นโยบายการแก้ไขหนี้ประชาชน และเอสเอ็มอี เป็นเรื่องที่รัฐบาลเดินหน้าทำทันที อะไหนทำได้ทำก่อนไปเลย
เริ่มตั้งแต่พักหนี้เกษตกร 3 ปี พักทั้งต้นและดอกเบี้ย โดยรัฐบาลจ่ายดอกเบี้ยแทนให้ปีละหมื่นล้านบาท โดยลูกหนี้ธ.ก.ส. ที่มีหนี้ไม่เกิน 3 แสนบาท ที่มีประมาณ 2 ล้านคน มาลงทะเบียนพักหนี้ได้
ตามรายงาน ของ ธ.ก.ส. มีคนเข้ามาลงทะเบียนกว่า 1 ล้านคน แต่ยังไม่มีการรายงานว่า ผ่านการพิจารณาพักหนี้ไปได้แล้วกี่รายและเป็นมูลหนี้เท่าไร
จากสัญญาณดังกล่าว วิเคราะห์ได้ ว่าการพักหนี้เกษตรกรไม่ได้ปัง คนที่ผ่านการพักหนี้น่าจะมีจำนวนไม่มาก มูลหนี้ไม่เยอะ ทำให้รัฐบาลไม่อยากเปิดเผยประจานตัวเองว่า ย้ำอยู่กับที่ไช้วิธีเก่าๆ แก้หนี้จนเป็นของจืดชืดจนไม่มีใครสนใจ
ตามมาด้วยการพักหนี้นอกระบบที่นายกฯ แถลงเป็นวาระแห่งชาติ มีวาทะกรรมว่าเป็นทาสทางการเงินที่ต้องแก้ไข มาวันนี้กระทรวงมหาดไทยแถลงความคืบหน้าที่ดูเป็นเหมือนความล้มเหลว เพราะมีการแก้หนี้นอกระบบไปได้แค่หลัก 100 ล้านบาท จากที่นายกฯ คาดว่ามีไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท
มาถึงแถลงใหญ่ล่าสุดการแก้ไขหนี้ในระบบ ที่นายกๆ แถลงยืดยาวจะแก้หนี้เป็นกลุ่ม มีลูกหนี้เท่านั้นราย มูลหนี้เท่านี้บาท แต่พอนักข่าวถามนายกฯ ที่ท่ายร่ายยาวมาทั้งหมดมันคอบคลุมลูกหนี้กี่ราย
ทำเอานายกฯ ถึงกลับไปไม่ถูกตอบไม่ได้ จนที่ปรึกษาที่นั่งเป็นประธานคณะกรรมการแก้ไขหนี้ประชาชน ต้องลุกขึ้นมาชี้แจงช่วยท่านนายกฯ ว่าคอบคลุมการแก้หนี้ครัวเรือนทั้งหมดเลย 16 ล้านล้านบาท
ฟังดูเผินๆ เหมือนดูดีว่ามาตรการออกมาครบถ้วนกระบวนความแก้ไขหนี้ได้เบ็ดเสร็จ
แต่พอคิดสักนิดว่า มันจริงหรอที่แถลงมามันคอบคลุมการแก้หนี้ในระบบที่เป็นหนี้ครัวเรือนทั้ง 16 ล้านล้านบาท ซึ่งดูแล้วไม่น่าใช่ เป็นการตอบแบบดำดินเอาตัวเสียมากกว่า
ส่งผลให้มหกรรมการแก้หนี้ของรัฐบาลเป็นเกมโชว์ฉากใหญ่ ที่มีผลสำเร็จแต่ไม่ได้มากอย่างที่รัฐบาลคาดไว้