CAAT ออกข้อกำหนดใหม่ ยกระดับมาตรฐานการ

Date:

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ออกข้อกำหนดของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย ฉบับที่ 90 ว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการที่ผู้ดำเนินการต้องจัดไว้บริการผู้โดยสารที่เป็นบุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โดยสอดคล้องกับภาคผนวก 9 ว่าด้วยการอำนวยความสะดวกและบทแก้ไขเพิ่มเติมภาคผนวก 9 แห่งอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ค.ศ.1944 มีผลบังคับใช้ 30 พฤษภาคม 2568 ยกเว้น ในส่วนของบริการอุปกรณ์ช่วยเหลือขึ้น-ลงอากาศยาน และการแจ้งขอใช้บริการช่วยเหลือล่วงหน้าผ่านทางออนไลน์ ที่จะมีผลบังคับใช้ 28 สิงหาคม 2568

พลอากาศเอก มนัท ชวนะประยูร ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(CAAT) เปิดเผยว่าข้อกำหนดดังกล่าว เป็นไปเพื่อส่งเสริมให้บุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ ซึ่งเป็นผู้มีข้อจำกัดในการเข้าถึงการเดินทางทางอากาศ เช่น ผู้มีความบกพร่องด้านการเห็น การได้ยิน การเคลื่อนไหว การสื่อสาร หรือเป็นผู้มีอาการบาดเจ็บชั่วคราว รวมถึงผู้สูงอายุ ให้มีโอกาสได้เข้าถึงการเดินทางทางอากาศได้อย่างเท่าเทียม รวมทั้งยังเป็นการยกระดับมาตรฐานการให้บริการด้านขนส่งทางอากาศของประเทศไทยแก่กลุ่มบุคคลดังกล่าวให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลตามที่องค์กรการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil Aviation Organization – ICAO) กำหนดไว้

เพื่อประโยชน์ในจัดเตรียมและประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการ บุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษจะต้องทำการแจ้งล่วงหน้าถึงความต้องการใช้บริการความช่วยเหลือพิเศษต่าง ๆ ที่สนามบินและสายการบินมีไว้บริการ เช่น อุปกรณ์ช่วยเหลือขึ้น-ลงอากาศยาน รถเข็นภายในสนามบิน รถเข็นบนเครื่องบิน(การให้บริการขึ้นอยู่กับประเภทของอากาศยาน – Aircraft Type) การช่วยเหลือขนสัมภาระ ทั้งนี้ เงื่อนไขเกี่ยวกับช่องทางและกำหนดระยะเวลาแจ้งล่วงหน้าเป็นไปตามที่สายการบินแต่ละรายกำหนด 

นอกจากนี้ อาจมีบริการบางอย่างที่มีรายละเอียดเงื่อนไขต้องปฏิบัติตามเพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยในการเดินทางของบุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ เช่น 

– การนำอุปกรณ์ช่วยเหลือที่มีแบตเตอรี่ไปกับการเดินทาง เช่น รถเข็นชนิดมีแบตเตอรี่ ขนาดความจุและประเภทของแบตเตอรี่จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขด้านความปลอดภัย

– การเดินทางพร้อมสุนัขนำทาง จะต้องสอบถามว่าสายการบินนั้น ๆ ว่ามีบริการนำสัตว์ไปกับอากาศยานหรือไม่  และสัตว์นั้นต้องไม่เป็นอันตรายกับผู้โดยสารท่านอื่นและไม่ก่อปัญหาด้านสุขอนามัย

– การกำหนดที่นั่งจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขความปลอดภัย

– ในบางกรณีที่บุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ อาจมีความจำเป็นที่ต้องมีบุคคลช่วยเหลือ (Assistant) เดินทางไปด้วย เนื่องจากบุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินได้ เช่น บุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษที่ไม่สามารถสื่อสารกับลูกเรือได้เข้าใจ ไม่สามารถรัดและปลดเข็มขัดนิรภัยเองได้ ไม่สามารถเอื้อมหยิบหรือใส่หน้ากากออกซิเจนด้วยตัวเองได้ ไม่สามารถหยิบและใส่เสื้อชูชีพได้ ไม่สามารถไปถึงทางออกฉุกเฉินได้ด้วยตนเองในเวลาอันสมควร

 ทั้งนี้ อาจมีเงื่อนไขด้านความปลอดภัยอื่นๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะของผู้โดยสารซึ่งเป็นบุคคลผู้ต้องการความช่วยเหลือพิเศษแต่ละท่าน ดังนั้น CAAT จึงขอแนะนำให้ผู้โดยสารสอบถามข้อมูลจากสายการบินเพิ่มเติม เพื่อให้การเดินทางเป็นไปโดยสะดวกและปลอดภัย

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

การท่าเรือฯ ฉลอง 74 ปี จัดวิ่งมินิมาราธอน ครั้งที่ 12

การท่าเรือฯ ฉลอง 74 ปี จัดวิ่งมินิมาราธอน ครั้งที่ 12 รายได้สมทบมูลนิธิพระดาบส สร้างสุข - แบ่งปัน - สานพลังสุขภาพเพื่อสังคม

เซมิคอนดักเตอร์ มีแนวโน้มที่จะมียอดขายเพิ่ม

เซมิคอนดักเตอร์ มีแนวโน้มที่จะมียอดขายเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในปี 2568 โดยมีปัจจัยหลักมาจากชิป Generative AI (GenAI)

อินโดรามา เวนเจอร์ส ผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี68 ปรับตัวลง 

อินโดรามา เวนเจอร์ส ผลประกอบการไตรมาส 1 ปี 2568 ปรับตัวลง ท่ามกลางภาวะซบเซาที่ต่อเนื่องของตลาดเคมีภัณฑ์ทั่วโลก

ดีลอยท์ เดินหน้าโครงการ Road to LiVE 2025 รุ่นที่ 3

ดีลอยท์ จับมือ SME D Bank เดินหน้าโครงการ Road to LiVE 2025 รุ่นที่ 3 ติดปีกธุรกิจศักยภาพสูงสู่ตลาดทุน