วิจัยกรุงศรี คาดสหรัฐขึ้นภาษีไทย 36% ส่งออกวูบ 1.62 แสนล้าน

Date:

ส่งออก

วิจัยกรุงศรีประเมินกรณีเลวร้ายหากสหรัฐฯเก็บภาษีนำเข้ากับไทยในอัตรา 36% มูลค่าการส่งออกจะหายไปกว่า 1.62 แสนล้านบาท และหากยกเว้นภาษีนำเข้าแก่สหรัฐฯ ไทยอาจเสี่ยงเกิดภาวะ Twin Influx ในวันที่ 7 กรกฏาคม ไทยได้รับจดหมายจากสหรัฐฯ แจ้งเตรียมเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยในอัตราสูงถึง 36% โดยจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 สิงหาคมนี้  หากไม่มีข้อตกลงทางการค้าใหม่เกิดขึ้น ล่าสุดรัฐบาลไทยได้ยื่นข้อเสนอทางการค้าปรับปรุงเพิ่มเติม (ดังตาราง) หลังการเจรจารอบแรกไม่ประสบความความสำเร็จ รวมถึงเร่งขอเจรจาเพื่อต่อรองให้ได้อัตราภาษีที่ลดลงต่ำกว่า 36%

หากสินค้าส่งออกของไทยต้องถูกเก็บภาษีนำเข้าในอัตราสูงถึง 36% ซึ่งนับเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูงในบรรดาประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ และสูงกว่าประเทศคู่แข่งในภูมิภาคอย่างชัดเจน โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งสามารถเจรจาลดอัตราภาษีเหลือ 20% (และ 40% สำหรับสินค้าที่ต้องสงสัยว่าถูกส่งผ่าน)  ในกรณีเลวร้ายนี้วิจัยกรุงศรีประเมินว่ามูลค่าการส่งออกของไทยจะหายไปถึง 1.621 แสนล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือ  กลุ่มสิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์ไฟฟ้า อาหารและเครื่องดื่ม ยางและพลาสติก

ส่วนกรณีหากไทยและสหรัฐฯ บรรลุข้อตกลงทางการค้าที่มีลักษณะคล้ายกับข้อตกลงระหว่างสหรัฐฯ กับเวียดนาม โดยที่สหรัฐฯ เรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากไทยในอัตรา 20% ขณะที่ไทยยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็น 0% ผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอาจรุนแรงน้อยกว่ากรณีที่มีการเรียกเก็บภาษีที่ 36% ถึง 9.3 เท่า หรือคิดเป็นมูลค่าส่งออกที่หายไป 0.174 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม การยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ดังกล่าวอาจเป็นการแก้ปัญหาหนึ่งแต่จะสร้างอีกปัญหาตามมา โดยเฉพาะความเสี่ยงจากการเพิ่มขึ้นของการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก จากแบบจำลองพบว่าในระยะยาวการนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ อาจเพิ่มขึ้นถึง 27% หรือประมาณ 1.883 แสนล้านบาท โดยกลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหว อาทิ กลุ่มสินค้าเกษตร และอาหารและเครื่องดื่ม อาจเผชิญกับการหลั่งไหลเข้าของสินค้าจากสหรัฐฯ ในอัตรากว่า 100% ขณะที่กลุ่มสินค้าอื่น ๆ เช่น ยานยนต์และอุปกรณ์ขนส่ง สิ่งทอ เครื่องหนังและรองเท้า ยางและพลาสติก ก็อาจมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นในระดับเลขสองหลักเช่นกัน

การเปิดตลาดให้สินค้าสหรัฐฯมากขึ้นเพื่อแลกกับการลดภาษีอาจนำไปสู่ภาวะ “Twin Influx” หรือ การไหลทะลักเข้าของสินค้าจากสหรัฐฯ ที่เกิดขึ้นพร้อมกับการไหลทะลักของสินค้าจีนเข้าสู่ไทย ในท้ายที่สุด ภาวะ “Twin Influx” อาจบั่นทอนขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมที่มีการจ้างงานถึง 28.6% ของกำลังแรงงาน (ปี 2567) ทั้งนี้ ท่ามกลางความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีนที่รุนแรงขึ้น ประเทศไทยอาจมีทางเลือกตอบโต้ที่จำกัด ดังนั้น จึงควรเร่งขยายตลาดและเจรจาการค้ากับประเทศอื่นๆมากขึ้น และหันมาแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างในระยะยาวอย่างจริงจัง เพื่อลดแรงกดดันจากนโยบายการค้าของประเทศแกนหลัก

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

EXIM BANK ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จฯ พระเจ้าอยู่หัว

EXIM BANK ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

ธนาคารกรุงเทพ จัดกิจกรรม “บัวหลวงรักษ์ป่า”

ธนาคารกรุงเทพ จัดกิจกรรม “บัวหลวงรักษ์ป่า” สร้างป่าหลากสี 1,000 ต้น ฟื้นระบบนิเวศให้สมบูรณ์ เพิ่มรายได้ชุมชนยั่งยืน

กรุงไทย กำไรสุทธิครึ่งปี 2568 จำนวน 22,836  ล้านบาท

กรุงไทย กำไรสุทธิครึ่งปี 2568 จำนวน 22,836  ล้านบาท เน้นดูแลคุณภาพสินทรัพย์ เร่งช่วยลูกค้าแก้หนี้และปรับตัวอย่างยั่งยืน 

นายกฯ อุบ “ทักษิณ” ร่วมงานเลี้ยงพรรคร่วมฯ

นายกฯ อุบ “ทักษิณ” ร่วมงานเลี้ยงพรรคร่วมฯ บอกสื่อรอฟังพรุ่งนี้