ธนาคารกรุงไทย ประเมินว่า การกลับมาของ ปธน. ทรัมป์พร้อมชัยชนะที่เด็ดขาดในการเลือกตั้งสหรัฐฯ และการที่พรรค Republican ครองเสียงข้างมากทั้งสภาผู้แทนฯ และวุฒิสภา ส่งสัญญาณถึงการกลับมาของนโยบายการค้าเข้มงวด โดยในรอบนี้มาพร้อมกับเครื่องมือนโยบาย 2 ประการ ผ่าน 3 กลไกสำคัญ ได้แก่:
นโยบายอัตราภาษีศุลกากรพื้นฐานทั่วไป (Universal Baseline Tariff) สำหรับสินค้านำเข้าทุกประเภท และนโยบายภาษีศุลกากรตอบโต้ (Reciprocal Tariffs)
การดำเนินการผ่าน Section 301, Section 232 และการเพิกถอน PNTR ที่อาจใช้เวลารวม 6-8 เดือนในการบังคับใช้
ประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯ อันดับ 12 ของโลก ด้วยมูลค่า 43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีความเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าที่มีการเกินดุลสูง เช่น HDD, Semiconductor และยางล้อ รวมถึงกลุ่มที่มีการเติบโตสูง เช่น Solar Panels และ Air Conditioners ซึ่งอาจเผชิญกับการเพิ่มขึ้นของอัตราภาษีจาก 0-4% เป็น 10-35% ภายใต้มาตรการใหม่
จากความเสี่ยงและความไม่แน่นอนที่สูงขึ้น ต้องอาศัยการขับเคลื่อนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนอย่าง proactive เพื่อรับมือกับ trade war 2.0 ที่ขยายขอบเขตจาก “Anywhere, but China” สู่ “Anything, but China”