DeepSeek – กระแสชั่วครู่ หรือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของ AI

Date:

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ต้นทุนรวมจริงของ DeepSeek จะสูงกว่าตัวเลข 5.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากตัวเลขดังกล่าวยังไม่นับรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยก่อนหน้า ค่าพัฒนาอัลกอริทึม หรือค่า Data  อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่แท้จริง ยังคงต่ำกว่าการลงทุนของบริษัท AI ในสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

DeepSeek คืออะไร?

DeepSeek เป็นบริษัทเทคโนโลยี AI ล่าสุดที่ก่อตั้งโดยกองทุนจีน High-Flyer  ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากหลังจากเปิดตัว AI ใหม่ชื่อว่า DeepSeek-R1 ส่งผลให้ราคาหุ้น Nvidia ลดลง 16.91% ภายในวันเดียว (6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเทียบเท่ามูลค่า GDP ของประเทศไทย)

เหตุผลที่ทำให้ DeepSeek เป็นที่พูดถึงอย่างมากมาจากต้นทุนที่แตกต่างกันอย่างมากระหว่างการพัฒนา AI ของ DeepSeek และ OpenAI โดย OpenAI ใช้เงินถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2024 เพื่อพัฒนาโมเดล AI ล่าสุด ในขณะที่ DeepSeek ใช้เงินเพียง 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  เพื่อพัฒนาโมเดลดังกล่าว อย่างไรก็ตาม AI ของ DeepSeek สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับ OpenAI ในราคาที่ต่ำกว่าหลายเท่า (ดูรายละเอียดการเปรียบเทียบได้ในภาคผนวก)

DeepSeek ต้นทุนรวมคาดว่าสูงกว่าที่ประกาศออกมา

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ต้นทุนรวมจริงของ DeepSeek จะสูงกว่าตัวเลข 5.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ถูกกล่าวถึงบ่อยครั้งในสื่อ เนื่องจากตัวเลข 5.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ นี้ไม่นับรวมต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยก่อนหน้า ค่าพัฒนาอัลกอริทึม หรือค่า Data  อย่างไรก็ดี ต้นทุนที่แท้จริงยังคงต่ำกว่าการลงทุนของบริษัท AI ในสหรัฐฯ ที่อยู่ในระดับหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี

นอกจากนี้ DeepSeek รายงานว่าใช้ไมโครชิพ Nvidia H800 เพียง 2,000 ตัว ซึ่งคาดว่าอาจต่ำกว่าความเป็นจริง เนื่องจาก CEO ของ DeepSeek เคยประกาศว่าได้ซื้อไมโครชิพของ Nvidia รุ่น A100  และ H800   ระหว่าง 10,000-50,000 ตัว ทำให้ DeepSeek เป็นหนึ่งในผู้ถือครองไมโครชิพ Nvidia รายใหญ่ที่สุดของโลก

DeepSeek การตอบสนองของตลาดหุ้น

        บริษัทเทคโนโลยี AI ของสหรัฐฯ ได้รับผลกระทบโดยตรงน้อย ในขณะที่บริษัทโครงสร้างพื้นฐานของ AI เช่น บริษัทสร้าง Data Center และ ผลิตไมโครชิพ นั้นที่ราคาหุ้นลดลงไปเยอะ แม้ว่าหุ้นของ Nvidia จะลดลง 16.91% เนื่องจากความกังวลด้านโครงสร้างพื้นฐานระบบ AI ส่วนหุ้นของบริษัทที่มุ่งเน้นด้านซอฟต์แวร์ AI เช่น Apple Amazon และ Meta กลับเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนว่าตลาดยังคงเชื่อมั่นในซอฟต์แวร์มากกว่าโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ บริษัทที่ได้รับผลกระทบหนักที่สุด ได้แก่ บริษัทพลังงานที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ข้อมูล (ลดลง 18.8-21.0%) และผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูล (ลดลง 7.8-12.0%)

อย่างไรก็ดี ตลาดหุ้นยังคงมีความเชื่อมั่นในความสามารถของ AI สหรัฐฯ แต่เป็นการปรับฐานของตลาดเกิดจากความตระหนักว่าการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในไมโครชิพและพลังงานสำหรับคลัสเตอร์ AI อาจไม่จำเป็นอีกต่อไป

