ลุ้น กนง. ลดดอกเบี้ยอีกรอบเดือน มิ.ย.

Date:

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า อ่านจากรายงานผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ลดดอกเบี้ยรอบลง 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 2.00% ลองตีความได้ว่า

1 ที่ลดเพราะความเสี่ยงขาลงมากขึ้น – เศรษฐกิจไทยอาจขยายตัวไม่ตามที่คาด ต้องการแรงส่งจากมาตรการทางการเงิน

2 กนง น่าห่วงภาคการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะของถูกจากจีนที่ทะลักเข้ามากระทบ  SME ที่แข่งไม่ได้

3 เงินเฟ้อระยะสั้นเสี่ยงไม่ถึงกรอบ แม้จะอ้างถึงราคาน้ำมันและมาตรการอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ แต่ต้องเข้าใจว่าหากอุปสงค์ไม่ดีก็ขึ้นราคายากแม้ต้นทุนอื่นขยับขึ้นมารอแล้ว ที่ผมจะดูต่อคือ กนง.พยายามย้ำว่าไม่ใช่ภาวะเงินฝืด หรือภาวะที่เงินเฟ้อติดลบต่อเนื่อง ซึ่งผมสงสัยว่าทำไมถึงมาถกกันเรื่องนี้  ทั้งๆที่เงินเฟ้อเราอยู่ที่ 1.3%จากปีก่อน หรือกนง.กำลังดูพัฒนาการเงินเฟ้อเดือนต่อเดือนด้วย ที่ล่าสุด +0.1%หลังติดลบแบบเดือนต่อเดือนมาหลายเดือนก่อนหน้า เรื่องนี้ปกติต้องดูอยู่แล้ว 

4 ภาวะการเงินตึงตัว – อธิบายชัดเจน และผมเชื่อว่านี่คือปัจจัยหลักในการลดดอกเบี้ยรอบนี้ โดยเฉพาะคำว่า “คณะกรรมการฯ เห็นว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ช่วยลดความตึงตัวของภาวะการเงินโดยไม่กระทบต่อความเสี่ยงด้านเสถียรภาพระบบการเงินในระยะยาว” เหมือนจะบอกเป็นนัยว่า ธปทห่วงเรื่องหนี้ครัวเรือน แต่เมื่อสินเชื่อเริ่มหดตัว ครัวเรือนรายได้ยังไม่ฟื้นเต็มที่และหนี้สูง ก็น่าหาทางลดดอกเบี้ยเพื่อช่วยบรรเทา และไม่น่าทำให้หนี้กลับมาเพิ่มขึ้นได้เหมือนที่กังวลไว้ก่อน 

5 ลองอ่านสิ่งที่ไม่ได้เขียนบ้าง ว่าขาดคำว่าอะไร เช่น รายได้เกษตรกร ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มอ่อนแอตามราคาที่ลดลง มีเพียงการส่งออกคาดว่าจะขยายตัวได้ในกลุ่มเกษตรแปรรูป หรือ ค่าเงินบาทแข็งค่าเทียบคู่ค้า จริงๆกระทบภาคส่งออก แต่เขียนเพียงว่าผันผวนตามความไม่แน่นอนของนโยบายประเทศเศรษฐกิจหลัก หรือคำที่หายไป นั่นคือ การรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า เหมือนกนง.1เสียงที่ให้คงดอกเบี้ย แต่ทำไมอีก 6 เสียงเปลี่ยนใจ ไม่จำเป็นต้องเก็บ policy space นี้แล้ว นอกจากเห็นผลด้าน downside risk 

ในรายงานจบท้ายได้ดีว่า อัตราดอกเบี้ยที่ปรับลดลงนี้สอดคล้องกับแนวโน้มเศรษฐกิจที่ประเมินครั้งนี้ และเหมือนจะบอกว่า ถ้าอยากให้เศรษฐกิจดีขึ้น ต้องแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างด้วยนโยบายที่เพิ่มขีดความสามารถของเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม

มองต่อไป ผมเชื่อว่า กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้อีก และมีอิสระมากพอที่จะดำเนินนโยบายที่ไม่ตามทั้งเฟดและคำเรียกร้องทางการเมือง แต่อยากให้สื่อสารให้ชัดเจนว่าเราควรดูอะไร ทั้งคำที่ย้ำในนี้ และคำที่หายไป ผมห่วงคำที่ไม่มีในนี้จะกลับมาเพิ่มเติมได้ในรอบเดือนเมษายนครับ

รอบหน้า 30 เมษายน คราวหน้า รอดูว่าเฟดยังไม่ลดดอกเบี้ยเดือนมีนาคม แต่ทรัมป์น่าออกมาตรการกีดกันการค้าหนักขึ้น จะเก็บภาษีแบบตอบโต้ไหม และจะกระทบการส่งออกและการผลิตไทยอย่างไร จะต้องประเมินเรื่องการใช้มาตรการทางการเงินในการป้องกันหรือ preemptive เลยไหม ค่าเงินบาทจะเป็นเช่นไร ยากครับ รอติดตามกันไป แต่รอบหน้าน่าจะคงดอกเบี้ย รอประกาศ GDP ไตรมาสแรกของไทยก่อนในวันที่ 19 พ.ค. ลุ้นอีกที 25 มิ.ย. 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

คาด กนง. ลดดอกเบี้ย ช่วยประคอง ศก. ไม่ให้ทรุดไปกว่านี้

“อมรเทพ จาวะลา” ประเมิน 3 ปัจจัยเสี่ยง ทำให้ กนง. ลดดอกเบี้ย ในการประชุม 30 เม.ย. นี้ ประตองเศรษฐกิจไม่ให้ทรุดตัวไปมากกว่านี้

ค่าเงินบาทแข็ง หุ้นไทยยังทรงตัว

ค่าเงินบาทแข็งค่า จากดอลลาร์ถูกเทขาย ส่วนหุ้นไทยยังทรงตัว ลุ้นปัจจัยเสี่ยงการเจรจาภาษีกับสำรัฐ

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ในปี 2025 ยังขยายตัวต่อเนื่อง

อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในปี 2025 ยังขยายตัวต่อเนื่อง พบมีกำลังการผลิตเพื่อแปรรูปปาล์มน้ำมันสูงกว่าผลผลิตปาล์มน้ำมันราว 1 เท่า

แอกซ่า ตอกย้ำความสำคัญของวันสตรีสากล

แอกซ่า ตอกย้ำความสำคัญของวันสตรีสากล เสริมสร้างความมั่นใจ พร้อมผลักดันศักยภาพด้านธุรกิจของผู้หญิงไทย เพื่อความสำเร็จที่ยั่งยืน