Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the google-analytics-for-wordpress domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. Please see Debugging in WordPress for more information. (This message was added in version 6.7.0.) in /home/jaihin/domains/jaihindnews2.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6121

Notice: Function _load_textdomain_just_in_time was called incorrectly. Translation loading for the td-cloud-library domain was triggered too early. This is usually an indicator for some code in the plugin or theme running too early. Translations should be loaded at the init action or later. โปรดดู การแก้ข้อผิดพลาดใน WordPress สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม (ข้อความนี้ถูกเพิ่มมาในรุ่น 6.7.0.) in /home/jaihin/domains/jaihindnews2.com/public_html/wp-includes/functions.php on line 6121
GDP โตต่ำไตรมาสสี่ มองไปข้างหน้ายังน่าห่วง - jaihindnews2

GDP โตต่ำไตรมาสสี่ มองไปข้างหน้ายังน่าห่วง

Date:

GDPโตต่ำไตรมาสสี่ มองไปข้างหน้ายังน่าห่วง

1. ห่วงแรงฉุดจากรถยนต์และการก่อสร้างภาคอสังหาลากยาว แม้มองอาจฟื้นครึ่งหลัง แต่อาจทำได้เพียงทรงๆ ประคองตัว ดีที่ไม่น่าทรุดติดลบต่อ

2. อย่าหวังการท่องเที่ยวมากไป เพราะการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยวเริ่มจำกัด ปีนี้น่าใกล้ช่วงโควิดแล้ว ขาดแต่จีน

3. กำลังซื้อคนไทยยังอ่อนแอ โตแต่กลุ่มท่องเที่ยว มาตรการแจกเงินทำได้แค่ประคอง อยากเห็นการสร้างรายได้ 

4. ต้องเร่งการลงทุนภาคเอกชน ทั้ง FDI และคนไทย อย่าปล่อยนานจนขาดความเชื่อมั่น หรือไปตปท.หมด

5. สุดท้ายไทยเสี่ยงโตต่ำกว่า 3% ระยะยาว ด้วยปัญหาเชิงโครงสร้าง สังคมสูงวัย ขาดแรงงาน ขาดทักษะ ต่อให้แก้ปัญหาเชิงวัฏจักรได้ เช่นอสังหาหรือรถยนต์ แต่ระยะยาวยังต้องปรับโครงสร้าง

ลองทำรูปสัดส่วนต่อ GDP ดู น่าสนใจที่สัดส่วนการบริโภคสูงขึ้น แต่การลงทุนยังต่ำ ภาครัฐนิ่งๆ ยิ่งการส่งออกสุทธิหรือ net export ทั้งสินค้าและบริการก็แหว่งไปมาและต่ำ

วันนี้มีเวลาเขียน เชิญอ่านได้ครับ 

เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 4 แม้ต่ำกว่าคาด โดยวันนี้ สภาพัฒน์รายงานตัวเลขเศรษฐกิจไทยในช่วงไตรมาส 4 ขยายตัว 3.2% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือขยายตัว 0.4% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล

พอมาดูด้านอุปสงค์จะเห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 3.4% การใช้จ่ายภาครัฐขยายตัว 5.4% การลงทุนโดยรวมขยายตัว 5.1% แต่ถ้าเป็นการลงทุนภาคเอกชนหดตัว 2.1% การลงทุนภาครัฐขยายตัว 39.4% การส่งออกสินค้าขยายตัว 8.9% ยิ่งเป็นการส่งออกด้านบริการขยายตัวถึง 22.9%

ทางฝั่งอุปทาน ภาคเกษตรขยายตัว 1.2% ภาคการผลิตขยายตัว 0.2% ด้านโรงแรมร้านอาหารขยายตัว 10.2% ด้านการขนส่งขยายตัว 9.0% ด้านการค้าปลีกค้าส่งขยายตัว 3.9% ด้านการก่อสร้างกลับมาขยายตัวถึง 18.3% และด้านการเงินขยายตัว 1.5%

มาลองดูในแต่ละภาคส่วน ในด้านอุปทานจะเห็นว่าภาคเกษตรที่มีสัดส่วนราวเกือบ 8% ของ GDP กลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ 1.2% หลังติดลบต่อเนื่องถึง 5 ไตรมาสและเป็นการฟื้นตัวเทียบไตรมาสต่อไตรมาสที่โดดเด่นถึง 1.5% ซึ่งน่าจะเป็นการฟื้นตัว ระดับไตรมาสต่อไตรมาสที่ชัดเจนขึ้น แสดงถึงความกังวลด้านปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงก่อนหน้าได้ที่คลายลง ด้านการผลิตที่มีสัดส่วนถึง 25% ต่อ GDP มีการขยายตัวเพียง 0.2% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หรือหดตัว 0.3% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งเป็นการติดลบต่อเนื่องจากไตรมาสก่อน สุดท้ายภาคบริการที่มีสัดส่วนถึง 64% ต่อ GDP มีการขยายตัวถึง 4.7% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 1.5% เทียบไตรมาสต่อไตรมาสหลังปรับฤดูกาล ซึ่งนับเป็นภาคส่วนที่แข็งแกร่งที่สุด

หากมาดูด้านภาคบริการที่ใหญ่ที่สุดก็คือค้าปลีกค้าส่งที่มีสัดส่วนถึง 17% ต่อของ GDP มีการขยายตัว 3.9% เทียบจากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 1.7% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งภาคส่วนนี้มีความแข็งแกร่งต่อเนื่อง รองลงมาคือภาคการเงินที่มีสัดส่วน 7.2% ต่อ GDP มีการขยายตัว 1.5% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 1.0% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งก็มีการกลับมาขยายตัวได้ดีเทียบกับช่วงก่อนหน้า ถัดลงมาคือด้านข้อมูลและการสื่อสารที่มีสัดส่วนราว 7% ของ GDP มีการขยายตัว 5.7% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 1.7% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งมีการพลิกกลับมาเป็นบวกได้ดีหลังติดลบในช่วงไตรมาสก่อนหน้าเทียบไตรมาสติ่ไตรมาส ถัดมาคือภาคการขนส่งและคลังสินค้าที่มีสัดส่วน 6.8% ของ GDP ขยายตัวถึง 9.0% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 2.2% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาลซึ่งก็นับเป็นส่วนที่มีการเติบโตต่อเนื่อง ถัดมาคือส่วนพักแรมและร้านอาหาร ที่มีสัดส่วน 5.9% ของ GDP มีการขยายตัว 10.2% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หรือ 2.9% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล และนับเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องรับกับการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวของไทย สุดท้ายที่อยากนำเสนอคือภาคก่อสร้างที่มีสัดส่วน 2.3% ของ GDP แม้จะขยายตัวถึง 18.3% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนแต่ก็หดตัว 2.3% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งอาจเนื่องมาจากการเร่งตัวของภาคการก่อสร้างในช่วงไตรมาสก่อนหน้าไปแล้ว

ต่อไป เรามาดูด้านอุปสงค์ทีละตัว เริ่มด้วยภาคการบริโภคภาคเอกชนที่ขยายตัว 3.4% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 0.5% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาลจะเห็นการฟื้นตัวแทบทุกภาคส่วน เช่นกลุ่มอาหาร ที่มีสัดส่วนราว 13 เปอร์เซ็นต์ของการบริโภคทั้งหมดมีการขยายตัว 3.2% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 1.3% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล แอลกอฮอล์ มีสัดส่วน 3% ของการบริโภคทั้งหมดขยายตัว 3.4% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 2.6% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล เสื้อผ้าสัดส่วน 5% ของการบริโภคทั้งหมดเติบโต 6.7% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 2.5% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ด้านสุขภาพสัดส่วน 8% ขยายตัว 2.7% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หรือ 1.5% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล จะเห็นว่าทั้งกลุ่มเสื้อผ้า และสุขภาพ กลับมาขยายตัวเป็นบวกหลังจากติดลบเทียบไตรมาสต่อไตรมาสในช่วงไตรมาสที่ 3 และด้านแอลกอฮอล์ก็กลับมาเร่งตัวจากช่วงไตรมาสก่อนหน้าได้ชัดเจน นี่อาจด้วยมาตรการแจกเงินภาครัฐหรือมาตรการอื่นๆ ที่เร่งให้เกิดการบริโภคในกลุ่มนี้มากขึ้น อย่างไรก็ดี การบริโภคโดยรวมที่เติบโตต่ำส่วนหนึ่งก็มาจากการชะลอตัวของการบริโภคกลุ่มรถยนต์ที่มีสัดส่วน 4% ของการบริโภคทั้งหมด ซึ่งหดตัวถึง 21.2% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือหดตัว 6% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งเป็นการติดลบไตรมาสต่อไตรมาสเป็นไตรมาสที่ 6 แล้วและทั้งปี 2024 การบริโภคในกลุ่มรถยนต์ได้ลดลงจากสัดส่วน 5% ของการบริโภคทั้งหมดในปี 2023 เหลือเพียง 4% เพราะทั้งปีติดลบถึง 17% มีเพียงกลุ่มที่เติบโตอย่างโดดเด่นก็คือกลุ่มโรงแรมและร้านอาหาร ที่มีสัดส่วน 24% ของการบริโภคทั้งหมดขยายตัวถึง 28.6% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนหรือ 14.5% เทียบกับไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งเป็นการขยายตัวที่เร่งแรงต่อเนื่อง

