Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the google-analytics-for-wordpress domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/jaihin/domains/jaihindnews2.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the td-cloud-library domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/jaihin/domains/jaihindnews2.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6121
บทบาทของ WHO สั่นคลอน ภารกิจหลักถูกเบี่ยงเบน - jaihindnews2

บทบาทของ WHO สั่นคลอน ภารกิจหลักถูกเบี่ยงเบน

Date:

ใกล้ถึงวันที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ โดยจะมีพิธีสาบานตนในวันที่ 20 มกราคมนี้ ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นบทบาทในฐานะประธานาธิบดีคนที่ 47 ของประเทศ ทั่วโลกต่างเฝ้าจับตามองท่าทีและนโยบายของเขาในหลากหลายประเด็นสำคัญ ซึ่งหลายเรื่องกลายเป็นหัวข้อที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ไม่ว่าจะเป็นการขู่ยึดคลองปานามา การควบคุมกรีนแลนด์ นโยบายการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน รวมถึงแผนการจัดตั้งกำแพงภาษีที่อาจส่งผลต่อเศรษฐกิจโลกในวงกว้าง

ไปจนถึงเรื่องที่ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์เคยออกมารายงานว่า ทีมงานของนายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้วางแผนถอนตัวจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ทันทีภายหลังการเข้ารับตำแหน่ง ซึ่งแผนดังกล่าวสอดคล้องกับท่าทีของทรัมป์ที่มักวิพากษ์วิจารณ์ WHO อย่างรุนแรงมาโดยตลอด โดยเฉพาะกรณีความล้มเหลวของ WHO ในการจัดการกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งในครั้งนั้น (ปี 2563) เขาเคยประกาศจะถอนตัวจาก WHO มาแล้ว แต่แผนดังกล่าวถูกยกเลิกเมื่อโจ ไบเดน รับตำแหน่งประธานาธิบดีและนำสหรัฐฯ กลับเข้าเป็นสมาชิก WHO

แม้จะมีข้อกังวลว่าหากการถอนตัวครั้งนี้เกิดขึ้นจริง จะส่งผลกระทบต่อบทบาทของสหรัฐฯ ในการจัดการปัญหาสาธารณสุขระดับโลก รวมถึงทำให้ประเทศโดดเดี่ยวจากความร่วมมือระหว่างประเทศในการรับมือโรคระบาด แต่นักวิจารณ์หลายรายเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะการทำงานของ WHO ถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่มีประสิทธิภาพและยึดมั่นในแนวทางอนุรักษ์นิยมจนไม่สามารถปรับตัวรับมือกับปัญหาสาธารณสุขระดับโลกใหม่ๆ ได้

รายงานจากต่างประเทศระบุว่า WHO เต็มไปด้วยผลประโยชน์ส่วนตัวและความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพราะการได้รับอิทธิพลอย่างมากจากผู้สนับสนุนทางการเงิน เช่น มูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ซึ่งสนับสนุนงบประมาณถึง 770 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ ในปี 2020-2021 ซึ่งมากกว่าเงินที่รัฐบาลสหรัฐให้การสนับสนุน WHO การพึ่งพาเงินทุนนี้ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เนื่องจากบิล เกตส์ อาจได้รับประโยชน์จากโครงการวัคซีนที่ WHO สนับสนุน ทำให้องค์กรขาดความน่าเชื่อถือและวางลำดับความสำคัญผิดไปจากเป้าหมาย 

นอกจากนี้ WHO ยังล้มเหลวด้านนโยบายและการบริหาร การจัดการวิกฤตโควิด-19 ของ WHO เผยให้เห็นถึงความไร้ประสิทธิภาพ เช่น การไม่สืบหาต้นตอของไวรัส และการชะลอข้อมูลสำคัญที่อาจช่วยชีวิตผู้คน นอกจากนี้ WHO ยังให้คำแนะนำที่ผิดพลาด เช่น การสั่งล็อกดาวน์ประเทศที่กลายเป็นการทำลายเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา และข้อบังคับเรื่องวัคซีนทดลอง ล้วนละเมิดเสรีภาพส่วนบุคคลอย่างร้ายแรง

สำนักข่าว Politico ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 WHO ได้ถูกมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ เข้าแทรกแซงด้วยการจัดตั้งโครงการจัดหาวัคซีน เครื่องตรวจ และยาสำหรับประเทศรายได้น้อย และรายได้ปานกลางทั่วโลก โดยดำเนินการร่วมกับอีก 3 หน่วยงานที่ไม่แสวงหาผลกำไร ภายใต้ชื่อ ACT-A แต่หน่วยงานที่เข้ามาร่วมในโครงการนี้ 2 หน่วยงานคือ Gavi, The Vaccine Alliance และ Coalition for Epidemic Preparedness Innovations (CEPI) ต่างก็ได้รับเงินสนับสนุนหลักจากมูลนิธิบิลและเมลินดา เกตส์ ซึ่งในภายหลังโครงการนี้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการที่จะส่งความช่วยเหลือไปยังประเทศที่ขาดแคลนได้ตามเป้าหมายที่วางไว้

WHO ยังคงใช้อำนาจอย่างไร้การตรวจสอบ และพยายามขยายอำนาจอย่างไร้ขอบเขตเพื่อประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วโลก ด้วยเหตุผลที่คลุมเครือ เช่น “ข้อมูลเท็จ” หรือ “คำพูดแสดงความเกลียดชัง” อำนาจดังกล่าวละเมิดกระบวนการประชาธิปไตยของนานาประเทศ และถือเป็นการคุกคามอธิปไตยของแต่ละชาติ เพราะอำนาจของ WHO ในการออกประกาศและแนะนำประเทศสมาชิกในช่วงวิกฤต ทำให้รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ต้องยอมจำนน การแทรกแซงเช่นนี้บั่นทอนความสามารถของประเทศในการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชนตนเอง

ปัจจุบันเกิดคำถามว่า WHO ยังเป็นองค์กรสุขภาพที่เป็นกลางและยึดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ (evidence based policy) อยู่หรือไม่ หรือกลายเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยการเมืองภายในองค์กร ถูกควบคุมโดยกลุ่มผู้ให้ทุนสนับสนุนและเอื้อประโยชน์พิเศษให้ WHO เปลี่ยนจากองค์กรดูแลสุขภาพประชาคมโลกไปเป็นเครื่องมือทางการเมืองที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนที่เป็นผู้บริจาคเงินสนับสนุนจำนวนมหาศาล

สำหรับประเทศกลุ่มรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางเช่นประเทศไทยยังคงให้ความสำคัญและเคารพบทบาทของ WHO เป็นอย่างมาก โดย WHO มีส่วนสำคัญในการให้คำปรึกษาและวางกรอบนโยบายด้านสาธารณสุขของไทย แม้จะมีข้อกำหนดว่าหน่วยงานระหว่างประเทศไม่สามารถละเมิดอธิปไตยของประเทศสมาชิกได้ แต่ WHO ยังคงพยายามเข้ามามีบทบาทสำคัญในการแนะนำแนวทางและนโยบายต่าง ๆ

ตัวอย่างหนึ่งคือ คำแนะนำเรื่องการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในการประชุมนานาชาติเมื่อต้นปี 2567 ที่ผู้แทน WHO ประจำประเทศไทยเสนอให้รัฐบาลไทยเพิ่มความเข้มงวดในกฎหมายควบคุมโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งในสื่อออนไลน์และออฟไลน์ รวมถึงกิจกรรมที่มีเด็กเข้าร่วม นอกจากนี้ยังเสนอให้ควบคุมเทคนิคการตลาดใหม่ ๆ บนโซเชียลมีเดีย เพื่อป้องกันเด็กและเยาวชน แม้ว่าเรื่องการโพสต์ภาพเบียร์หรือแก้วเบียร์บนโซเชียลของประชาชนไทยยังคงเป็นประเด็นถกเถียง และบริบทในต่างประเทศ เช่น สหรัฐฯ ก็ไม่ได้มีการควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ที่เข้มงวดเท่านี้

ในกรณีของบุหรี่ไฟฟ้า WHO ยังมีบทบาทที่ชัดเจนในการสนับสนุนให้รัฐบาลไทยคงกฎหมายห้ามขายและนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า โดยมีการส่งจดหมายสนับสนุนการแบนบุหรี่ไฟฟ้า ออกแถลงการณ์เน้นย้ำถึงอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าต่อสุขภาพ ซึ่งขัดแย้งกับผลการศึกษาจากหลายประเทศทั่วโลกซึ่งรวมถึงการศึกษาในสหรัฐอเมริกาเองด้วยที่ชี้ว่าบุหรี่ไฟฟ้าอาจจะอันตรายน้อยกว่าบุหรี่มวน รวมถึงส่งตัวแทน WHO เข้าให้ข้อมูลกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษากฎหมายและมาตรการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า และเข้าพบกับนักการเมืองของไทยในสภาผู้แทนราษฎรเพื่อสนับสนุนการคงกฎหมายห้ามบุหรี่ไฟฟ้าในไทย

แม้ในอดีต บทบาทของ WHO จะเคยเป็นที่ยอมรับในด้านการกำหนดนโยบายสาธารณสุขระดับโลก แต่เมื่อภารกิจหลักของ WHO กำลังเบี่ยงเบนจากการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนทั่วโลก กลายเป็นเครื่องมือของผู้สนับสนุนเงินทุนในการรักษาผลประโยชน์ส่วนตัว และพยายามเข้าไปแทรกแซงนโยบายของประเทศอื่นด้วยความคิดแบบอุดมคติ บวกกับแนวทางอนุรักษ์นิยมที่ไม่ทันกับบริบทของสังคมยุคใหม่ นี่น่าจะเป็นประเด็นให้สังคมไทยต้องเริ่มพิจารณาว่า WHO ยังคงมีความน่าเชื่อถืออยู่หรือไม่ หรือถึงเวลาที่ต้องปฎิรูปแนวคิดและการทำงานของ WHO ขนานใหญ่เพื่อตอบสนองต่อบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

กลุ่มทิสโก้ กำไรสุทธิไตรมาสแรก 1,643 ล้านบาท

กลุ่มทิสโก้ แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1/2568 กำไรสุทธิ 1,643 ล้านบาท ลดลง 5.2% 

SME D Bank จัด “มหกรรมขายทรัพย์ NPA

SME D Bank จัด “มหกรรมขายทรัพย์ NPA ต้อนรับ Summer”  ลดสูงสุด 52% ด่วนภายใน 30 มิ.ย. 68 นี้เท่านั้น

ธอส. อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ต่ออายุประกันอัคคีภัย

ธอส. อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ต่ออายุประกันอัคคีภัย ชำระค่าเบี้ยได้ง่ายๆ ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2568

การออกรางวัลสลากออมทรัพย์ ธอส. 

การออกรางวัลสลากออมทรัพย์ ธอส. งวดวันที่ 16 เมษายน 2568