รถยนต์ไฟฟ้าทำยอดแตะ 2.8 แสนคัน

Date:

นโยบายรัฐส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าทำยอดแตะ 2.8 แสนคัน คาดทั้งปีขายกว่า6 หมื่นคัน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV)ในประเทศไทยซึ่งประชาชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรการจูงใจทางภาษี ซึ่งปัจจุบันนี้ มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 2.84 แสนคัน แบ่งเป็น รถยนต์ไฮบริด 2.28 แสนคัน รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน 3.7 หมื่นคัน และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ 1.8 หมื่นคัน และมีการประเมินจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า สิ้นปี 2565 ยอดขายรวม 6.3 หมื่นคัน แบ่งเป็น รถยนต์ไฮบริด 4.2 หมื่นคัน รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน 1.1 หมื่นคัน และ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ 1 หมื่นคัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนลังเลในการตัดสินใจซื้อรถEV คือ เบี้ยประกัน ที่พบว่า เบี้ยประกันภัยของรถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่าเบี้ยประกันภัยของรถยนต์ทั่วไปอย่างมาก ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย พัฒนา ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ได้เชิญบริษัทประกันภัยที่มีการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลายบริษัท และผู้แทนจากคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทยหลายครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในประเด็นหลัก ๆ คือ 1) บริษัทประกันกำหนดเบี้ยประกันภัยรถ EV แต่ละสัญชาติไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบริษัทที่รับประกันภัยรถยนต์กลุ่มนี้ 2) การรับประกันภัยรถ EV มีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรถสันดาป ในปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 800:1 ต้นทุนในการเกิดเหตุของรถEVสูงกว่ารถสันดาปค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขปัญหาเบี้ยประกันภัย ระยะสั้นและเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัย จะต้องมีการดำเนินการคือ
1)การจัดทำเอกสารแนบท้าย กำหนดทางเลือกเฉพาะกรณีแบตเตอรี่ได้รับความเสียหายและต้องมีการเปลี่ยนแบบยกชุดเท่านั้น (กรณีใช้วิธีการซ่อม บริษัทรับผิดชอบทั้งหมด) โดยให้มีทางเลือก 3 กรณี ให้ผู้เอาประกันภัยเลือกข้อใดข้อหนึ่ง และบริษัทจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย 10-25% (ตามประสบการณ์ของแต่ละบริษัท) ดังนี้

กรณีที่ 1 จำกัดจำนวนเงินความคุ้มครองของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทจะให้ความคุ้มครองไม่ต่ำไปกว่า 50% ของมูลค่าแบตเตอรี่ หรือ

กรณีที่ 2 กำหนดความรับผิดส่วนแรก โดยจะระบุไม่เกิน 15% ของมูลค่าแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ

กรณีที่ 3 Copayment กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายร่วมไม่เกิน 15%

2)ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันว่าในช่วงนี้บริษัทประกันภัยรถ EV จะไม่มีการขึ้นเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมโดยบริษัทจะคงราคานี้ไว้ไปก่อน

3)เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จะร่วมกันเก็บรวบรวมสถิติในการรับประกันภัยรถ EV และศึกษารูปแบบการประกันภัยเพื่อจัดทำพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถ EV เพื่อให้ความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัย ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยใหม่ที่บริษัทประกันภัยในประเทศไทยยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ โดยกำหนดแผนดำเนินการในปี 2566

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ทางเลขาธิการ คปภ. ได้สั่งการให้สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยเร่งพิจารณาร่างเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถ EV ร่วมกับสายกฎหมายและคดีเพื่อเสนอต่อนายทะเบียนพิจารณาให้ความเห็นชอบตามกระบวนการและขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาในระยะสั้นได้ ส่วนอนาคต ทางคปภ. จะพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ EV โดยเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องจัดทำพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถ EV เพื่อให้ความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัยอันจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้รถยนต์ไฟฟ้าทำยอดแตะ 2.8 แสนคัน

นโยบายรัฐส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าทำยอดแตะ 2.8 แสนคัน คาดทั้งปีขายกว่า6 หมื่นคัน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงแนวโน้มการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV)ในประเทศไทยซึ่งประชาชนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เป็นผลจากนโยบายรัฐบาลที่ส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าเพื่อลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงและช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ผ่านมาตรการจูงใจทางภาษี ซึ่งปัจจุบันนี้ มีจำนวนรถยนต์ไฟฟ้า จำนวน 2.84 แสนคัน แบ่งเป็น รถยนต์ไฮบริด 2.28 แสนคัน รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน 3.7 หมื่นคัน และรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ 1.8 หมื่นคัน และมีการประเมินจากผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า สิ้นปี 2565 ยอดขายรวม 6.3 หมื่นคัน แบ่งเป็น รถยนต์ไฮบริด 4.2 หมื่นคัน รถยนต์ไฮบริดปลั๊กอิน 1.1 หมื่นคัน และ รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอร์รี่ 1 หมื่นคัน

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ทำให้ประชาชนลังเลในการตัดสินใจซื้อรถEV คือ เบี้ยประกัน ที่พบว่า เบี้ยประกันภัยของรถยนต์ไฟฟ้าแพงกว่าเบี้ยประกันภัยของรถยนต์ทั่วไปอย่างมาก ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย พัฒนา ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย ได้เชิญบริษัทประกันภัยที่มีการรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) หลายบริษัท และผู้แทนจากคณะกรรมการประกันภัยยานยนต์ สมาคมประกันวินาศภัยไทยหลายครั้ง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาในประเด็นหลัก ๆ คือ 1) บริษัทประกันกำหนดเบี้ยประกันภัยรถ EV แต่ละสัญชาติไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละบริษัทที่รับประกันภัยรถยนต์กลุ่มนี้ 2) การรับประกันภัยรถ EV มีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับรถสันดาป ในปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 800:1 ต้นทุนในการเกิดเหตุของรถEVสูงกว่ารถสันดาปค่อนข้างมาก

ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า การแก้ไขปัญหาเบี้ยประกันภัย ระยะสั้นและเร่งด่วนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้เอาประกันภัย จะต้องมีการดำเนินการคือ
1)การจัดทำเอกสารแนบท้าย กำหนดทางเลือกเฉพาะกรณีแบตเตอรี่ได้รับความเสียหายและต้องมีการเปลี่ยนแบบยกชุดเท่านั้น (กรณีใช้วิธีการซ่อม บริษัทรับผิดชอบทั้งหมด) โดยให้มีทางเลือก 3 กรณี ให้ผู้เอาประกันภัยเลือกข้อใดข้อหนึ่ง และบริษัทจะให้ส่วนลดเบี้ยประกันภัย 10-25% (ตามประสบการณ์ของแต่ละบริษัท) ดังนี้

กรณีที่ 1 จำกัดจำนวนเงินความคุ้มครองของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า โดยบริษัทจะให้ความคุ้มครองไม่ต่ำไปกว่า 50% ของมูลค่าแบตเตอรี่ หรือ

กรณีที่ 2 กำหนดความรับผิดส่วนแรก โดยจะระบุไม่เกิน 15% ของมูลค่าแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า หรือ

กรณีที่ 3 Copayment กำหนดให้ผู้เอาประกันภัยต้องร่วมรับผิดชอบความเสียหายร่วมไม่เกิน 15%

2)ที่ประชุมได้ตกลงร่วมกันว่าในช่วงนี้บริษัทประกันภัยรถ EV จะไม่มีการขึ้นเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมโดยบริษัทจะคงราคานี้ไว้ไปก่อน

3)เพื่อเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน จะร่วมกันเก็บรวบรวมสถิติในการรับประกันภัยรถ EV และศึกษารูปแบบการประกันภัยเพื่อจัดทำพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถ EV เพื่อให้ความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัย ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยใหม่ที่บริษัทประกันภัยในประเทศไทยยังไม่มีประสบการณ์เพียงพอ โดยกำหนดแผนดำเนินการในปี 2566

นางสาวรัชดา กล่าวด้วยว่า ทางเลขาธิการ คปภ. ได้สั่งการให้สายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัยเร่งพิจารณาร่างเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยรถ EV ร่วมกับสายกฎหมายและคดีเพื่อเสนอต่อนายทะเบียนพิจารณาให้ความเห็นชอบตามกระบวนการและขั้นตอนต่อไป ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาในระยะสั้นได้ ส่วนอนาคต ทางคปภ. จะพิจารณากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ EV โดยเฉพาะ ซึ่งจำเป็นต้องจัดทำพิกัดอัตราเบี้ยประกันภัยรถ EV เพื่อให้ความคุ้มครองและอัตราเบี้ยประกันภัยสอดคล้องกับความเสี่ยงและต้นทุนในการรับประกันภัยอันจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนและสามารถตอบโจทย์ความต้องการของประชาชนได้

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เปิดศึกซักฟอกรัฐบาล หลัง วาเลนไทน์

“ธนกร” มอง เวลาเหมาะสมฝ่ายค้านเปิดศึกซักฟอกรัฐบาลหลัง วาเลนไทน์ แนะ ข้อมูลต้องแน่น อย่าน้ำท่วมทุ่ง

ดัชนีราคาส่งออก นำเข้าของไทย เดือนพ.ย. 2567 ยังขยายตัวต่อเนื่อง

ดัชนีราคาส่งออก และดัชนีราคานำเข้าของไทย เดือนพ.ย. 2567 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้จะเผชิญกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลก และการแข่งขันทางการค้า

“พิชัย” ชูทิศทางกระทรวงพาณิชย์ปี 68 

“พิชัย” ชูทิศทางกระทรวงพาณิชย์ปี 68 เดินหน้านโยบายรัฐบาล ให้เศรษฐกิจการค้าไทยเข้มแข็ง เป็นธรรม โตอย่างยั่งยืน

ดีเดย์ ธอส. เปิดให้ลงทะเบียน “โครงการคุณสู้ เราช่วย”

ธอส. เปิดให้ลงทะเบียน “โครงการคุณสู้ เราช่วย” วันที่ 6 มกราคม 2568 เป็นวันแรก ผ่าน Application : GHB ALL GEN หรือ Application : GHB ALL Bfriend