ถัดมาคือภาคการลงทุน จะเห็นว่าการลงทุนโดยรวม แม้ขยายตัว แต่หากดูด้านการลงทุนภาคเอกชน กลับติดลบถึง 2.1% โดยแบ่งเป็นภาคการก่อสร้างที่ติดลบ 3.9% จากช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนและภาคเครื่องจักรที่ติดลบ 1.7% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ส่วนที่เร่งแรงจะเป็นการลงทุนภาครัฐที่ขยายตัว 39.4% แบ่งเป็นภาคการก่อสร้างที่ขยายตัวถึง 40.8% และด้านเครื่องจักรที่ขยายตัว 34.2% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน หากดูรายละเอียดเทียบภาครัฐและเอกชนจะเห็นว่าด้านการก่อสร้าง สัดส่วนภาครัฐเทียบกับเอกชน เป็นสัดส่วน 60 ต่อ 40 การเครื่องจักร ภาครัฐเทียบเอกชนเป็นสัดส่วน 7 ต่อ 93 หากเทียบเอกชนด้วยกัน จะเห็นว่าภาคการก่อสร้างเทียบกับด้านเครื่องจักรเป็นสัดส่วน 16 ต่อ 84 ภาครัฐ การก่อสร้างเทียบเครื่องจักรเป็นสัดส่วน 78:22 จะเห็นว่า ภาครัฐให้น้ำหนักด้านการก่อสร้างมากและน่าเป็นสาเหตุมาจากการเร่งตัวของมาตรการลงทุนภาครัฐ การก่อสร้างภาครัฐตามโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ เป็นส่วนสำคัญที่กระตุกภาคการก่อสร้างให้ฟื้นขึ้น อย่างไรก็ดีอาจต้องติดตามด้านการลงทุนจากต่างประเทศหรือแม้แต่การลงทุนเอกชนไทยเองที่ยังชะลอตัวอยู่ ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การลงทุนในช่วงที่ผ่านมายังอ่อนแอ แต่หากมองต่อไปว่า ปีที่ผ่านมาเป็นช่วงของการขอใบอนุญาตการตั้งโรงงานและจะเริ่มลงทุนในปี 2025 เราก็อาจเห็นการลงทุนภาคเอกชนพลิกกลับมาขยายตัวได้

ในส่วนการใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัว 5.4% เทียบช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนแต่กลับหดตัว 0.1% เทียบไตรมาสก่อนหน้าหลังปรับฤดูกาล ซึ่งการใช้จ่ายภาครัฐอาจเร่งไปแล้วในช่วงก่อนหน้า

ในปี 2025 สภาพัฒน์คาดการการเติบโตของเศรษฐกิจไทยในช่วง 2.3 ถึง 3.3% โดยมีค่ากลางอยู่ที่ 2.8% และหากดูรายละเอียดการปรับการคาดการณ์ มีการปรับลดในด้านการลงทุนภาครัฐและการใช้จ่ายภาครัฐ อีกทั้งมองว่าการนำเข้าสินค้ายังคงเร่งตัวต่อเนื่อง แต่ได้ปรับมุมมองเชิงบวกมากขึ้น สำหรับการใช้จ่ายภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกสินค้า

มองต่อไปสภาพัฒน์จะรายงานตัวเลขการเติบโตของเศรษฐกิจไทย ไตรมาส 1 ปี 2025 ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2025 โดยเรายังมองการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยยังคงเร่งขึ้นเทียบไตรมาสต่อไตรมาสในช่วงแรก แต่ด้วยปัญหาสงครามการค้าการฟื้นตัวของภาคการส่งออกที่ยังมีความไม่ชัดเจน รวมทั้งการบริโภคภาคเอกชนที่ยังคงมีความเสี่ยงขยายตัวต่ำโดยเฉพาะด้านรถยนต์ อีกครั้ง การลงทุนภาคเอกชนยังมีความเสี่ยงอ่อนแอลงโดยเฉพาะภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งโดยรวมอาจจะกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีได้ เรายังคงคาดการณ์การเติบโตเศรษฐกิจไทยที่ 2.7% สำหรับปีนี้ และน่าจะเห็นการเติบโตที่น้อยลงในลักษระค่อยเป็นค่อยไปเทียบไตรมาสต่อไตรมาสตลอดในช่วงที่เหลือของปีนี้

สำหรับนโยบายการเงิน ด้วยภาวะเศรษฐกิจที่เติบโตช้าความเสี่ยงที่เปราะบางมากขึ้นโดยเฉพาะภาคต่างประเทศ รวมทั้งการขยายตัวที่เริ่มชะลอลงในภาพการท่องเที่ยวที่อาจจะไม่ใช่เป็นแรงส่งได้แรงเหมือนในช่วงปีก่อนหน้า ประกอบกับเงินเฟ้อที่ยังขยายตัวต่ำจากกำลังซื้อของคนที่ยังมีความอ่อนแอ อาจมีส่วนให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน เริ่มส่งสัญญาณ ในการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุม เดือนกุมภาพันธ์นี้ เพื่อประคองเศรษฐกิจไทย โดยไม่จำเป็น ต้องรอให้ธนาคารกลางสหรัฐปรับลดอัตราดอกเบี้ยก่อน เพราะธนาคารการสหรัฐอาจคงอัตราดอกเบี้ยเนื่องจากความเสี่ยง ด้านเงินเฟ้อที่ยังสูงและเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังแข็งแกร่ง แต่สำหรับไทยนั้นตรงกันข้าม ความเสี่ยงขาลงมีค่อนข้างมาก และอาจสนับสนุนให้ใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายมากขึ้น ในขณะที่แบงก์ชาติเองอาจแบ่งรับแบ่งสู้ รวมทั้งให้น้ำหนักเรื่องความไม่แน่นอนในตลาดการเงินโลกและทิศทางเศรษฐกิจโลกจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่จะมีความรุนแรงมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีและอยากที่จะเก็บขีดความสามารถในการดำเนินนโยบาย เอาไว้ใช้ในช่วงครึ่งหลังของปีหรือเรียกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเมื่อเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างชัดเจนขึ้น ก็เป็นไปได้

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

กลุ่มทิสโก้ กำไรสุทธิไตรมาสแรก 1,643 ล้านบาท

กลุ่มทิสโก้ แจ้งผลประกอบการไตรมาส 1/2568 กำไรสุทธิ 1,643 ล้านบาท ลดลง 5.2% 

SME D Bank จัด “มหกรรมขายทรัพย์ NPA

SME D Bank จัด “มหกรรมขายทรัพย์ NPA ต้อนรับ Summer”  ลดสูงสุด 52% ด่วนภายใน 30 มิ.ย. 68 นี้เท่านั้น

ธอส. อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ต่ออายุประกันอัคคีภัย

ธอส. อำนวยความสะดวกให้ลูกค้า ต่ออายุประกันอัคคีภัย ชำระค่าเบี้ยได้ง่ายๆ ตั้งแต่วันที่ 1 – 31 พฤษภาคม 2568

การออกรางวัลสลากออมทรัพย์ ธอส. 

การออกรางวัลสลากออมทรัพย์ ธอส. งวดวันที่ 16 เมษายน 2568