TGO จับมือ KBank วิเคราะห์สถานการณ์ตลาดคาร์บอนไทยเติบโตต่อเนื่อง

Date:

องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) เครือข่ายคาร์บอนนิวทรัลประเทศไทย (TCNN) ร่วมกับธนาคารกสิกรไทยและศูนย์วิจัยกสิกรไทยอัพเดทสถานการณ์ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของไทยพร้อมแนวโน้มตลาดในอนาคตผ่านงานวิจัยThe 2024 Thailand’s Voluntary Carbon Market” ผลวิจัยชี้ผู้เล่นหน้าใหม่ต้องการความรู้เกี่ยวกับคาร์บอนเครดิตและการพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตให้เทียบเท่าระดับสากลส่วนกลุ่มSMEs ต้องการทั้งความรู้และเงินทุนซึ่งข้อมูลจากงานวิจัยที่ได้จะนำไปประกอบการพิจารณา เสนอแนะนโยบายส่งเสริมและผลักดันการพัฒนาตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของประเทศไทย

ดร. ณัฐริกาวายุภาพนิติพนรองผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกรักษาการผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกกล่าวว่าโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (T-VER) เริ่มตั้งแต่ปี.. 2557 จนถึงปัจจุบันมีที่ขึ้นทะเบียนโครงการจำนวนรวมทั้งสิ้น 438โครงการมาจากแบบStandard T-VER จำนวน 434 โครงการและแบบPremium T-VER จำนวน 4 โครงการซึ่งในจำนวนนี้มีโครงการที่ได้รับรองคาร์บอนเครดิตจำนวน 169 โครงการมาจากแบบStandard T-VER เท่านั้นโดยมีปริมาณคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองแล้ว 19.53 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (MtCO2eq) ขณะที่เริ่มมีการซื้อขายคาร์บอนเครดิตTVERs ตั้งแต่ปี.. 2559 จนถึงปัจจุบัน (ล่าสุดมิถุนายน 2567) มีปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเกิดขึ้นในตลาดแรกและตลาดรองจำนวนกว่า 3.42 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซต์เทียบเท่า (MtCO2eq)  มูลค่าซื้อขายรวมกว่า 299 ล้านบาทซึ่งมูลค่าตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของไทยในระยะ 9 เดือนของปีงบประมาณ 2567 เติบโตขึ้นกว่า 17% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้ารวมถึงโอกาสที่ตลาดจะขยายตัวจากแรงกระตุ้นของร่าง... การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ.. ที่จะปรับใช้ในอนาคตอีกด้วย

นายพิพิธเอนกนิธิผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทยกล่าวว่าในประเทศไทยปริมาณการซื้อขายคาร์บอนเครดิตถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำคิดเป็นสัดส่วนเพียง0.77%ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของไทยทั้งหมดอุปสรรคสำคัญหนึ่งก็คือต้นทุนในการดำเนินการทั้งต้นทุนค่าประเมินและรับรองคาร์บอนเครดิตซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของตลาดคาร์บอนเครดิตในประเทศโดยเฉพาะกลุ่มผู้พัฒนาโครงการรายเล็กที่ขาดแคลนเงินทุน

โดยผลการสำรวจสถานการณ์ตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจของไทยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ที่จัดทำโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยพบว่าคาร์บอนเครดิตที่มีการซื้อขายมีปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการลดก๊าซเรือนกระจกโดยผู้พัฒนาโครงการคาร์บอนเครดิตมีแผนจะนำคาร์บอนเครดิตประเภทพลังงานทดแทนออกขายในตลาดขณะเดียวกันคาร์บอนเครดิตประเภทป่าไม้ที่มีราคาสูงจะมีออกขายในตลาดน้อยเนื่องจากผู้พัฒนามีแนวโน้มจะนำเครดิตไปใช้สำหรับชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของตนเองมากกว่าและมิติด้านราคา พบว่าผู้พัฒนาโครงการหรือผู้ขายคาร์บอนเครดิตยินดีที่จะขาย มีแนวโน้มสูงกว่าราคาที่ผู้ซื้อยินดีที่จะซื้อในทุกกลุ่มประเภทโครงการ 

ขณะที่ด้านมาตรการสนับสนุน พบว่า ควรมุ่งเน้นไปที่ 2 ส่วน ผ่านการสนับสนุนผู้เล่นใหม่เข้ามาในตลาด ซึ่งต้องการความรู้เกี่ยวกับแนวทางการลดก๊าซเรือนกระจก การพัฒนาโครงการ การขึ้นทะเบียนคาร์บอนเครดิต และกระบวนการซื้อขาย และส่วนที่ 2 การพัฒนามาตรฐานคาร์บอนเครดิตในประเทศให้เทียบเท่าและได้รับการยอมรับในระดับสากล

นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดที่เป็นกลุ่ม SMEs ต้องการให้มีนโยบายสนับสนุนด้านความรู้และความช่วยเหลือทางการเงิน และสร้างแรงจูงใจโดยการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขอรับรองคาร์บอนเครดิตสำหรับผู้พัฒนาโครงการและมีกลไกอุดหนุนราคาคาร์บอนเครดิตเพื่อให้ธุรกิจ SMEs เข้าร่วมในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจมากขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri 

กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอาเซียน

พันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน ซื้อเกินเป้าหมายกว่า 2.76 เท่า

สบน. ประสบความสำเร็จในการออก พันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน  (Sustainability-Linked Bond) ครั้งแรก ด้วยการเสนอซื้อเกินเป้าหมายกว่า 2.76 เท่า

ปี 2568 ส่งออกไทย ยังเสี่ยง

ปี 2568 การค้าโลกและการส่งออกของไทย ยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น

EXIM BANK ร่วมยินดีรองปลัดกระทรวงการคลัง

EXIM BANK ร่วมยินดี “ธีรลักษ์ แสงสนิท” รองปลัดกระทรวงการคลัง