การประชุมข้าวยั่งยืนระดับโลก

Date:

“ความท้าทายของเราคือการขยายการผลิตข้าวยั่งยืนและกระตุ้นความต้องการข้าวยั่งยืน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางสิ่งแวดล้อมและเป้าหมายทางสังคมระดับโลกที่วางไว้ร่วมกัน” Inge Jacobs หัวหน้าด้านการจัดหาที่ยั่งยืนนานาชาติของ Mars Food & Nutrition กล่าวในระหว่างการประชุมและนิทรรศการข้าวยั่งยืนระดับโลกครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เมื่อไม่นานมานี้

การประชุมและนิทรรศการข้าวยั่งยืนระดับโลกครั้งที่ 3 ที่ผ่านมา จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมสหประชาชาติ (UNCC) กรุงเทพมหานคร โดยเวทีข้าวยั่งยืน (Sustainable Rice Platform: SRP) งานนี้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญกว่า 240 คนจากทั่วโลกเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวิธีการเปลี่ยนแปลงวงการข้าวทั่วโลก ขับเคลื่อนความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม ความยืดหยุ่นทางเศรษฐกิจ และความเป็นธรรมทางสังคม วิทยากรจากองค์การสหประชาชาติ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการวิจัย ภาคประชาสังคม พร้อมด้วยแทนจากหน่วยงานต่างๆในประเทศไทย เช่น กรมการข้าว สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สถาบันเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ บริษัท แคปปิตอลไรซ์ จำกัด บริษัท ยูนิเวอร์แซล ไรซ์ จำกัด บริษัท อุทัย โปรดิวส์ จำกัด ร่วมกันแบ่งปันประสบการณ์และความท้าทายในการปฏิบัติตามมาตรฐานข้าวยั้งยืน SRP รวมถึงโอกาสในการขยายการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั้งในไทยและต่างประเทศ โดย มาตรฐานข้าวยั้งยืนของ SRP เป็นมาตรฐานความยั่งยืนภาคสมัครใจสำหรับข้าวมาตรฐานแรกของโลก ซึ่งออกแบบมาเพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรตั้งแต่รายย่อยจนถึงรายใหญ่ นำแนวปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพในด้านการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสภาพภูมิอากาศและยั่งยืนมาใช้

งานครั้งนี้เน้นย้ำถึงความหลากหลายของโครงการที่ช่วยสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงวงการข้าวยั่งยืน โดยมีการนำเสนอนวัตกรรมและเทคโนโลยีสำหรับเกษตรกร เครื่องมือการลงทุนและการสนับสนุนทางการเงินในระดับท้องถิ่น และแนวทางความร่วมมือในการลดการปล่อยคาร์บอนในตลาดข้าวทั่วโลก ซึ่งทั้งหมดนี้ช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถบรรลุผลลัพธ์ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้

การประชุมที่จัดโดยเวทีข้าวยั่งยืนนี้ยังได้มีการอภิปรายถึงปัจจัยการเปลี่ยนแปลง รวมถึงข้อกำหนด กฎระเบียบ การเปลี่ยนแปลงของตลาด การรายงานความยั่งยืนขององค์กร และเครื่องมือทางการเงินที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตของวงการข้าวยั่งยืน

นางสาว กุลศิริ กลั่นนุรักษ์ ผู้อำนวยการกองวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กล่าวในพิธีเปิด โดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของข้าว ซึ่งไม่เพียงแค่เป็นแหล่งอาหารสำคัญ แต่ยังเป็นหัวใจของวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของไทย “ข้าวเป็นส่วนสำคัญของสังคมไทยมานานหลายศตวรรษ ส่งเสริมการดำรงชีวิตของเกษตรกรหลายล้านคน รักษาวิถีชีวิตและชุมชน และที่สำคัญเป็นส่วนประกอบหลักในอาหารไทยและภาคการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย”

“กรมการข้าวมุ่งมั่นที่จะสนับสนุน SRP และเราภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการที่มุ่งส่งเสริมข้าวยั่งยืนทั่วประเทศ โดยหนึ่งในโครงการเหล่านี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) และดำเนินการร่วมกับ UNEP, GIZ และ SRP โดยในช่วง 4 ปีข้างหน้า โครงการนี้มีเป้าหมายที่จะอบรมเกษตรกรผู้ปลูกข้าว 45,000 คนให้ใช้มาตรฐาน SRP”

“ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อกระตุ้นการนำแนวทางที่ยั่งยืนและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำมาใช้ในวงกว้างคือเป้าหมายหลักของ SRP” Dr. Wyn Ellis ผู้อำนวยการ SRP กล่าวในระหว่างพิธีเปิดงาน

“ข้าวตั้งอยู่บนจุดตัดของสองความท้าทายระดับโลก คือ ระบบอาหารที่ยั่งยืนและการดำเนินการต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ SRP มุ่งเน้นแนวทางที่เชื่อมโยงการดำเนินการด้านคาร์บอนและความต้องการของเกษตรกรรายย่อย ผ่านกรอบความยั่งยืนที่ครอบคลุม ทั้งการดำรงชีวิตของเกษตรกรรายย่อย ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ สิทธิของแรงงาน และการเสริมพลังผู้หญิงในห่วงโซ่คุณค่าข้าว”

ในการกล่าวปาฐกถาหัวข้อหลักในงาน Chris Brett หัวหน้าด้านธุรกิจการเกษตร จากกลุ่มธนาคารโลก ได้กล่าวแสดงความยินดีต่อ SRP สำหรับความก้าวหน้าในการเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการดำเนินการระดับโลก และรายงานความเน้นย้ำที่เพิ่มขึ้นเกี่ยวกับการเงินเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคข้าวในกลุ่มผู้พัฒนาระดับโลก “เราเดินหน้าทำงานเพื่อใช้ประโยชน์จากการเงินทุนสนับสนุนและตลาดคาร์บอน เพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงในวงการข้าวไปสู่การปฏิบัติที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ”

“เรากำลังก้าวหน้าอย่างมากในการพัฒนาเครื่องมือและนวัตกรรมด้านการเงินที่ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำมาใช้ในวงกว้าง พร้อมเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรรายย่อย อย่างไรก็ตาม การสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐและการลงทุนจากภาคเอกชนในระดับที่สูงกว่าจะเป็นสิ่งสำคัญในการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้”

ในการกล่าวปาฐกถาหัวข้อหลักของ Dr. Yvonne Pinto ผู้อำนวยการทั่วไปจากสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้ง SRP ได้กล่าวว่า SRP ยืนอยู่ในช่วงเวลาที่สำคัญในบริบทของปัจจัยขับเคลื่อนหลักในระดับโลก “ตลาดโลกสำหรับข้าวยั่งยืนกำลังพัฒนาเนื่องจากการผสมผสานของความต้องการด้านความมั่นคงทางอาหาร ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจสำหรับเกษตรกร ความชอบของผู้บริโภคที่ต้องการความยั่งยืน และการลงทุนอย่างต่อเนื่องในนวัตกรรมทางการเกษตร”

“เรามองเห็นโอกาสที่ยิ่งใหญ่ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับใหญ่ผ่านข้อปฏิบัติข้าวยั่งยืน และการสร้างเส้นทางสู่การลดคาร์บอนและการกักเก็บคาร์บอนปริมาณมหาศาล พร้อมกับการสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเกษตรกร สิ่งแวดล้อม และสังคม”

วิทยากรได้พูดคุยแลกเปลี่ยนถึงวิธีการที่สมาชิกและพันธมิตรของ SRP ทั่วโลกใช้ในการส่งเสริมข้าวยั่งยืน โดยนำเสนอกรณีศึกษาระดับประเทศและผ่านการอธิปรายจากผู้อภิปรายจากทั่วโลก งานนี้ยังมีการเปิดตัวแพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับข้าว SRP ชื่อว่า RiceTrace ยกระดับการดำเนินงานและรับรองมาตรฐานข้าวยั่งยืน และมีการเปิดตัวร่างมาตรฐานข้าวยั่งยืน SRP ฉบับ 3.0 เพื่อให้ประชาชนได้ร่วมแสดงความคิดเห็น และรายงานความคืบหน้าในการพัฒนา SRP Low Carbon Assurance Module ร่วมกับพันธมิตรหลัก โดยมีเป้าหมายเพื่อวัดและตรวจสอบการลดก๊าซเรือนกระจกในการเพาะปลูกข้าวยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีการเปิดตัวรายงานใหม่จาก IFC สองฉบับ ซึ่งสำรวจโอกาสทางตลาดและการเงินสำหรับข้าวยั่งยืน และการเปรียบเทียบมาตรฐาน SRP กับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระดับโลกที่เกี่ยวข้องกับ SRP

เกี่ยวกับเวทีข้าวยั่งยืน  (Sustainable Rice Platform: SRP)

เวทีข้าวยั่งยืน  (Sustainable Rice Platform: SRP) เป็นความร่วมมือของหลากหลายองค์กรระดับโลก ประกอบด้วยสมาชิกสถาบันกว่า 100 รายจากภาครัฐ ภาคเอกชน การการวิจัย ภาคประชาสังคม และภาคการเงิน SRP ทำงานร่วมกับสมาชิกและพันธมิตรเพื่อมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับข้าวทั่วโลก ผ่านการปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรรายย่อย ลดผลกระทบทางสังคม สิ่งแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการผลิตข้าว และนำเสนอความมั่นคงในการจัดหาข้าวที่ผลิตอย่างยั่งยืนให้ตลาดข้าวโลก

SRP ส่งเสริมประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรและความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระบบริเวศข้าว (ทั้งในฟาร์มและตลอดห่วงโซ่คุณค่า) และส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงตลาดโดยสมัครใจผ่านการพัฒนามาตรฐานการผลิตที่ยั่งยืน ตัวชี้วัด แรงจูงใจ และกลไกการเข้าถึงเพื่อส่งเสริมการนำแนวปฏิบัติที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพภูมิอากาศและยั่งยืนมาใช้ในวงกว้างในหมู่เกษตรกรรายย่อย

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเวทีข้าวยั่งยืน ติดต่อ info@sustainablerice.org หรือเยี่ยมชม www.sustainablerice.org

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อดีต รมว.คลัง มึนไอเดียทักษิณ ออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นดิจจิทัลคอยน์

“สมหมาย ภาษี” ชี้ ไอเดียทักษิณ ออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นดิจจิทัลคอยน์ รู้สึกว่ามันพิสดารสิ้นดี

คริปโทในทักษิโนมิคส์ ฝันเฟื่องในโลกเสมือนจริง

“ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ชี้ คริปโทในทักษิโนมิคส์ ฝันเฟื่องในโลกเสมือนจริง

ก.ล.ต. กล่าวโทษ บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์

ก.ล.ต. กล่าวโทษ บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ และอดีตผู้บริหาร กรณีปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญของแบบ filing

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์ กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต