นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย ประเมิน สงครามอิสราเอลกับอิหร่าน มีผลกระทบต่อไทยมีอยู่ด้วยกัน 4 ด้าน
ประการแรก นักลงทุน จะเทขายสินทรัพย์เสี่ยง เข้าไปถือสินทรัพย์ปลอดภัย โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ เกิดการเทขายหุ้นและบอนด์ในตลาดเกิดใหม่ เงินบาทอ่อนค่า ดอลลาร์สหรัฐกลับมาแข็งค่า มีโอกาสบาทไปแตะ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ บาทไม่ใช่สินทรัพย์ปลอดภัยโดยเฉพาะช่วงราคาน้ำมันขึ้นเรื่องจากไทยเป็นผู้นำเข้าสุทธิน้ำมั
ประการที่ 2 ราคาน้ำมันขยับขึ้น จากความกังวลว่าสงคราม อาจจะกระทบกับอุปทานน้ำมันของอิหร่าน ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลกทำให้ราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องได้ อย่างไรก็ดีเราไม่ได้คิดว่าราคาน้ำมันจะพุ่งไปแรง เนื่องจากยังมีอีกหลายประเทศเช่นซาอุดิอาระเบียและ อิรัก ที่อ่านเพิ่มกำลังการผลิต ชดเชย ความเสี่ยงและอุปทานของอิหร่านได้
ประการที่ 3 เรื่องเงินเฟ้อ สืบเนื่องจากราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้น อาจส่งผลให้เงินเฟ้อ ของสหรัฐ และไทย ขยับตัวสูงขึ้น และอาจทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ ชะลอการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายออกไป รวมทั้งไทยที่คาดว่าเงินเฟ้อ จะอยู่ในกรอบ เป้าหมาย ของนโยบายการเงินก็อ่านปรับเปลี่ยนได้หากราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น และอาจกระทบกับ ต้นทุนการขนส่ง และราคาสินค้าอื่นๆได้ ซึ่งหากรัฐบาลอุดหนุนราคาน้ำมันแล้วอาจกระทบต้นทุนการคลังแฃะการนำเข้าที่สูงขึ้น น่าทำเฉพาะจุดหรือกลุ่มเปราะบาง และสนับสนุนการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพ
ประการที่ 4 การส่งออก การส่งออกของไทยไปตะวันออกกลางอาจจะได้รับผลกระทบบ้างแต่เนื่องจากสัดส่วนมีน้อยจึงไม่น่ากระทบกับภาพรวม อย่างไรก็ดีให้ติดตามผลกระทบ จากการ สู้รบ ที่อาจ ส่งผลให้ การขนส่ง สินค้าผ่านทางทะเลไปยุโรป หรือมีค่าระวางเรือที่สูงขึ้นหรือมีการจำเป็นต้องเปลี่ยนเส้นทางอ้อม แอฟริกาซึ่งทำให้ต้นทุนการส่งสินค้าสูงขึ้นตามและกระทบกับสินค้ากลุ่มเกษตร หรือสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำเน่าเสียง่าย
อย่างไรก็ดีโดยภาพรวม เราคาดว่าการสู้รบน่าจะอยู่ในวงจำกัดไม่บานปลาย และจบด้วยการเจรจา แต่ต่อไปความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์จะเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทั่วโลกจับตาและอาจกระทบการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในปีนี้