วิจัยกรุงกรุงศรี คาด พิษสหรัฐฯ ขึ้นภาษี ทำส่งออกไทยปีนี้โต 0%

Date:

ส่งออกไทย
ส่งออกไทย

วิจัยกรุงกรุงศรี ประเมินว่า มูลค่าส่งออกในเดือนมีนาคมที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ อาจเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวจากการเร่งนำเข้าเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดแม้มีการประกาศเลื่อนการบังคับใช้ภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) กับประเทศต่างๆ ออกไป 90 วัน แต่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐานที่ 10% และเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตรา 145% ขณะที่จีนโต้กับด้วยการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯในอัตรา 125% สถานการณ์ดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 

วิจัยกรุงศรี ประเมินในกรณีเลวร้าย หากไทยต้องเผชิญกับอัตราภาษีนำเข้าตอบโต้ที่ 36% เกิน 6 เดือน หรือผลจากการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯพบว่าไทยเผชิญอัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม (อัตราภาษีเดิมประกาศที่ 46%) จะทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ในกรณีนี้การส่งออกโดยรวมในปี 2568 อาจไม่สามารถขยายตัวได้เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

IMF ประเมิน GDP ไทยปีนี้เติบโตต่ำสุดในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ด้านวิจัยกรุงศรีประเมินหากการส่งออกไม่โตในปีนี้ GDP ไทยอาจขยายตัวเพียง 1.5-1.8%  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานประมาณการอ้างอิง (Reference forecast) ซึ่งยังไม่ใช่กรณีฐาน (Baseline) โดยคำนึงถึงมาตรการภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ ประกาศจนถึงวันที่ 4 เมษายน และการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย IMF  คาดว่า GDP จะขยายตัวเพียง 1.8% ในปี 2568 และ 1.6% ในปี 2569 เทียบกับประมาณการเดิมที่ 2.9% และ 2.6% ตามลำดับ  ทั้งนี้ เป็นอัตราเติบโตต่ำกว่า 2% เพียงประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกัน IMF ชี้ว่า ASEAN จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากนโยบายภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงทางการค้ากับจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีครั้งนี้

วิจัยกรุงศรีประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.7% โดยได้รับทั้งผลกระทบระยะสั้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้ว และยังถูกซ้ำเติมจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เบื้องต้นวิจัยกรุงศรีได้จัดทำประมาณการ GDP ของไทยในปี 2568 ภายใต้ 3 ฉากทัศน์ ได้แก่ (i) หากสหรัฐฯ คงอัตราภาษีนำเข้าพื้นฐานที่ 10% ตลอดทั้งปี  คาดว่า GDP ไทยจะขยายตัวที่ 2.2–2.4% (ii) หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการภาษีตอบโต้ที่ 36% เป็นระยะเวลา 3–6 เดือน GDP อาจชะลอลงมาอยู่ที่ 1.9–2.1% และ (iii) หากมาตรการภาษีตอบโต้ดำเนินต่อเนื่องเกิน 6 เดือน หรือหากไทยคู่แข่งประสบความสำเร็จในการเจรจากับสหรัฐฯ จนทำให้อัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทย กรณีดังกล่าว GDP ไทยอาจขยายตัวเพียง 1.5–1.8% ในปีนี้  ทั้งนี้ การจัดทำฉากทัศน์ดังกล่าวสะท้อนความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการส่งออก การลงทุน และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจไทยตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

คลังแจงมูดี้ส์ ลดอันดับเครดิตอนาคตของไทย

คลังแจงมูดี้ส์ ลดอันดับเครดิตอนาคตของไทย ยืนยันรักษาวินัยการคลัง มีแผนทำงบแบบสมดุล

กนง. มีมติลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% พยุงศก.ไทย

กนง. มีมติ 5 ต่อ 2 เสียง ให้ลดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% จาก 2.00% เป็น 1.75% เพื่อผยุงเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยงทั้งในและนอกประเทศ

เผยยอดการค้าชายแดน 6 เดือน รัฐบาลแพทองธาร โตแรง 7.8%

“พิชัย“ เผยยอดการค้าชายแดนและผ่านแดนไทย 6 เดือน รัฐบาลแพทองธาร โตแรง 7.8%

MOODY’S จ่อลดเครดิตไทย พ่นพิษคลังมีข้อจำกัดกระตุ้นเศรษฐกิจ

ซีไอเอ็มบี มอง MOODY’S ลดมุมมองเครดิตไทยในอนาคต ทำให้มาตรการคลังมีข้อจำกัดกระตุ้นเศรษฐกิจ