“ท่าเรือชินโจว กว่างซี” ประตูเชื่อมสินค้าไทย – สู่จีนตะวันตก

Date:

“ท่าเรือชินโจว กว่างซี” ท่าเทียบเรืออัจฉริยะ รองรับสินค้าได้ถึง 3 แสนตัน

ธนาคารกสิกรไทย จัดงานสัมมนาออนไลน์ “ท่าเรือชินโจว กว่างซี” ประตูเชื่อมสินค้าไทย – สู่จีนตะวันตก โดยระบุว่า

กว่างซี หรือ เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เป็นจุดยุทธศาสตร์สำหรับการค้าและการลงทุนที่เชื่อมต่อยุโรปตะวันออก จีนตะวันตก ไทย และอาเซียน เข้าด้วยกัน โดยมีท่าเรือชินโจวเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาเส้นทางการค้าทางบกและทางทะเลระหว่างประเทศแห่งใหม่ (ILSTC) อีกทั้งยังเป็นประตูเชื่อมให้สินค้าจากประเทศไทยเข้าไปรุกในตลาดจีนตะวันตก ในขณะเดียวกัน รัฐบาลกลางของจีนก็มุ่งพัฒนาท่าเรือชินโจวให้เป็นส่วนหนึ่งของพลวัติการค้าแห่งใหม่ของจีนตะวันตกผ่าน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 14 และกรอบเขตการค้าเสรีของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)

ท่าเรือชินโจว เป็นท่าเรืออัตโนมัติแห่งแรกของจีนที่ให้บริการขนส่งทางทะเลและทางรถไฟหลายรูปแบบ สามารถรองรับเรือคอนเทนเนอร์ขนาด 200,000 ตัน และมีคลังน้ำมันขนาด 300,000 ตัน และท่าเทียบเรือรองรับสินค้าเทกอง (Bulk) 300,000 ตัน เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าระหว่างประเทศอย่างเต็มรูปแบบ นอกจากนี้ ด้วยฟังก์ชัน “Smart Port” ท่าเรือชินโจวยังสามารถอำนวยความสะดวกในการนำเข้า-ส่งออก ผลไม้สด ธัญพืช ผัก รถยนต์ และเนื้อสัตว์ ควบคู่ไปกับการพัฒนานโยบายศุลกากรแบบ “International Single Window” เพื่อลดขั้นตอนการขนส่งผ่านการเชื่อมโยงข้อมูล และมอบโอกาสใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการไทยในตลาดจีนที่กำลังเติบโตอย่างยิ่งยวด

อีกทั้ง การดำเนินการตามความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างจีน-อาเซียน และการพัฒนาเขตการค้าเสรีนำร่องของจีน (กว่างซี) จะเป็นแรงผลักดันที่แข็งขันให้เกิดความร่วมมือใหม่ๆ เพิ่มเครือข่ายการเดินเรือ การค้าและอุตสาหกรรม รวมไปถึงการเป็นส่วนหนึ่งห่วงโซ่อุปทานในเขตเศรษฐกิจต่างๆ ที่สำคัญ เช่น นิคมอุตสาหกรรมจีน-ไทย เมืองฉงจั่ว นิคมอุตสาหกรรมระยองไทย-จีน เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร เป็นต้น

ท่าเรือชินโจว ตั้งอยู่ในเขตปกครองตนเองกวางซีจ้วง หรือ กว่างซี เป็นท่าเรือ “ทางเลือกใหม่” แก่ผู้ประกอบการไทยในการขยายโอกาสการค้าในตลาดใหม่ๆ โดยเฉพาะในจีนตะวันตก ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเกิดใหม่ของจีน และกระจายสินค้าต่อไปยัง 16 มณฑลทั่วประเทศจีนได้อย่างสะดวก หรือส่งสินค้าไปเจาะตลาดเอเชียกลางและยุโรป (คาซัคสถาน รัสเซีย โปแลนด์ และเยอรมนี)

ท่าเรือชินโจว มีข้อได้เปรียบหลายด้าน โดยเฉพาะฟังก์ชันรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ โดยมีโมเดล “เรือ+ราง” ที่อำนวยความสะดวกให้การขนส่งมีความรวดเร็ว ประหยัดเวลา (ใช้เวลาเดินทางจากท่าเรือแหลมฉบังประมาณ 4-5 วัน) ช่วยให้ผู้ประกอบการประหยัดต้นทุนรวมของการขนส่งได้มากถึง 18%-38% หากเปรียบเทียบกับการขนส่งผ่านเส้นทางอื่นๆ จากประเทศไทยไปประเทศจีน ด้วยระบบท่าเรืออัจฉริยะ (Smart Port) ที่ Integrate เทคโนโลยี 5G ทำให้การขนส่งทำได้รวดเร็วและแม่นยำ ส่งผลให้ที่ท่าเรือชินโจวมีความแออัดน้อย ทำให้การระบายตู้สินค้าไม่ต้องรอคิวนาน (คิวเรือเข้าเทียบท่า/ ขนถ่ายตู้สินค้า/ กระบวนการตรวจปล่อยสินค้าของศุลกากร) จึงช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบได้อย่างมาก

ท่าเรือชินโจว คือโอกาสใหม่ของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะในกลุ่มค้าเกษตร หรือมันสำปะหลังเป็นต้น นอกจากนี้ ท่าเรือชินโจวได้ถูกกำหนดให้เป็นด่านนำเข้าสินค้ากลุ่มเฉพาะ 3 ประเภท ได้แก่ ผลไม้นำเข้า ธัญพืชนำเข้า และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์นำเข้า ดังนั้น การค้าและการขนส่งผ่านท่าเรือชินโจวจึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการไทยที่จะนำสินค้าเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของพลวัตที่กำลังเติบโตของจีนที่หันมาสนับสนุนการบริโภคในประเทศมากขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ค่าเงินบาท “อ่อนค่าลงหนัก” หลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าไทย

ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ ที่ระดับ  34.38 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก” หลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าไทย

นายกฯ ยัน ไม่รีบดันร่าง “พ.ร.บ. กาสิโน” เข้าสภาฯ

นายกฯ ยัน ไม่รีบดันร่าง “พ.ร.บ. กาสิโน” เข้าสภาฯ ลั่น พยายามบริหารงานทุกทางไม่ให้เกิดความขัดแย้ง บอกยังมีเวลาทำความเข้าใจ

ส่งออกไทยเดือดร้อนหนักแน่แล้ว

ส่งออกไทยเดือดร้อนหนักแน่แล้ว หลังทรัมป์ตั้งกำแพงภาษีไทย ภาษีฐาน 10% บวกภาษีตอบโต้อีก 36% รวมเป็น 46%

ระวัง กาสิโน ซ้ำรอย นิรโทษสุดซอย

เตือนรัฐบาลอิ๊งค์ ระวัง กาสิโน ซ้ำรอย นิรโทษสุดซอย ปลุกกระแสคนต้าน ลามมาชุมนุมขับไล่รัฐบาล