ก.ล.ต. หนุนบริการผู้ลงทุนไทยของผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ 

Date:

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางทางการเงินระดับโลก ขณะเดียวกันยังคงป้องกันการให้บริการที่อาจเข้าข่ายเป็นการประกอบธุรกิจหลักทรัพย์หรือธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้าโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงเผยแพร่เอกสารแนวทางการให้บริการผู้ลงทุนไทยของผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ เพื่อสื่อสารและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับขอบเขตการประกอบธุรกิจที่สามารถดำเนินการได้ รวมทั้งแนวทางของ ก.ล.ต. ในการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ  

ปัจจุบันผู้ลงทุนไทยมีแนวโน้มสนใจการลงทุนในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศมากขึ้นเพื่อกระจายการลงทุนและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทน ทำให้มีผู้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ผู้ประกอบธุรกิจ) ในประเทศไทย รวมทั้งผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศสนใจให้บริการผู้ลงทุนในผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมากขึ้น

เพื่อให้ผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศที่สนใจเข้ามาให้บริการผู้ลงทุนไทยทราบถึงช่องทางและขอบเขตในการให้บริการที่สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง ก.ล.ต. จึงได้จัดทำเอกสารสรุปแนวทางการให้บริการผู้ลงทุนไทยของผู้ประกอบธุรกิจต่างประเทศ รวมถึงกำหนดแนวทางการอำนวยความสะดวกในการเข้ามาประกอบธุรกิจ (ease of doing business) โดยมีสาระสำคัญ 4 หัวข้อหลัก ดังนี้

(1) การขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์/สัญญาซื้อขายล่วงหน้า (สัญญาฯ)

(2) การให้บริการที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์/สัญญาฯ

(3) การดำเนินการที่ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต/จดทะเบียนประกอบธุรกิจหลักทรัพย์/สัญญาฯ และ

(4) ข้อควรระวังในการให้บริการแก่ผู้ลงทุนไทยกรณีไม่ได้รับการอนุญาตประกอบธุรกิจ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

5 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ 

ธปท. ออกบทความ 5 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ 

บางจาก ศรีราชา (BSRC) โชว์ศักยภาพโรงกลั่น

บางจาก ศรีราชา (BSRC) โชว์ศักยภาพโรงกลั่น เผยความสำเร็จตลอดปี 2567

“BCPG” รุกลงทุนในเวียดนาม ลงนามสัญญาซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานลม

“BCPG” รุกลงทุนในเวียดนาม ลงนามสัญญาซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานลม กำลังการผลิต 99 เมกะวัตต์ มูลค่ากว่า 4 พันล้านบาท ในเมืองซาลาย 

พีระพันธุ์ แจงคืบหน้านโยบาย “รื้อ ลด ปลด สร้าง”

พีระพันธุ์ แจงคืบหน้านโยบาย “รื้อ ลด ปลด สร้าง” เตรียมเสนอกฎหมายจัดตั้ง SPR ต่อสภาต้นปี 68