ซี. ไอ. กรุ๊ป “CIG” แจงแนวทางปลดล็อกเครื่องหมาย “C” จากแผนเพิ่มทุน

Date:

นายอารีย์ พุ่มเสนาะ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซี. ไอ. กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) “CIG” ผู้ผลิตคอยล์ อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนสำหรับระบบปรับอากาศและทำความเย็นให้กับแบรนด์ชั้นนำทั่วโลก เปิดเผยว่า จากกรณีที่หลักทรัพย์ของบริษัทฯถูกขึ้นเครื่องหมาย “C” ภายใต้เหตุผลหลัก ส่วนของผู้ถือหุ้นน้อยกว่าร้อยละ 50 ของทุนชำระแล้วสำหรับงบการเงินไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 นั้น สาเหตุหลักสืบเนื่องจากการที่ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเหลือประมาณ 201.47 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.59 ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วที่ 432.39 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯ ได้เล็งเห็นปัญหาดังกล่าว และมีแผนการแก้ไขล่วงหน้า โดยคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) ไปแล้วเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา

ขณะที่บริษัทจะนำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 2/2565 เพื่อพิจารณาอนุมัติในหลายวาระ ได้แก่ การเพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัทอีกจำนวน 1,297,182,682 บาท, การพิจารณาอนุมัติการจัดสรรหุ้นสามัญเพิ่มทุนจดทะเบียนจำนวน 2,594,365,364 หุ้น, การพิจารณาอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering), การพิจารณาอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น (Right Offering) และพิจารณาอนุมัติวงเงินการออกและเสนอขายหุ้นกู้จำนวน 6,000 ล้านบาท โดยกำหนดการประชุมในวันที่ 16 กันยายน 2565 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานใหญ่ บริษัท ซี.ไอ.กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

นายอารีย์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการยืนยันแนวทางการแก้ไขดังกล่าว ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ให้คำยืนยันว่าการเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นสามัญเดิมของบริษัทฯ ตามสัดส่วนการถือหุ้น ตนเองและครอบครัวได้เตรียมเงินเพิ่มทุนตามสัดส่วนไว้เรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเป็นร้อยละ 64 ของทุนชำระแล้วสำหรับงบการเงินสิ้นปี 2565 รวมทั้งอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรร่วมทุนและผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมหลายราย เพื่อระดมทุนทั้งส่วนของตนเองเพิ่มเติมและส่วนของผู้ถือหุ้นรายใหญ่อื่นๆ เพื่อให้การเพิ่มทุนครั้งนี้สำเร็จลุล่วงและแก้ปัญหาการเงินของบริษัทฯ ได้ในระยะยาว

ทั้งนี้ บริษัทมีแนวทางการจัดหาแหล่งเงินทุนจากหลายแนวทาง อาทิ การออกหุ้นเพิ่มทุนขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม (RO), การออกหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัท, เงินทุนจากการออกหุ้นกู้, เงินทุนจากการขายหุ้นของบริษัทย่อย หรือบริษัทร่วม, การร่วมทุนของพันธมิตร และการกู้เงินจากสถาบันการเงิน เป็นต้น เพื่อนำมาขับเคลื่อนธุรกิจให้ได้ตามแผนที่วางไว้

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯจะจัดประชุมเพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้ถือหุ้น นักลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้อง (Public Presentation) ในเร็วๆนี้ เพื่อชี้แจงสาเหตุที่เกิดขึ้นจากการที่บริษัทมีแผนเพิ่มทุน เพื่อนำมาปรับกลยุทธ์และแผนธุรกิจที่จะสร้างโอกาสขยายการเติบโตให้กับบริษัททั้ง ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงธุรกิจต่อยอดเพื่อลดการพึ่งพิงจากธุรกิจเดิมของบริษัทที่จะช่วยสร้างรายได้เพิ่มในระยะสั้น และระยะยาว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อดีตนายกฯ เศรษฐา บอก Soft Power ไม่ใช่ทุกอย่างจะถูกจดจำ

อดีตนายกฯ เศรษฐา บอก Soft Power ไม่ใช่ทุกอย่างจะถูกจดจำและยอมรับในระดับโลก

“วิทัย รัตนากร” ผู้ว่าแบงก์ชาติ แห่งการเปลี่ยนแปลง

“วิทัย รัตนากร” ผู้ว่าแบงก์ชาติ แห่งการเปลี่ยนแปลง ผู้จะพลิกให้ธปท.ให้เป็นแบงก์ชาติเพื่อประเทศ เหมือนกับทำออมสิน ให้เป็นธนาคารเพื่อสังคม

วรวงศ์ รามางกูร โต้กลับ ธาริษา ตั้งธงตีกัน ผู้ว่าแบงก์ชาติคนใหม่

รวงศ์ รามางกูร โต้กลับ ธาริษา ตั้งธงตีกันว่าที่ผู้ว่า แบงก์ชาติคนใหม่ กล่าวหา ไม่ยุติธรรม “ใกล้ชิดรัฐบาล = เสื่อมความเชื่อมั่น?”

อดีตนายกฯ เศรษฐา บอกเอง “ย่านบรรทัดทอง” ฟองสบู่แตก

อดีตนายกฯ เศรษฐา บอกเอง “ย่านบรรทัดทอง” ฟองสบู่แตกอย่างรวดเร็ว ผู้มีส่วนได้เสียหวังแต่รายได้เยอะจนไม่ยั่งยืน