“ไทยพาณิชย์” นำร่องทดสอบสกุลเงินดิจิทัลภาคประชาชน (Retail CBDC)

Date:

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ล่าสุด ได้รับการคัดเลือกจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมทดสอบการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail CBDC) เพื่อใช้งานจริงในวงจำกัดในช่วงปลายปี 2565 ไปจนถึงกลางปี 2566 สะท้อนขีดความสามารถทางเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคาร ผนวกกับประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรของธนาคารในการรองรับการให้บริการในทุกมิติ โดยความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมกันวางโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมการเงินแห่งโลกอนาคตให้กับประเทศไทยที่จะช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคธุรกิจ พร้อมช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวก และมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ธนาคารไทยพาณิชย์ ตอกย้ำความเป็นหนึ่งในผู้นำด้านดิจิทัลแบงก์กิ้ง ล่าสุด ได้รับการคัดเลือกจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นหนึ่งในผู้ร่วมทดสอบการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail CBDC) เพื่อใช้งานจริงในวงจำกัดในช่วงปลายปี 2565 ไปจนถึงกลางปี 2566 สะท้อนขีดความสามารถทางเทคโนโลยีดิจิทัลของธนาคาร ผนวกกับประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญทางการเงินในเชิงลึก ตลอดจนความพร้อมด้านทรัพยากรของธนาคารในการรองรับการให้บริการในทุกมิติ โดยความร่วมมือครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญในการร่วมกันวางโครงสร้างพื้นฐานด้านนวัตกรรมการเงินแห่งโลกอนาคตให้กับประเทศไทยที่จะช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ภาคธุรกิจ พร้อมช่วยให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวก และมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

ดร.ชาลี อัศวธีระธรรม รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงาน Digital Banking ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า “ธนาคารไทยพาณิชย์ รู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้รับการคัดเลือกจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ให้เป็นหนึ่งในผู้ร่วมทดสอบการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน (Retail CBDC) เพื่อใช้งานจริงในวงจำกัด ภายใต้ 2 แกนหลัก ได้แก่ 1.การทดสอบระดับพื้นฐาน (Foundation Track) เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของระบบ รวมถึงรูปแบบของการนำเทคโนโลยีมาใช้งานจริงกับประชาชนรายย่อย และ 2. การทดสอบระดับนวัตกรรม (Innovation Track) เพื่อสร้างบริการทางการเงินใหม่ๆ โดยจะนำร่องเปิดทดสอบให้บริการในช่วงปลายปี 2565 จนถึงกลางปี 2566 ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารมีความเชี่ยวชาญในเชิงลึก รวมถึงมีประสบการณ์ในการพัฒนาแพลตฟอร์ม และแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อลูกค้ารายย่อย เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัล (E-Wallet) ในวงจำกัดร่วมกับหลากหลายพาร์ทเนอร์ชั้นนำของประเทศ แอปพลิเคชัน SCB EASY Robinhood (โรบินฮู้ด) และอื่นๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ธนาคารยังมีความพร้อมด้านทรัพยากรและบุคลากรที่สามารถช่วยรองรับการให้บริการแก่ลูกค้า เราจึงเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถนำจุดแข็งของธนาคารมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอดความร่วมมือครั้งนี้ร่วมกับ ธปท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางเพื่อให้ประชาชนใช้งาน (Retail CBDC) คือ เงินในรูปแบบธนบัตรที่ถูกพัฒนาให้กลายสภาพเป็นรูปแบบเงินดิจิทัล ทำให้การถือ Retail CBDC เทียบเท่ากับการถือธนบัตร ไม่มีความเสี่ยง นับเป็นโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินครั้งสำคัญที่จะเชื่อมโอกาสจากทั่วทุกมุมโลกมาสู่ประเทศไทยอย่างไร้พรมแดน พร้อมช่วยเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ภาคธุรกิจ ด้วยเครือข่ายการชำระเงินที่หลากหลาย โปร่งใส และสามารถติดตามได้แบบเรียลไทม์ ตลอดจนสามารถพัฒนาต่อยอด สร้างสรรค์ประสบการณ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ๆ พร้อมช่วยให้ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินที่สะดวกและมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อดีต รมว.คลัง มึนไอเดียทักษิณ ออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นดิจจิทัลคอยน์

“สมหมาย ภาษี” ชี้ ไอเดียทักษิณ ออกพันธบัตรรัฐบาลเป็นดิจจิทัลคอยน์ รู้สึกว่ามันพิสดารสิ้นดี

คริปโทในทักษิโนมิคส์ ฝันเฟื่องในโลกเสมือนจริง

“ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล” ชี้ คริปโทในทักษิโนมิคส์ ฝันเฟื่องในโลกเสมือนจริง

ก.ล.ต. กล่าวโทษ บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์

ก.ล.ต. กล่าวโทษ บมจ.ออลล์ อินสไปร์ ดีเวลลอปเม้นท์ และอดีตผู้บริหาร กรณีปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งในสาระสำคัญของแบบ filing

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตผู้บริหาร บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์

ก.ล.ต. กล่าวโทษอดีตประธานกรรมการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.ทรีซิกตี้ไฟว์ กับพวกรวม 6 ราย ต่อ บก.ปอศ. กรณีทุจริต