เงินเฟ้อ เดือน ก.พ. 68 เพิ่มขึ้น 1.08%

Date:

นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) โฆษกกระทรวงพาณิชย์ เผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2568 เท่ากับ 100.55 เมื่อเทียบกับเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ซึ่งเท่ากับ 99.48 ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 1.08% (YoY) โดยปัจจัยหลักมาจากการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยเฉพาะผลไม้สด เครื่องประกอบอาหาร เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ และอาหารสำเร็จรูป ประกอบกับมีการสูงขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ค่ากระแสไฟฟ้า และค่าโดยสารเครื่องบิน สำหรับราคาสินค้าและบริการอื่น ๆ ส่งผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อไม่มากนัก

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ข้อมูลล่าสุดเดือนมกราคม 2568 พบว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยสูงขึ้น 1.32% (YoY) ซึ่งยังคงอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อต่ำ โดยอยู่ระดับต่ำอันดับ 23 จาก 128 เขตเศรษฐกิจที่ประกาศตัวเลข และต่ำเป็นอันดับ 4 ในกลุ่มประเทศอาเซียนจาก 8 ประเทศที่ประกาศตัวเลข (บรูไน อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สปป.ลาว) 

แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือนมีนาคม 2568 คาดว่าจะอยู่ระดับใกล้เคียงกับเดือนกุมภาพันธ์ 2568 โดยมีปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปรับสูงขึ้น ประกอบด้วย 

1 ราคาน้ำมันดีเซลภายในประเทศที่กำหนดเพดาน ไม่เกิน 33 บาทต่อลิตร โดยสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 29.92 บาทต่อลิตร

2 การฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว ส่งผลให้ราคาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะค่าโดยสารเครื่องบิน 

3 วัตถุดิบต้นน้ำของสินค้าเกษตรบางชนิดราคายังอยู่ระดับสูง โดยเฉพาะพืชสวน เช่น กาแฟ ปาล์มน้ำมัน และมะพร้าว ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์ขั้นกลางหรือผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปปรับตัวสูงขึ้น เช่น กาแฟ น้ำมันพืช และกะทิ เป็นต้น 

อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยสนับสนุนให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลง ประกอบด้วย 

1 การลดลงของราคาน้ำมันดิบดูไบในตลาดโลกซึ่งต่ำกว่าปีก่อนหน้า และคาดว่าจะส่งผลให้ราคาแก๊สโซฮอล์ภายในประเทศปรับตัวลดลงในทิศทางเดียวกัน

2 ภาครัฐมีแนวโน้มดำเนินมาตรการช่วยเหลือลดภาระค่าครองชีพอย่างต่อเนื่อง 

3 ฐานราคาผักสดในปีก่อนหน้าอยู่ในระดับสูง เนื่องจากได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ขณะที่ในปี 2568 สภาพอากาศเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ระบบมากขึ้น 

4 การจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดของผู้ประกอบการรายใหญ่ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

SME D Bank เผยสุขภาพธุรกิจเอสเอ็มอีไทย พบ 3 จุดอ่อน

SME D Bank เผยผลตรวจสุขภาพธุรกิจเอสเอ็มอีไทยพบ 3 จุดอ่อนสำคัญ ประกาศลุย “เติมความรู้คู่เงินทุน” ช่วยเพิ่มศักยภาพ สู้ได้ทุกสถานการณ์

สำนักงาน คปภ. เป็นเจ้าภาพจัดโครงการ ALIP ปี 2568

สำนักงาน คปภ. เป็นเจ้าภาพจัดโครงการ ALIP ปี 2568 พัฒนาบุคลากรประกันชีวิตสู่นานาชาติ 

โชว์สถิติรัฐบาลแพทองธาร GDP โตกว่า 3%

โชว์สถิติรัฐบาลแพทองธาร GDP โตกว่า 3% ติดต่อกัน 3 ไตรมาส ครั้งแรกในรอบ 7 ปี

DEXON ได้รับใบประกาศนียบัตร CAC

DEXON ได้รับใบประกาศนียบัตร CAC ตอกย้ำความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส