านบาท

หนี้ครัวเรือน เสียเพิ่มเป็น 1.16 ล้านล้านบาท สถาบันการเงินให้กู้เพิ่ม ทำให้ยอดหนี้ครัวเรือนไตรมาสสามลดลง