กระตุ้นอสังหาฯ จ่อลดค่าจำนองบ้าน-โอน เหลือ 0.01 % 

Date:

นางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ รมช. คลัง เตรียมพิจารณาทบทวน กระตุ้นอสังหาฯ เนื่องจากเป็นเครื่องยนต์สำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ถึง 10 %  ของจีดีพี โดยล่าสุดกำลังพิจารณามาตรการลดค่าจดทะเบียนการโอนจากเดิม 2% เหลือ 1 %  และคำจดจำนองจากเดิม 1% เหลือ 0.01 %  ซึ่งปัจจุบันมาตรการนี้ช่วยเฉพาะอสังหาฯที่ราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท โดยจะขยายให้ราคาซื้อขายเกิน 3 ล้านบาทมีสิทธิเข้าร่วมมาตรการด้วย แต่ให้สิทธิเฉพาะ 3 ล้านบาทแรก

ส่วนมาตรการการเงิน โครงการบ้านล้านหลังเฟส 3 ของธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่กำหนดให้กู้ได้เฉพาะผู้ซื้อบ้านก่อสร้างและวงเงินกู้สูงสุดต่อรายต่อหลักประกันไม่เกิน 1.5 ล้านบาทนั้น จะขยายเป็นราคาสูงสุดไม่เกิน 2 ล้านบาท เพราะที่อยู่อาศัยราคาไม่เกิน 1.5 ล้านบาทหาได้ยากแล้วและไม่ได้เสี่ยงมาก ส่วนการทบทวนภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้มา 5 – 6 ปีแล้วนั้น กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยกำลังศึกมาร่วมกันเพื่อทบทวนให้เหมาะสม เช่นการจัดระเบียบประเภทที่ดินให้ชัดเจนมากขึ้นรวมทั้งการให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่ปังจุบันไห้ อปท. ใช้ดุลพินิจได้ตามความเหมาะสม เช่น ที่ดินเปล่าที่เจ้าของปลูกต้นไม้ทำสวน แต่ไม่ถึงเกณฑ์เป็นที่ดินเพื่อการเกษตรนั้นได้ให้ อปท. ตัดสินใจได้เลยว่าจะเข้าเกณท์ใดส่วนอัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างยังไม่มีแนวคิดปรับเพิ่มขึ้น

“การปรับมาตการดังกล่าว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และ กระตุ้นอสังหาฯ  โดยนายกฤษฎา ได้สั่งการให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง  (สศค.) เตรียมรายละเอียดเพื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม  ครม.ในเร็ววันนี้” รองโฆษกฯ รัดเกล้า กล่าว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ลดเป้าผลิต รถยนต์ ลงอีก 2 แสนคัน

ลดเป้าผลิตรถยนต์ลงอีก 2 แสนคัน เดือนตุลาคม 2567 ยอดผลิตลดลง 25.13% ยอดขายลดลง 36.06% ส่งออกลดลง 20.23%

บูรณาการ ไฟฟ้า เพื่อผู้ป่วยขาดไฟฟ้า

บูรณาการ ไฟฟ้า ในการเดินเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อการรักษาพยาบาล ยกเว้นการงดจ่ายไฟฟ้าในทุกกรณี

ธอส. ส่งมอบอาคารเรียนอนุบาล

ธอส. ส่งมอบอาคารเรียนอนุบาล ภายใต้ “โครงการสร้าง/ซ่อมอาคารเรียนในถิ่นทุรกันดาร” ประจำปี 2567

5 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ 

ธปท. ออกบทความ 5 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