บริษัทเครดิตบูโร รายงานภาระหนี้สินภาคครัวเรือนจากสถาบันการเงิน 157 แห่งที่เป็นสมาชิกของเครดิตบูโร ครอบคลุมประชาชนคนไทยและผู้มีถิ่นฐานในประเทศไทยที่มีหนี้สินกับสถาบันการเงินสมาชิก ซึ่งปัจจุบันครอบคลุมประมาณกว่า 30 ล้านคนจากฐานข้อมูลสถิติที่ไม่มีตัวตนในไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีรายละเอียดดังนี้
หนี้ครัวเรือนในระบบเครดิตบูโรอยู่ที่ 13.6 ล้านล้านบาท (หนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมด 16.3 ล้านล้านบาท) อัตราการเติบโต 0.5% yoy ถ้าเป็น QoQ จะ -0.2% สรุปคือสินเชื่อไม่โต เศรษฐกิจในไตรมาส 3 เติบโต 3% ในช่วง 9 เดือนโต 2.3% สินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็ก -4.6% yoy สินเชื่อเบิกเกินบัญชี -4.5% yoy ดำเนินนโยบายไทยคำอังกฤษคำมาจนสินเชื่อให้กับผู้คนเดินถนนถอยลงได้ระดับนี้ต้องกราบขอประชดประชันด้วยการปรบมือชื่นชมครับ.. หมดคำสิเว้า..
ระดับของ NPLs ก็เป็นไปตามคาดมาอยู่ที่ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 8.8% ของหนี้รวม 13.6 ล้านล้านบาท มันคือเส้นสีแดงที่พุ่งขึ้นมาชัดเจนตั้งแต่ไตรมาสที่ 1 ปี 2566 พักฐานไตรมาสที่ 4 ปี 2566 แล้วไปต่อตั้งแต่ปี 2567 พร้อมๆกับมาตรการกลับไปสู่ความเป็นปกติ (normalize) เศรษฐกิจค่อย ๆ โตกลับมาอย่างเชื่องช้า มีเรื่องการให้กู้อย่างรับผิดชอบ การแก้หนี้เรื้อรัง แก้หนี้ครบวงจร ภาพของเส้นหนี้เสียวิ่งจาก 7.7% สู่ 8.8% วันก่อน IMF แวะมาคุยที่สำนักงานก็พยักหน้ากับผลกระทบหลังโควิดและยิ้มอ่อน เมื่อถามถึงตัวเลขความสำเร็จของการแก้หนี้แบบครบวงจรตลอดเส้นทางการเป็นหนี้ โดยเฉพาะแก้หนี้เรื้อรังว่ามีจำนวนกี่บัญชีที่เข้ามาตรการแก้ไขปิดจบ หรือมาตรการ debt consolidation ว่ามียอดทำได้เท่าใด
หนี้ NPLs ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท โดยประมาณ เติบโต 14.1% yoy 3.4% QoQ โดย NPLs สินเชื่อบ้าน รถยนต์ เครดิตคาร์ด สินเชื่อส่วนบุคคลไม่ขยายตัวจากไตรมาสก่อน แต่สินเชื่อธุรกิจคนตัวเล็กหรือ SME เติบโต 20% yoy 5.2% QoQ
สำหรับหนี้ SM ครับ ยอดคงค้าง Q3 ปี 2567 มาหยุดที่ 4.8 แสนล้านบาทโดยประมาณ ลดลงมาทั้ง yoy QoQ
การปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลังเป็นหนี้เสียที่เรียกว่าทำ TDR ซึ่งตัวเลขสะสมมาอยู่ที่ 1.03 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.6% ของ 13.6 ล้านล้านบาท เติบโต QoQ ติดลบประมาณ 3%
ในส่วนของ DR หรือปรับโครงสร้างหนี้เชิงป้องกันก่อนเป็นหนี้เสียยอดสะสมตั้งแต่เมษายน 2567 หยุดที่ 1.2 ล้านบัญชี 6.45 แสนล้านบาท