ไทยยูเนี่ยน ติดอันดับดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ 10 ปีต่อเนื่อง

Date:

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หนึ่งในบริษัทอาหารทะเลชั้นนำของโลก ได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ หรือ Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) 2023 เป็นปีที่ 10 ติดต่อกัน สะท้อนถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน

ไทยยูเนี่ยนได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ เป็นครั้งแรกในปี 2556 จากความสำเร็จต่างๆ และการพัฒนาด้านนวัตกรรมที่ต่อเนื่อง แสดงให้เห็นถึงความพยายามของบริษัทในการรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการอย่างยั่งยืน ส่งผลให้ไทยยูเนี่ยนได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา 

นายธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การได้รับการยอมรับและได้รับคัดเลือกให้เป็นสมาชิกดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ต่อเนื่องถึง 10 ปี เป็นการยืนยันถึงความพยายามและความมุ่งมั่นของเราในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ไม่ได้เป็นเพียงผู้ผลิตอาหารทะเลชั้นนำเท่านั้น แต่หมายถึงการเป็นบริษัทที่มีความรับผิดชอบและมีจรรยาบรรณที่ดี ซึ่งกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 คือหัวใจสำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ของบริษัทที่ต้องการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่ออุตสาหกรรม”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไทยยูเนี่ยนใช้ DJSI เป็นเกณฑ์มาตรฐานประกอบการปรับปรุงพัฒนาและเพื่อท้าทายตัวเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานการประเมินอันเข้มงวดของ DJSI เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการวัดผลและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของบริษัทด้านความยั่งยืน เป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้เกิดการสร้างสรรค์นวัตกรรมและความเป็นเลิศ โดยเฉพาะในด้านการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และความมุ่งมั่นที่ลงมือทำอย่างจริงจัง ยกตัวอย่างเช่น การที่ไทยยูเนี่ยนได้ริเริ่มการบริหารจัดการการเงินเพื่อการทำงานด้านการอนุรักษ์ท้องทะเล หรือที่เรียกว่า Blue Finance ขึ้น

SeaChange® หรือกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของไทยยูเนี่ยนเปิดตัวในปี 2559 และปรับปรุงใหม่ในปี 2566 ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งเป้าหมายใหม่จนถึงปี 2573 โดยถือเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินธุรกิจของไทยยูเนี่ยน ซึ่งปลูกฝังเรื่องความยั่งยืนไว้ในทุกแง่มุมของการดำเนินงาน พร้อทั้งกำหนดเป้าหมายอันมุ่งมั่นของเราผ่านเป้าหมายทั้ง 11 ประการที่เชื่อมโยงถึงกัน

นายอดัม เบรนแนน ผู้อำนวยการกลุ่มด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าว่า “การยอมรับจาก DJSI เป็นแรงบันดาลใจอย่างมากให้กับเราในการทำงานต่อไปในอนาคต เรามุ่งมั่นผลักดันให้อุตสาหกรรมอาหารทะเลของโลกดีขึ้น และเรามั่นใจว่ากลยุทธ์ SeaChange® 2030 จะช่วยทำให้การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นจริง วันนี้บริษัทกับพันธมิตรพร้อมแล้วที่จะช่วยพลิกโฉมทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารทะเลทั่วโลกหันมาร่วมกันทำให้โลกของเรายั่งยืนเพื่อคนรุ่นต่อไป”

เป้าหมายของกลยุทธ์ความยั่งยืน SeaChange® 2030 ประกอบด้วย ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 42 เปอร์เซ็นต์ในขอบเขตที่ 1, 2 และ 3 ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี 2593 การฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยไทยยูเนี่ยนจะสนับสนุนงบประมาณ 250 ล้านบาท (มากกว่า 7 ล้านเหรียญสหรัฐ) เพื่อปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศสำคัญ นอกจากนี้ ยังลดการปล่อยน้ำเสียสู่สิ่งแวดล้อมเป็นศูนย์ ต้องมีกระบวนการผลิตที่เป็นเลิศ ไทยยูเนี่ยนจะปรับปรุงระบบภายในโรงงานเพื่อลดการปล่อยน้ำเสียเป็นศูนย์ ลดของเสียฝังกลบเป็นศูนย์ และลดการสูญเสียอาหารเป็นศูนย์ ในโรงงานหลักห้าแห่งทั้งในและต่างประเทศรวมถึง การทำประมงอย่างรับผิดชอบ โดย 100 เปอร์เซ็นต์ของอาหารทะเลที่จับจากธรรมชาติจะต้องผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ และไทยยูเนี่ยนยังคงเดินหน้าสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัย มีคุณค่า ยอมรับความแตกต่างและหลากหลาย มีความเท่าเทียม

ในแต่ละปี S&P Global Corporate Sustainability Assessment (CSA) จะทำการประเมินการทำงานด้านความยั่งยืนของบริษัทกว่า 10,000 แห่งทั่วโลก โดย CSA ช่วยให้บริษัทต่างๆ เช่น ไทยยูเนี่ยนสามารถวัดผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจของอุตสาหกรรม สิ่งแวดล้อม และสังคมที่หลากหลาย ซึ่งเกี่ยวข้องกับนักลงทุนที่เน้นเรื่องความยั่งยืน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

“ห้างเซ็นทรัล” ต้อนรับเม็ดเงินจับจ่ายช่วงปลายปี

“ห้างเซ็นทรัล” ต้อนรับเม็ดเงินจับจ่ายช่วงปลายปี ส่งแคมเปญเซลซิกเนเจอร์ “CENTRAL BLACK MIDNIGHT SALE” ตั้งเป้าปั๊มยอดบวก 20%

ธอส. ร่วมแสดงความยินดีอธิบดีกรมสรรพากร 

ธอส. ร่วมแสดงความยินดี “นายปิ่นสาย สุรัสวดี” อธิบดีกรมสรรพากร

ยูโอบี มอง ทรัมป์ ส่งผลอย่างไรต่อพอร์ตการลงทุน

ยูโอบี เผยมุมมอง ชัยชนะในการเลือกตั้งของ ทรัมป์ ส่งผลอย่างไรต่อพอร์ตการลงทุน

ยูโอบี-มิตรผล จับมือพร้อมสร้างความยั่งยืน

ยูโอบี-มิตรผล จับมือพร้อมสร้างความยั่งยืน ผ่านสินเชื่อ Sustainability-Linked Loan 1,500 ล้านบาท