กรมบัญชีกลาง  หนุ่นผู้ประกอบการ่วมป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง

Date:

นางแพตริเซีย มงคลวนิช อธิบดีกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 มาตรา 19 บัญญัติให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในประเภทหรือมีวงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างตามที่คณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต (คณะกรรมการ ค.ป.ท.) ประกาศกําหนดในราชกิจจานุเบกษา หากประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องจัดให้มีนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วมป้องกันการทุจริตและสร้างความโปร่งใสในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะกรรมการ ค.ป.ท. ได้ยกเลิกประกาศฉบับเดิมและได้ออกประกาศคณะกรรมการความร่วมมือป้องกันการทุจริต เรื่อง วงเงินในการจัดซื้อจัดจ้างและมาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 25 กันยายน 2567 โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 13 เมษายน 2568 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ประกาศฉบับนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางและวิธีการดำเนินงานในหลายประเด็น อาทิ

1. กำหนดให้ผู้ประกอบการที่ประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอในโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่มีวงเงินเกิน 300 ล้านบาทขึ้นไป ต้องจัดให้มีมาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง พร้อมยื่นแบบตรวจสอบข้อมูลของผู้ประกอบการที่ประสงค์จะเข้ายื่นข้อเสนอกับหน่วยงานของรัฐในการจัดซื้อจัดจ้างที่มีวงเงินเกิน 300 ล้านบาทขึ้นไป และหลักฐานอ้างอิง เพื่อใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นข้อเสนอในโครงการดังกล่าว

2. กรณีผู้ประกอบการมี ISO 37001 ระบบการจัดการต่อต้านการให้และรับสินบน (Anti – Bribery Management Systems) หรือการรับรองจากแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC Certified) ผู้ประกอบการสามารถใช้เอกสารดังกล่าวแทนการกำหนดนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างตามแนวทางและวิธีการที่คณะกรรมการ ค.ป.ท. กำหนดได้

3. กำหนดให้ผู้ประกอบการต้องทบทวนมาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างอย่างน้อยทุก 3 ปี

4. มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างหรือการรับรองมาตรฐานต้องมีผลครอบคลุมตั้งแต่วันเข้ายื่นข้อเสนอในการจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานของรัฐจนถึงวันที่ได้รับเงินค่าจ้างงวดสุดท้าย ทั้งนี้ หากมาตรฐานขั้นต่ำหรือการรับรองมาตรฐานดังกล่าวไม่ครอบคลุมช่วงเวลาที่กำหนด ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งให้ผู้ประกอบการนำแบบตรวจสอบข้อมูลฯ และหลักฐานอ้างอิงฉบับใหม่มามอบให้แก่หน่วยงานของรัฐก่อนวันที่แบบตรวจสอบข้อมูลฉบับเดิมจะครบกำหนดวันที่มีผลบังคับใช้ 

5. กรณีผู้ประกอบการไม่ดำเนินการตามข้อ 4 ให้หน่วยงานของรัฐแจ้งให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. ทราบภายใน 30 วันทำการ นับแต่วันที่จ่ายเงินค่าจ้างงวดสุดท้าย เพื่อให้คณะกรรมการ ค.ป.ท. พิจารณาดำเนินการต่อไป

“กรมบัญชีกลางมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การดำเนินงานตามประกาศฉบับนี้ นอกจากจะช่วยยกระดับการสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการป้องกันการทุจริตของประเทศให้มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพิ่มมากขึ้นอีกด้วย” อธิบดีกรมบัญชีกลางกล่าว

ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดประกาศฯ ได้ที่เว็บไซต์ www.cgd.go.th หัวข้อ “ข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact)” หัวข้อย่อย “มติ/หนังสือเวียน” หรือตาม QR Code นี้ และสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่กองความร่วมมือและความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ กรมบัญชีกลาง โทร. 0 2127 7151 Facebook : ข้อตกลงคุณธรรม-Integrity Pact กรมบัญชีกลาง

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

UAC เดินหน้าลงทุนเพิ่มโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน

UAC เดินหน้าลงทุนเพิ่มโอกาสการเติบโตอย่างยั่งยืน หนุนรายได้รวมปี 68 โต 15% และ EBITDA มากกว่า 20%

เปิดแล้ว! ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7 ยุคใหม่

เปิดแล้ว! ท่าเรืออัจฉริยะพระราม 7 ยุคใหม่ ที่ใช้พลังงานอย่างชาญฉลาด เชื่อมต่อทุกการเดินทางอย่างสมบูรณ์

SPRC ร่วมกับ เชฟรอน มอบบัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้ กทม. 

SPRC ร่วมกับ เชฟรอน มอบบัตรเติมน้ำมันคาลเท็กซ์ ให้ กทม. ช่วยเหลือผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว

OR มอบ พีทีที สเตชั่น พริวิเลจการ์ด  100,000 บาท แก่ กทม.

OR มอบ พีทีที สเตชั่น พริวิเลจการ์ด มูลค่า 100,000 บาท แก่ กทม. สำหรับภารกิจกู้ภัยและค้นหาผู้สูญหายในพื้นที่อาคารถล่ม