จับตา ค่าเงินบาท สัปดาห์นี้ ลุ้นผลการประชุม กนง.

Date:

โดยนับตั้งแต่ช่วงคืนวันศุกร์ที่ผ่านมา เงินบาท (USDTHB) ทยอยแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยในลักษณะ Sideways Down (แกว่งตัวในกรอบ 33.52-33.64 บาทต่อดอลลาร์) โดยเงินบาทได้แรงหนุนอยู่บ้าง ตามการจังหวะการย่อตัวลงบ้างของทั้งเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ หลังผู้เล่นในตลาดเพิ่มโอกาสเฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ย 2 ครั้ง หรือ 50bps ในปีนี้ เป็นราว 80% จากรายงานดัชนี PMI ภาคการบริการของสหรัฐฯ ที่สำรวจโดย S&P Global ในเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งปรับตัวลดลงสู่ระดับ 49.7 จุด (ดัชนีต่ำกว่า 50 จุด สะท้อนถึงภาวะหดตัว) แย่กว่าที่ตลาดคาดไว้ว่าจะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 53 จุด พอสมควร อย่างไรก็ดี เงินดอลลาร์ยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง จากความต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย หลังตลาดการเงินสหรัฐฯ อยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) นอกจากนี้ เงินบาทยังพอได้แรงหนุนอยู่บ้าง ตามการปรับตัวขึ้นของราคาทองคำ (XAUUSD) 

สัปดาห์ที่ผ่านมา เงินดอลลาร์ทยอยอ่อนค่าลงต่อเนื่อง หลังผู้เล่นในตลาดคลายกังวลแนวโน้มการดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐฯ ลงบ้าง อีกทั้งบรรดาสกุลเงินหลัก อย่าง เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ก็แข็งค่าขึ้นชัดเจน ตามความหวังว่าธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะเดินหน้าทยอยขึ้นดอกเบี้ยได้เพิ่มเติมในปีนี้   

สำหรับในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ควรติดตามแนวโน้มการเจรจาสันติภาพเพื่อยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครน สถานการณ์การเมืองเยอรมนี หลังรับรู้ผลการเลือกตั้ง และรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญ อย่าง อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ รวมถึงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทย

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาท ธนาคารมองว่า โมเมนตัมการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาอาจชะลอลงบ้าง และโดยรวมเงินบาทอาจแกว่งตัว Sideways โดยต้องจับตาทิศทางเงินดอลลาร์ รวมถึงราคาทองคำ (ที่เสี่ยงย่อตัวลง หรืออย่างน้อยก็แกว่งตัว Sideways) ส่วนฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติในตลาดทุนไทย อาจยังมีความผันผวนอยู่พอสมควร และมีโอกาสเห็นแรงขายทำกำไรสถานะถือครองบอนด์ไทยจากบรรดานักลงทุนต่างชาติได้บ้าง 

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น ธนาคารมองว่า แม้เงินดอลลาร์จะอยู่ในแนวโน้มอ่อนค่า ทว่าการอ่อนค่าก็อาจชะลอลงบ้าง โดยเงินดอลลาร์อาจพอได้แรงหนุนอยู่ หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) หรือในกรณีที่อัตราเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด นอกจากนี้ ควรติดตามพัฒนาการสถานการณ์การเมืองเยอรมนี หลังรับรู้ผลการเลือกตั้งและแนวโน้มการเจรจาเพื่อยุติสงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่จะกระทบต่อทิศทางบรรดาสกุลเงินฝั่งยุโรป โดยเฉพาะเงินยูโร (EUR) 

ธนาคารยังคงคำแนะนำว่า ผู้เล่นในตลาดควรเลือกใช้เครื่องมือในการปิดความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนที่หลากหลายมากขึ้น ท่ามกลางความผันผวนของเงินบาท รวมถึงสกุลเงินอื่นๆ ที่สูงขึ้นกว่าช่วงอดีตที่ผ่านมาพอสมควร โดยผู้เล่นในตลาดอาจเลือกใช้เครื่องมือเพิ่มเติม อาทิ Options หรือ Local Currency ควบคู่ไปกับการปิดความเสี่ยงผ่านการทำสัญญา Forward 

ธนาคาร มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 33.30-33.85 บาท/ดอลลาร์

ส่วนกรอบเงินบาทในช่วง 24 ชั่วงโมงข้างหน้า คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 33.45-33.70 บาท/ดอลลาร์ 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

คาด กนง. ลดดอกเบี้ย ช่วยประคอง ศก. ไม่ให้ทรุดไปกว่านี้

“อมรเทพ จาวะลา” ประเมิน 3 ปัจจัยเสี่ยง ทำให้ กนง. ลดดอกเบี้ย ในการประชุม 30 เม.ย. นี้ ประตองเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดตัวไปมากกว่านี้

ค่าเงินบาทแข็ง หุ้นไทยยังทรงตัว

ค่าเงินบาทแข็งค่า จากดอลลาร์ถูกเทขาย ส่วนหุ้นไทยยังทรงตัว ลุ้นปัจจัยเสี่ยงการเจรจาภาษีกับสำรัฐ

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ในปี 2025 ยังขยายตัวต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในปี 2025 ยังขยายตัวต่อเนื่อง พบมีกำลังการผลิตเพื่อแปรรูปปาล์มน้ำมันสูงกว่าผลผลิตปาล์มน้ำมันราว 1 เท่า

แอกซ่า ตอกย้ำความสำคัญของวันสตรีสากล

แอกซ่า ตอกย้ำความสำคัญของวันสตรีสากล เสริมสร้างความมั่นใจ พร้อมผลักดันศักยภาพด้านธุรกิจของผู้หญิงไทย เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน