ฟิลิปส์ ร่วมรณรงค์วันหัวใจโลก 

Date:

จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหัวใจในประเทศไทยมากถึง 7 หมื่นราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และยังพบผู้ป่วยโรคหัวใจตั้งแต่อายุ 15 ปี เห็นได้ว่าผู้ป่วยโรคหัวใจพบได้ตั้งแต่อายุยังน้อย ดังนั้น ฟิลิปส์ ผู้นำด้านเทคโนโลยีด้านการดูแลสุขภาพระดับโลกจึงอยากร่วมรณรงค์ให้คนไทยตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลโรคหัวใจ เนื่องในวันหัวใจโลก (World Heart Day) ที่ตรงกับวันที่ 29 กันยายนของทุกปี โดยได้เชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจมาร่วมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคหัวใจ พร้อมจัดเวิร์คช้อปเพื่อยกระดับความรู้ในการตรวจโรคหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจขั้นสูงให้แก่บุคลากรทางการแพทย์กว่า 60 ท่าน ในงาน “2nd Primer in 3D Echo” 

โรคหัวใจถือเป็นโรคที่อันตราย เพราะอาจจะไม่แสดงอาการอะไรเลยจนอาจเกิดการเสียชีวิตเฉียบพลัน โดยโรคหัวใจมีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็น โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด หรือโรคหัวใจที่เกิดจากไลฟ์สไตล์และการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกหลักโภชนาการ อาทิ โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ และโรคลิ้นหัวใจ เป็นต้น โดยในผู้ป่วยโรคหัวใจอาจจะมีอาการเหนื่อยหอบง่าย นอนราบแล้วอึดอัดต้องลุกขึ้นมานั่งช่วงกลางคืน เจ็บหน้าอกซึ่งมีลักษณะเฉพาะ ใจสั่นเต้นเร็ว หรือเป็นลมหมดสติที่ไม่ได้เกิดจากการเป็นลมแดดหรือการยืนนาน เป็นต้น ดังนั้น การสังเกตความผิดปกติ และการเข้ารับการตรวจหรือปรึกษาแพทย์จึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลโรคหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ

ศาสตราธิคุณแพทย์หญิง สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง อุปนายก สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานชมรมคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “ผู้ป่วยโรคหัวใจเพิ่มขึ้นทุกปีโดยเฉพาะโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน เพราะวิถีชีวิตของคนในปัจจุบันที่ค่อนข้างเครียด เร่งรีบ อาหารที่รับประทานมีส่วนประกอบของแป้งและไขมันเพิ่มขึ้น การออกกำลังกายน้อยลง รวมถึงข้อจำกัดในการเข้าถึงแพทย์และการตรวจเฉพาะทางต่างๆ แนะนำให้เข้ารับการตรวจสุขภาพเป็นประจำ แพทย์จะซักถามประวัติ ตรวจร่างกาย ตรวจโลหิตเพื่อประเมินเบื้องต้น และพิจารณาส่งตรวจเพิ่มเติมทางหัวใจและหลอดเลือดตามข้อบ่งชี้ โดยหนึ่งในการตรวจทางหัวใจที่สำคัญ คือ การตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ใช้หลักการของคลื่นอัลตราซาวด์ส่งผ่านหน้าอกผู้ป่วยไปยังหัวใจและสะท้อนกลับมาแสดงเป็นภาพหัวใจในขณะเคลื่อนไหว สามารถดูหัวใจทุกส่วนประกอบที่สำคัญ โดยการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจนี้ไม่ใช้รังสีหรือสารทึบแสง ดังนั้นถือว่ามีความปลอดภัย และมีความสำคัญในการวินิจฉัยแยกโรคโรคหัวใจประเภทต่างๆ เพราะการวินิจฉัยที่แม่นยำย่อมนำมาซึ่งการรักษาที่ถูกต้องและได้ผลลัพธ์ที่ดี”

ปัจจุบันการพัฒนาการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ จากภาพ 2 มิติ มาเป็นการใช้งานเทคโนโลยี 3 มิติ หรือ 3D Echocardiography (3D Echo) มีบทบาทสำคัญในการใช้คลื่นเสียงสะท้อนหัวในการตรวจวินิจฉัยได้ละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น  ฟิลิปส์ หนึ่งในผู้นำด้านเทคโนโลยี 3D Echo  เล็งเห็นความสำคัญของการส่งเสริมความรู้และเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากรทางการแพทย์ในการใช้เทคโนโลยีการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจ เพื่อตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคหัวใจในประเทศไทยจึงได้จัดงานเวิร์คช้อป Primer in 3D Echo ครั้งที่2 ขึ้น ณ โรงแรม Conrad กรุงเทพฯ พร้อมเชิญแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนหัวใจมาเป็นวิทยากร โดยหัวข้อหลักในปีนี้คือ “Basic to intermediate using 3D Echo in daily practice” มุ่งเน้นการพัฒนาองค์ความรู้และทักษะของการใช้งานเทคโนโลยีการหัวใจด้วยเสียงสะท้อนแบบ 3 มิติ ในการวินิจฉัยและวางแผนการรักษาโรคหัวใจ เนื้อหาครอบคลุมตั้งแต่การเลือกใช้เครื่องมือต่างๆบนโปรแกรมของเครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนชนิด 3 มิติให้เหมาะสม  การจัดการข้อมูลภาพ 3 มิติ และมีการฝึกปฏิบัติเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้ทดลองใช้เครื่องมือและเทคโนโลยีจริง โดยหวังว่าประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากงานนี้จะช่วยยกระดับคุณภาพการรักษาและการวินิจฉัยโรคหัวใจ เพื่อให้การดูแลผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายวิโรจน์ วิทยาเวโรจน์ ประธานและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ฟิลิปส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า “ฟิลิปส์ ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับด้านสุขภาพและมีวิสัยทัศน์ที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตและดูแลความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คน ดังนั้น การรณรงค์ในวันหัวใจโลกจึงเป็นหนึ่งในพันธกิจที่เราต้องมีส่วนร่วมเพื่อมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพแบบยั่งยืน ทั้งต่อตัวผู้ป่วยโดยการรณรงค์ให้ความรู้และเพิ่มการเข้าถึงระบบสาธารณสุขซึ่งเราได้มีการจัดและสนับสนุนกิจกรรมมากมายมาโดยตลอด ในขณะที่เราก็จำเป็นต้องสนับสนุนการทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ทั้งการนำเสนอนวัตกรรมที่ทันสมัย การจัดการฝึกอบรมและให้ความรู้บุคลากรทางการแพทย์ เพื่อให้ผลลัพธ์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น” 

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการเข้ารับการตรวจโรคหัวใจตั้งแต่เนิ่นๆ ยังจะเป็นสิ่งสำคัญ แต่การดูแลสุขภาพหัวใจเชิงป้องกันก็สำคัญเช่นกันเพราะการดูแลสุขภาพต้องเริ่มต้นที่ตัวเราเอง การป้องกันไม่ให้ป่วยเป็นโรคหัวใจย่อมดีกว่าการรักษา “สิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพให้ห่างไกลโรคหัวใจก็คือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลี่ยงอาหารมัน ทอด หวาน พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี หรือหากพบความผิดปกติก็รีบปรึกษาแพทย์ เพียงเท่านี้ เราก็จะมีสุขภาพที่แข็งแรงและสามารถลดความรุนแรงของโรคได้” ศาสตราธิคุณแพทย์หญิง สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง กล่าวปิดท้าย

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ทักษิณ อุ๊งอิ๊ง ใครคือนายกตัวจริง?

เทพไท เสนพงศ์ ตั้งคำถามชวนคิดการเมือง ทักษิณ อุ๊งอิ๊ง ใครคือนายกตัวจริง?

“ธนกร” เชื่อ การเมืองหลัง 22 พ.ย. นี้ ประเทศต้องเดินหน้าต่อ

“ธนกร” มอง ทุกคดีศาลรธน.ยึดตามหลักกฎหมาย เชื่อ การเมืองหลัง 22 พ.ย. นี้ ประเทศต้องเดินหน้าต่อ ขอ ทุกฝ่ายอย่าคาดเดาจนอาจก้าวล่วงอำนาจ 

ธอส. จัดทำสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ

ธอส. จัดทำสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุ ดอกเบี้ย 3 เดือนแรก 0% ผ่อนชำระเพียงล้านละ 4,300 บาทต่อเดือน เท่านั้น

ออมสิน คว้ารางวัลชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น

ออมสิน คว้ารางวัลชนะเลิศกองทุนสำรองเลี้ยงชีพดีเด่น 2 ปีซ้อน