วิจัยกรุงกรุงศรี คาด พิษสหรัฐฯ ขึ้นภาษี ทำส่งออกไทยปีนี้โต 0%

Date:

ส่งออกไทย
ส่งออกไทย

วิจัยกรุงกรุงศรี ประเมินว่า มูลค่าส่งออกในเดือนมีนาคมที่สูงสุดเป็นประวัติการณ์ อาจเป็นผลจากปัจจัยชั่วคราวจากการเร่งนำเข้าเพื่อรองรับความไม่แน่นอนของมาตรการภาษีสหรัฐฯ ซึ่งล่าสุดแม้มีการประกาศเลื่อนการบังคับใช้ภาษีตอบโต้ (Reciprocal tariff) กับประเทศต่างๆ ออกไป 90 วัน แต่ยังคงเก็บภาษีนำเข้าพื้นฐานที่ 10% และเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนในอัตรา 145% ขณะที่จีนโต้กับด้วยการเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากสหรัฐฯในอัตรา 125% สถานการณ์ดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอนสูงในระยะข้างหน้า โดยเฉพาะเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 

วิจัยกรุงศรี ประเมินในกรณีเลวร้าย หากไทยต้องเผชิญกับอัตราภาษีนำเข้าตอบโต้ที่ 36% เกิน 6 เดือน หรือผลจากการเจรจาการค้ากับสหรัฐฯพบว่าไทยเผชิญอัตราภาษีที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เช่น เวียดนาม (อัตราภาษีเดิมประกาศที่ 46%) จะทำให้ไทยสูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ในกรณีนี้การส่งออกโดยรวมในปี 2568 อาจไม่สามารถขยายตัวได้เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า

IMF ประเมิน GDP ไทยปีนี้เติบโตต่ำสุดในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย ด้านวิจัยกรุงศรีประเมินหากการส่งออกไม่โตในปีนี้ GDP ไทยอาจขยายตัวเพียง 1.5-1.8%  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) รายงานประมาณการอ้างอิง (Reference forecast) ซึ่งยังไม่ใช่กรณีฐาน (Baseline) โดยคำนึงถึงมาตรการภาษีนำเข้าที่สหรัฐฯ ประกาศจนถึงวันที่ 4 เมษายน และการตอบโต้จากประเทศคู่ค้า สำหรับมุมมองต่อเศรษฐกิจไทย IMF  คาดว่า GDP จะขยายตัวเพียง 1.8% ในปี 2568 และ 1.6% ในปี 2569 เทียบกับประมาณการเดิมที่ 2.9% และ 2.6% ตามลำดับ  ทั้งนี้ เป็นอัตราเติบโตต่ำกว่า 2% เพียงประเทศเดียวในกลุ่มอาเซียน ขณะเดียวกัน IMF ชี้ว่า ASEAN จะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากนโยบายภาษีตอบโต้ของสหรัฐฯ เนื่องจากมีความเชื่อมโยงทางการค้ากับจีนและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากมาตรการภาษีครั้งนี้

วิจัยกรุงศรีประเมินเศรษฐกิจไทยในปีนี้มีแนวโน้มเติบโตต่ำกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 2.7% โดยได้รับทั้งผลกระทบระยะสั้นจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวแล้ว และยังถูกซ้ำเติมจากนโยบายภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ เบื้องต้นวิจัยกรุงศรีได้จัดทำประมาณการ GDP ของไทยในปี 2568 ภายใต้ 3 ฉากทัศน์ ได้แก่ (i) หากสหรัฐฯ คงอัตราภาษีนำเข้าพื้นฐานที่ 10% ตลอดทั้งปี  คาดว่า GDP ไทยจะขยายตัวที่ 2.2–2.4% (ii) หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการภาษีตอบโต้ที่ 36% เป็นระยะเวลา 3–6 เดือน GDP อาจชะลอลงมาอยู่ที่ 1.9–2.1% และ (iii) หากมาตรการภาษีตอบโต้ดำเนินต่อเนื่องเกิน 6 เดือน หรือหากไทยคู่แข่งประสบความสำเร็จในการเจรจากับสหรัฐฯ จนทำให้อัตราภาษีนำเข้าต่ำกว่าไทย กรณีดังกล่าว GDP ไทยอาจขยายตัวเพียง 1.5–1.8% ในปีนี้  ทั้งนี้ การจัดทำฉากทัศน์ดังกล่าวสะท้อนความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นในเศรษฐกิจโลก ซึ่งอาจส่งผลต่อภาคการส่งออก การลงทุน และความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจไทยตลอดช่วงเวลาที่เหลือของปีนี้

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

เผยยอดการค้าชายแดน 6 เดือน รัฐบาลแพทองธาร โตแรง 7.8%

“พิชัย“ เผยยอดการค้าชายแดนและผ่านแดนไทย 6 เดือน รัฐบาลแพทองธาร โตแรง 7.8%

MOODY’S จ่อลดเครดิตไทย พ่นพิษคลังมีข้อจำกัดกระตุ้นเศรษฐกิจ

ซีไอเอ็มบี มอง MOODY’S ลดมุมมองเครดิตไทยในอนาคต ทำให้มาตรการคลังมีข้อจำกัดกระตุ้นเศรษฐกิจ

FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์

เดินทางอย่างไร้กังวล! FWD ประกันชีวิต แจกประกันอุบัติเหตุฟรี 30,000 สิทธิ์ ในช่วงวันหยุดเดือนพฤษภาคม!

ผู้ถือหุ้น BE8 ไฟเขียวปันผลหุ้นละ 0.24 บาท

ผู้ถือหุ้น BE8 ไฟเขียวปันผลหุ้นละ 0.24 บาท พร้อมเดินหน้าปรับตัวอย่างชาญฉลาด ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงผันผวน