ดันสินค้าเศรษฐกิจสีเขียว รุกตลาดสินค้าไลฟ์สไตล์ญี่ปุ่น

Date:

นายพรวิช ศิลาอ่อน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า “ประเทศญี่ปุ่น ถือได้ว่าเป็นตลาดที่สำคัญอย่างยิ่ง โดยเป็นตลาดส่งออกลำดับสามสำหรับประเทศไทยที่นอกจากเราจะต้องรักษาการส่งออกสินค้าเดิมที่ค้าขายกันมาอยู่ให้ได้แล้ว เรายังมีการนำเสนอสินค้าใหม่ๆเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นด้วย ซึ่งที่ผ่านมา กรมได้มีการพัฒนาสินค้าร่วมกับผู้เชี่ยวชาญในสินค้าประเภทต่างๆในกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ อาทิ โครงการ Material Thai to Japan ซึ่งคือการพัฒนาวัสดุ (Material) ที่เป็นเศษเหลือใช้ในอุตสาหกรรม หรือที่มีอัตลักษณ์พื้นบ้านของไทยมาต่อยอดร่วมกับผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่น เพื่อให้ได้วัสดุ (Material)ประเภทใหม่ๆที่ดูดี มีคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล ซึ่งในครั้งนี้ กรมก็ได้นำผู้ประกอบการรวม 11 บริษัท ไปร่วมงาน Tokyo International Gift Show  เมื่อวันที่ 4 – 6 กันยายน 67 ซึ่งจากการเข้าร่วมงานครั้งนี้สามารถสร้างมูลค่าซื้อขายในเบื้องต้นได้รวม 1.63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือโครงการ Qurated Fashion Incubation  ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการแฟชั่นแบรนด์แบบครบวงจร เพื่อให้ตรงกับเทรนด์แฟชั่นในตลาดต่างประเทศ ซึ่งก็ได้ดำเนินการต่อเนื่องมามากกว่า 10 ปีแล้ว โดยในปีนี้ ทางกรมได้จัดเป็นกิจกรรม THAI FASHION & TEXTILE BUSINESS MATCHING IN TOKYO 2024 โดยเชิญผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นมาเจรจาการค้ากว่า 170 รายกับผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวและผู้ผลิตสิ่งทอ ผ้าผืน และ OTOP ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจากประเทศไทยรวม 40 ราย ในช่วงเมื่อวันที่ 29 – 30 สิงหาคม 67 ซึ่งคาดว่าจะสามารถสร้างมูลค่าซื้อขายเป็นจำนวนอีก  1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ”

สำหรับแนวทางการเจาะตลาดไลฟ์สไตล์ประเทศญี่ปุ่นนั้น นายฉันทพัทธ์ ปัญจมานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมกับผู้สื่อข่าวว่า “ญี่ปุ่นนั้น ถือได้ว่าเป็นชาติที่รักสิ่งแวดล้อม และมีความตระหนักรู้เรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable  Development  Goals;  SDGs) ของสหประชาชาติ  (UN) ในอัตราที่สูงมาก โดยข้อมูลจากการสำรวจพบว่าประมาณ  80% ของประชากรชาวญี่ปุ่นนั้นจะให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้าของบริษัทที่นำแนวคิด SDGs มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจอีกด้วย ดังนั้น ในการจัดทั้ง 2 กิจกรรมนี้ จึงได้ชูประเด็นเรื่องความยั่งยืน (Sustainablity) ของสินค้าไทยในแง่มุมต่างๆตามแนวทางเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ของรัฐบาล อาทิ การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ หรือแนวทางการลดขยะให้เหลือศูนย์ (Zero Waste) ในกระบวนการผลิต เป็นต้น ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ซื้อชาวญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก และนอกจากนี้ เพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดให้แก่สินค้าไทยที่พัฒนาขึ้นใหม่นี้ ในปีนี้ทางสำนักงานยังได้จัดกิจกรรมพิเศษเพิ่มเติม โดยได้นำสินค้าแฟชั่นแบรนด์ไทยภายใต้โครงการ Qurated Fashion Incubation ไปวางจำหน่ายปลีกต่อเป็นเวลาหนึ่งเดือนที่ห้างสรรพสินค้า Seibu ซึ่งอยู่ใกล้บริเวณห้าแยกชิบูย่าซึ่งมีคนผ่านแต่ละวันเป็นจำนวนมาก รวมทั้งการต่อยอดด้วยการพัฒนาวัสดุ (Material) ภายใต้โครงการ Material Thai to Japan ให้เป็นสินค้าประเภทผนังกั้น (Partition) และโคมไฟอีกด้วย ซึ่งก็ได้รับความสนใจสั่งซื้อในรูปของสินค้าเพิ่มเติมด้วยเช่นกัน ซึ่งหลังจากนี้ ก็วางแผนจะนำสินค้าไทยประเภทอื่นๆภายใต้คอนเซปท์นี้ อาทิ ผ้าไทย มาเปิดตลาดเพิ่มเติมด้วยต่อไป”

ผู้ที่สนใจเปิดตลาดญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสินค้าที่มีการผลิตอย่างยั่งยืน สามารถติดตามความคืบหน้าข้อมูลข่าวสารและกิจกรรม ได้ที่ www.ditp.go.th หรือโทรสายด่วน 1169

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อัพเดทสถานการณ์ ตลาดรถยนต์ไทย 

Krungthai COMPASS ชวนอัพเดทสถานการณ์ตลาดรถยนต์ไทย พร้อมวิเคราะห์ 3 ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากยอดขายต่ำสุดในรอบ 15 ปี

”พิชัย“ ต้อนรับ ทัพนักธุรกิจรายใหญ่สหรัฐฯ

"พิชัย" ต้อนรับ ทัพนักธุรกิจรายใหญ่สหรัฐฯ USABC ชวนลงทุน-ตั้งฐานการผลิตอุตสาหกรรมใหม่ในไทย

นายแพทย์บุญ ได้กระทำในนามส่วนตัวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ THG

ก.ล.ต. ชี้ นายแพทย์บุญ ได้กระทำในนามส่วนตัวไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับ THG

บจ. SET งวด 9 เดือน กำไรอ่อนตัวลงจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน

ผลประกอบการ บจ. SET งวด 9 เดือน ได้รับแรงสนับสนุนจากธุรกิจท่องเที่ยว แต่กำไรอ่อนตัวลงจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับน้ำมัน จากราคาน้ำมันที่ลดลง