อนาคตของ DeepSeek

หลายฝ่ายมองว่าการเปิดตัว DeepSeek-R1 เป็น “Sputnik Moment” ของอุตสาหกรรม AI สหรัฐฯ หรือแม้แต่จุดสิ้นสุดของการครองอำนาจนำด้าน AI ของสหรัฐฯ  อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าแม้ DeepSeek ยังไม่ได้แซงหน้า OpenAI ในด้านความสามารถ แต่จะเป็นการปลุกให้สหรัฐฯ ให้ตื่นตัว

DeepSeek มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การเกิดขึ้นของ AI รายย่อยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเป็นโมเดลแบบ Open-Source และสามารถทำงานร่วมกับไมโครชิพประมวลผลระดับกลางที่ต้นทุนต่ำกว่า จะกลายเป็นปัจจัยที่สร้างความกังวลให้กับสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม ยังมีคำถามสำคัญที่ต้องจับตาดู: DeepSeek มีโอกาสครองส่วนแบ่งตลาดได้หรือไม่ ปัจจุบันยังไม่มีโมเดล AI ของจีนที่ครองส่วนแบ่งตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งจะเป็นบททดสอบที่แท้จริงของความสำเร็จของ DeepSeek ไม่ใช่แค่ผลการทดสอบ Benchmark หรือการอ้างต้นทุนที่ต่ำ

แต่ถึงแม้ DeepSeek-R1 อาจไม่สามารถแข่งขันกับโมเดลระดับสูงสุดได้ในทันที แต่ต้นทุนที่ลดลงอาจช่วยให้บริษัทขนาดเล็กสามารถเข้าถึง AI ได้มากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่เข้มข้นขึ้นในหลายอุตสาหกรรม

AI ที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ (‘Good Enough’) สามารถเปลี่ยนแปลงตลาดได้ไม่แพ้ AI ที่ล้ำหน้าที่สุด โดยเฉพาะถ้ามีสิ้นค้า AI-Infused เช่น สมาร์ทโฟน หรือโดรนทหาร ซึ่งต้นทุนรวมของการเป็นเจ้าของอาจลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ผู้ที่จะได้รับประโยชน์และผู้ที่จะได้รับผลกระทบในเชิงลบเนื่องจาก DeepSeek-R1

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า หากเม็ดเงินลงทุนของ DeepSeek เป็นไปตามที่ประกาศไว้ จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานทั้งระบบ โดยส่วนใหญ่ ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จะอยู่ในส่วนปลายน้ำ ขณะที่ ผู้ได้รับผลกระทบเชิงลบจะอยู่ในส่วนต้นน้ำ ของห่วงโซ่อุปทาน AI

ผู้ที่จะได้ประโยชน์ (Winners) DeepSeek

ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงนี้คือ บริษัทปลายน้ำที่เริ่มนำ AI มาใช้ในธุรกิจมา เช่น อีคอมเมิร์ซและการตลาด ซึ่งคาดว่าสัดส่วนการใช้ AI จะเพิ่มขึ้นจาก 65%  เป็น 70-80% ภายใน 2-3 ปี

นอกจากนี้ บริษัทเทคโนโลยีของจีน เช่น DeepSeek Alibaba และ ByteDance จะชนะเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดผู้ให้บริการ AI จากที่อยู่ต่ำกว่า 10% เพิ่มขึ้นเป็น 25% ภายใน 1-3 ปี  เนื่องจากต้นทุนการพัฒนา AI ที่ลดลง ทำให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างจริงจัง และลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากสหรัฐฯ ได้มากขึ้น

อีกกลุ่มที่ได้รับประโยชน์คือ องค์กรและนักพัฒนาที่เน้นการพัฒนา AI แบบ Open-Source และ องค์กรขนาดเล็ก เช่น สตาร์ทอัพจะสามารถเข้าถึง AI ที่มีศักยภาพสูงขึ้น ส่งผลให้การแข่งขันในอุตสาหกรรม เช่น การผลิต, โลจิสติกส์, การเงิน และเทคโนโลยีสุขภาพ ทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบเชิงลบ (Losers) จาก DeepSeek

กลุ่มที่อาจเผชิญปัญหาหนักที่สุดคือ ภาคการผลิตและผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูล (Data Centers) โดยเฉพาะ ผู้ให้บริการพลังงานสำหรับศูนย์ข้อมูล ที่ราคาหุ้นลดลง 18.8 – 21.0% ภายในวันเดียวหลังจากที่ DeepSeek-R1 เปิดตัว ทั้งนี้เป็นเพราะธุรกิจที่ลงทุนระยะยาว เช่น บริษัท Talen ซึ่งลงทุนใน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์สำหรับศูนย์ข้อมูล  

นอกจากนี้ บริษัทผู้สร้าง Hyperscale Data Centers หรือ AI Clusters  ต้องเผชิญกับความท้าทาย เนื่องจากลูกค้าอาจหันไปใช้โซลูชันที่มีต้นทุนต่ำกว่า เช่น On-Premise AI หรือ ระบบคลาวด์ทั่วไป (General Cloud Solutions) แทน

อีกอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบคือ ผู้ผลิตไมโครชิประดับสูง เช่น Nvidia ASML และ TSMC เนื่องจากตลาด AI เปลี่ยนจากการแข่งขันด้าน “พลังและความเร็วการประมวลผล” ไปสู่ ประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร” มากขึ้น ทำให้โรงงานผลิตไมโครชิประดับ 2nm อาจไม่คุ้มทุน 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ที่ลงทุนไป

ผลกระทบด้านการเมืองระหว่างประเทศ จาก DeepSeek

Tech War ระหว่างจีนและสหรัฐฯ คงจะรุนแรงขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การปรับนโยบายด้าน AI ของทั้งสองประเทศ

จีนจะเดินหน้าสู่การเป็นผู้นำ AI

จีนคาดว่าจะใช้โอกาสนี้เพื่อผลักดันแผน Next Generation AI Development Plan  ที่มุ่งหวังให้ประเทศเป็นศูนย์กลางนวัตกรรม AI ระดับโลกภายในปี 2030 บริษัทชั้นนำอย่าง Alibaba กำลังเปิดตัวโมเดล AI ใหม่ (เช่น Qwen 2.5 ) แม้ว่าผลิตภัณฑ์เหล่านี้อาจยังไม่สามารถเทียบกับจุดแข็งด้านต้นทุนของ DeepSeek ได้

ประเด็นที่ต้องติดตามต่อไปคือ DeepSeek สามารถพึ่งพาไมโครชิพทุนต่ำได้จริงหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีข้อกังขาเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการฝึก AI ที่อาจจะสูงว่าที่คาดไว้และข้อจำกัดของจีนในการเข้าถึงไมโครชิพระดับสูงสุด

อีกประเด็นหนึ่งคือ ปริมาณการใช้พลังงานของศูนย์ข้อมูลของจีนจะคงลดลง การใช้พลังงานของ Data Center ในจีนคาดว่าจะ เติบโต 6.56% ระหว่างปี 2025 ถึง 2030 ใช้ถึง 4.8 กิกะวัตต์ (GW) ภายในปี 2030 อย่างไรก็ตาม หากโมเดล AI ของ DeepSeek สามารถขยายขนาดได้จริง ตัวเลขนี้อาจถูกปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

นโยบายของสหรัฐฯ และการควบคุมการส่งออก ผล DeepSeek

ประธานาธิบดีทรัมป์ คาดว่าจะดำเนินมาตรการเพื่อรักษาความเป็นผู้นำด้าน AI โดยมุ่งเน้นไปที่การเพิ่มการลงทุนในงานวิจัยและพัฒนา AI มากกว่าการเพิ่มกฎระเบียบควบคุม

แม้ว่าอาจมีการประกาศมาตรการควบคุมการส่งออกเพิ่มเติม แต่ผลกระทบที่แท้จริงอาจมีจำกัด เนื่องจากไมโครชิพประดับสูงของ Nvidia หลายรุ่นถูกควบคุมไปแล้ว ตาม CHIPS Act และการควบคุมการส่งออกที่มีอยู่แล้ว

หากวิธีการของ DeepSeek สามารถลดการพึ่งพาฮาร์ดแวร์ล้ำสมัยได้จริง มาตรการควบคุมเพิ่มเติมอาจไม่มีผลกระทบมากนักต่อความก้าวหน้าของจีน

โดยรวมแล้ว การถกเถียงเกี่ยวกับ ต้นทุนที่แท้จริงของ DeepSeek และความสามารถในการแข่งขันกับโมเดลระดับสูงสุด อาจเป็นปัจจัยกำหนดภูมิทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของ AI ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า แม้ว่า DeepSeek-R1 อาจไม่สามารถตอบโจทย์ความคาดหวังได้ทั้งหมด แต่เพียงแค่ความเป็นไปได้ในการสร้าง AI ที่มีประสิทธิภาพสูงโดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง ก็อาจกระตุ้นให้เกิดการแข่งขัน ส่งเสริมการพัฒนาแบบ Open Source และช่วยให้การใช้งาน AI ขยายตัวออกไปไกลกว่ากรอบเดิมที่ถูกครอบงำโดยเพียงแค่บริษัทเทคโนโลยีอเมริกัน

ความต้องการรับซื้อไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียนมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้น ในปี 2568 โรงไฟฟ้าชีวมวล คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งจากการขายให้ภาครัฐและเอกชน

ศุนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในปี 2568 ความต้องการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีทิศทางเพิ่มสูงขึ้นทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชน โดยปริมาณไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ขายให้ภาครัฐคาดว่าจะอยู่ที่ 23,555 GWh และภาคเอกชนคาดว่าจะอยู่ที่ 4,177 GWh เพิ่มขึ้น 2% และ 15% ตามลำดับ

 ไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ผู้ประกอบการจำหน่ายมากที่สุดในปี 2568 ได้แก่ ไฟฟ้าชีวมวลและแสงอาทิตย์ตามลำดับ มีสัดส่วนรวมกันเป็น 78% ของไฟฟ้าที่จำหน่ายให้ภาครัฐ และ 96% ของไฟฟ้าที่จำหน่ายให้ภาคเอกชน

ในปี 2568 โรงไฟฟ้าชีวมวล คาดว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้นทั้งจากการขายให้ภาครัฐและเอกชน รวมทั้งอัตรากำไรขั้นต้นก็มีแนวโน้มเติบโต ในขณะเดียวกัน สำหรับธุรกิจไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ รายได้ต่อหน่วยในการขายไฟให้ภาครัฐจะขึ้นอยู่กับราคารับซื้อ ซึ่งมีแนวโน้มลดลง ขณะที่รายได้รวมจากการขายไฟให้ภาคเอกชน มีแนวโน้มขยายตัวตามความต้องการที่เพิ่มขึ้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

อนุมัติ รถไฟความเร็วสูง เฟสสอง กว่า 3 แสนล้านบา

“สุริยะ” เผย ครม.อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา–หนองคาย วงเงิน 3 แสนล้านบาท

มาตรการกระตุ้น แจกเงินหมื่น กระตุ้นเศรษฐกิจไทยไม่ขึ้น

วิจัยกรุงศรี มองมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรัฐบาล แจกเงินหมื่น ไม่ได้ผล แก้หนี้คุณสู้เราช่วยคนเข้าโครงการน้อย

มองไม่เห็นทางไทย รับมือ สงครามการค้า

มองรัฐบาลบริหารเศรษฐกิจไม่ประสีประสา มองไม่เห็นทางไทย รับมือ สงครามการค้า คาดศก.ทรุดโตไม่ถึง 2%

ตลาดหลักทรัพย์ไทย จับมือ ICEผู้นำตลาดคาร์บอนระดับโลก

ตลาดหลักทรัพย์ไทย จับมือ ICE หนึ่งในผู้นำด้านตลาดคาร์บอนระดับโลก ศึกษาการพัฒนาระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตไทย ก้าวสู่เศรษฐกิจสีเขียว