ผู้ประกอบการต้องรู้ กฎหมาย EUDR

Date:

Krungthai COMPASS ได้ทำการประเมินว่า ภายใต้กฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EU Deforestation-free Regulations: EUDR) ที่จะมีผล

ในทางปฏิบัติตั้งแต่วันที่ 30 ธ.ค. 2567 ยางพาราเป็นสินค้าส่งออกที่ไทยมีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบมากที่สุดในบรรดาสินค้า 7 ชนิด เนื่องจาก 1) ยางพาราเป็นสินค้าที่ไทยส่งออกไปยัง EU มากที่สุดในบรรดาสินค้า 7 ชนิด โดยมีมูลค่ากว่า 93.4% ของมูลค่าการส่งออกภายใต้มาตรการ 2) พื้นที่ปลูกยางพาราไทย ที่ตรงตามหลักเกณฑ์ของมาตรการ EUDR ยังมีน้อย

Krungthai COMPASS ประเมินว่าผู้ประกอบการยางไทยอาจได้รับผลกระทบจากการส่งผ่านต้นทุนของผู้นำเข้าฝั่ง EU สูงสุดถึง 4.3%

 ของมูลค่าส่งออกสินค้าภายใต้มาตรการ คิดเป็นราว 64 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ/ปี หรือราว 2,340 ล้านบาท/ปี นอกจากนี้ ยังอาจส่งผลต่อปริมาณการส่งออกยางของไทยไป EU และภาพรวม หากไทยถูกระบุว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยงสูงในการบุกรุกพื้นที่ป่าไม้

Krungthai COMPASS แนะนำผู้ประกอบการยางพาราควรเริ่มปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรการ EUDR เช่น มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมายที่ดิน รับซื้อยางพาราที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ สำหรับผู้ประกอบการรายใหญ่ควรเร่งขอรับรองมาตรฐานการจัดการป่าไม้และผลิตภัณฑ์จากป่าไม้จาก FSC หรือ

PEFC เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันและช่วยลดอุปสรรคทางการค้า ทั้งนี้ ภาครัฐควรมีบทบาทสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ เช่น เร่งพัฒนาระบบฐานข้อมูลและระบบการตรวจสอบย้อนกลับที่สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ EUDR รวมถึงสนับสนุนให้เกษตรกรและผู้ประกอบการยางของไทย ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรระดับสากล

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

KXVC เปิดตัว KX Horizon

KXVC เปิดตัว KX Horizon โปรแกรมส่งเสริมสตาร์ทอัพ AI และ Web3 ระยะเริ่มต้น เพื่อร่วมมือและสนับสนุนแหล่งเงินลงทุนให้แก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีรุ่นใหม่

กสิกรไทย ครอง 4 รางวัลใหญ่ 

กสิกรไทยครอง 4 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024

บสย. ร่วมงานสัมมนาใหญ่ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ

บสย. ร่วมงานสัมมนาใหญ่ สมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ประจำปี 2567

EXIM BANK คุ้มครองความเสี่ยงผู้ประกอบการไทย 

EXIM BANK จับมือ MARSH PB คุ้มครองความเสี่ยงผู้ประกอบการไทย ขยายการค้าการลงทุน ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์