อุตสาหกรรมอาหารทะเล เสี่ยงต้นทุนธุรกิจสูงขึ้น

Date:

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ Economic Intelligence Center (EIC) ธนาคารไทยพาณิชย์ ประเมินว่า อุตสาหกรรมอาหารทะเลของไทยมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ตามการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคในหลายประเทศ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและการใช้จ่ายต่าง ๆ เริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น

อย่างไรก็ดี ยังคงต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอลง ภาวะสงครามที่ยืดเยื้อ และอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นมาก ซึ่งอาจกระทบต่อแนวโน้มการฟื้นตัวและกำลังซื้อของผู้บริโภค

มูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องของไทยในปี 2565 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัว 9.0 โดยคาดว่ามูลค่าการส่งออกทูน่ากระป๋องในปีนี้ มีแนวโน้มกลับมาอยู่ในระดับใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในช่วง Pre-COVID (2558-2562) ขณะที่ราคาวัตถุดิบ ทูน่านำเข้ามีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะต้นทุนหลักอย่างน้ำมันดีเซล

มูลค่าการส่งออกกุ้งและผลิตภัณฑ์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวในปีนี้จะอยู่ที่ 14.6% เร่งขึ้นจาก 6.7% ในปีที่แล้ว

อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบการยังคงต้องเฝ้าระวังความเสี่ยงจากเงินเฟ้อที่เร่งตัวสูงขึ้น รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลกที่อาจมีแนวโน้มเติบโตในอัตราที่ชะลอลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ และความเสี่ยงในเรื่องภาวะถดถอยทางเศรษฐกิจ (recession) ในประเทศคู่ค้าหลักของไทย ที่อาจส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและกำลังซื้อของผู้บริโภค รวมไปถึงประเด็นความ
ท้าทายในด้านอื่น ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อความต้องการบริโภคอาหารทะเลในระยะต่อไป ได้แก่

มาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการทำประมงอย่างยั่งยืน (sustainable fishing) และการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม (fair labor practices) รวมไปถึงการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนและผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การแข่งขันจากสินค้านวัตกรรมทางเลือกใหม่ ๆ ตัวอย่างเช่น สินค้าโปรตีนทางเลือกจากพืช และผลิตภัณฑ์ประเภท Plant-based seafood เป็นต้น

นโยบายการสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (food security) ของทางการจีน ที่จะส่งผลให้จีนมีแนวโน้มทยอยลดการนำเข้าอาหารและพึ่งพาการผลิตจากภายในประเทศตนเองมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต

EIC มองว่า ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลจำเป็นต้องปรับกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยต้องหันมาให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์อาหารทะเลที่มีคุณภาพและปลอดภัย มีความหลากหลายและแปลกใหม่ รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มจาก by-product ของกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มรายได้และสร้างความแตกต่างจากคู่แข่ง
ขณะเดียวกันจะต้องพยายามมองหาตลาดส่งออกสินค้าประมงใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพเติบโตสูง เช่น กลุ่มตะวันออกกลาง หรือกลุ่มประเทศ CLMV เป็นต้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและหลีกหนีการแข่งขันในตลาดส่งออกเดิม

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เบทาโกร ยืนหนึ่งองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมน่าเชื่อถือสูงสุด

เบทาโกร ยืนหนึ่งองค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมน่าเชื่อถือสูงสุดคว้ารางวัล 2024-2025 Thailand’s Most Admired Company

นายกฯ ยันไทยไม่ได้รับผลกระทบอาฟเตอร์ช็อกแล้ว

นายกฯ ยันไทยไม่ได้รับผลกระทบอาฟเตอร์ช็อกแล้ว -ไม่มีแผ่นดินไหวรอบใหม่ ขอประชาชนสบายใจ อย่าตกใจ ให้ฟังข่าวสารจากราชการเท่านั้น

นายกฯ อิ๊งค์ โพสต์เฟส ขออย่ากังวลแผ่นดินไหวซ้ำ

นายกฯ อิ๊งค์ โพสต์เฟส ขออย่ากังวล แผ่นดินไหว ซ้ำ ตรวจที่หน่วยงานแล้ว ไม่มีแผ่นดินไหวซ้ำไทย

ทิพยประกันภัย ยืนยันแผ่นดินไหว ตึก สตง. ถล่ม ไม่กระทบฐานะการเงิน

ทิพยประกันภัย ยืนยันแผ่นดินไหวตึก สตง. ถล่ม ไม่กระทบฐานะการเงิน เนื่องจากมีการทำประกันภัยต่อ 95%