ทีทีบี เสนอรับมืออัตราแลกเปลี่ยนที่คาดเดาได้ยาก

Date:

นางสาวบุษรัตน์ เบญจรงคกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าธุรกิจตลาดเงินและธุรกรรมระหว่างประเทศ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดเผยว่า การค้าระหว่างประเทศมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2566 การนำเข้าและส่งออกของไทยมีสัดส่วนมากถึง 111.80% ของ GDP ซึ่งเป็นการซื้อขายกับประเทศคู่ค้าในภูมิภาคเอเชียสูงถึง 36% เมื่อเทียบกับการซื้อขายกับสหรัฐอเมริกาซึ่งมีสัดส่วนเพียง 10.80% 

อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้สกุลดอลลาร์สหรัฐในการชำระเงินระหว่างประเทศยังมีสัดส่วนที่สูงถึง 77.4% ซึ่งความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการเผชิญกับการควบคุมต้นทุนได้ยาก และส่งผลให้ต้นทุนของผู้ประกอบการสูงขึ้น ทีทีบีจึงแนะนำให้ผู้ประกอบการเปลี่ยนมาใช้ Local Currency Solutions เพื่อบริหารความเสี่ยงต้นทุนที่เกิดจากค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในปี 2566 สกุลเงินหยวนจีนและสกุลเงินท้องถิ่นอื่น ๆ มีการปรับตัวไปในทิศทางเดียวกับค่าเงินบาทหรือปรับตัวอยู่ไม่เกิน 3% เมื่อเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐที่ปรับตัวสูงถึง 9% 

นอกจากนี้สถานการณ์ต่าง ๆ ของโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ภาวะสงคราม ภัยธรรมชาติ การเมืองและการค้าโลก ล้วนส่งผลต่อความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนโดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐ

“ทีทีบีมีโซลูชันเพื่อให้ผู้ประกอบการพร้อมรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนที่มีการคาดเดาได้ยาก ครอบคลุมทั้งบริการ Local Currency Solutions และบริการการค้าระหว่างประเทศ (Trade Finance) ประกอบกับธนาคารแห่งประเทศไทยได้สนับสนุนการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างประเทศ ซึ่งจะช่วยผลักดันให้เกิดระบบนิเวศใหม่ของอัตราแลกเปลี่ยน (New FX Ecosystem) ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้นำเข้า-ส่งออกจะต้องรับมือกับความผันผวนเงินตราต่างประเทศให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ“ นางสาวบุษรัตน์ กล่าว

ธนาคารมุ่งมั่นในการพัฒนาโซลูชันบริหารความเสี่ยงที่สามารถตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออก ด้วยบริการ Local Currency Solutions เพื่อช่วยผู้ประกอบการบริหารจัดการธุรกิจด้วยสกุลเงินท้องถิ่นซึ่งครอบคลุมเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยกว่า 90% อาทิ  สกุลหยวนจีน อินเดียรูปี มาเลเซียริงกิต โดยมี 3 สกุลเงินใหม่ที่เพิ่มเข้ามา ได้แก่ เวียดนามดอง เกาหลีวอน และ ฟิลิปปินส์เปโซ  โดยทีทีบี ถือเป็นผู้นำด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็น

·    “Yuan Pro Rata Forward” เพื่อลดความผันผวน และเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันความเสี่ยงจากบริการรับจองอัตราแลกเปลี่ยนด้วยสกุลหยวนจีน โดยทีทีบี เป็นธนาคารแรกที่ให้บริการ

·       บัญชีสำหรับบริหารหลายสกุลเงิน (ttb multi-currency account)  สะดวก คล่องตัว ด้วยการบริหารจัดการเงินสกุลหลักและสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยรวม 11 สกุลเงิน เพียงใช้บัญชีเดียวสามารถใช้ซื้อ ขาย รับ จ่ายได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สะดวกมากยิ่งขึ้นเมื่อใช้ควบคู่ไปกับธนาคารดิจิทัลอย่าง ทีทีบี บิสสิเนสวัน (ttb business one)

·       สามารถเบิกใช้วงเงินกู้ Trade Finance ได้ทั้งสกุลเงินหลักและท้องถิ่นได้ถึง 13 สกุลเงิน รวมถึงสกุลหยวนจีน ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน ลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการแลกเปลี่ยนสกุลเงินกับคู่ค้า

ทีทีบีมุ่งหวังว่า Local Currency Solutions จะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการบริหารต้นทุนธุรกิจและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของค่าเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจลง รวมถึงเพิ่มโอกาสขยายตลาดไปยังเป้าหมายใหม่และเจรจาการค้าได้ง่ายขึ้น โดยธนาคารยังคงเดินหน้าพัฒนาบริการและโซลูชันที่มุ่งตอบโจทย์ผู้นำเข้า-ส่งออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยลดต้นทุนและความเสี่ยงในการทำการค้าระหว่างประเทศ พร้อมสนับสนุนให้ลูกค้าสามารถขับเคลื่อนธุรกิจได้ในทุกสถานการณ์ ก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จและเติบโตได้อย่างยั่งยืน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

นายกฯ ยันไทยพร้อมรับมือ  สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าไทยสูง​ 36%

นายกฯ ยันไทยเตรียมพร้อมรับมือ มีแผนระยะสั้น-ยาว หลังสหรัฐฯเคาะภาษีนำเข้าไทยสูง​ 36% ​ ตั้งทีมเจรจา​ เชื่อยังต่อรองได้

ค่าเงินบาท “อ่อนค่าลงหนัก” หลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าไทย

ค่าเงินบาท เปิดเช้านี้ ที่ระดับ  34.38 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่าลงหนัก” หลังทรัมป์ขึ้นภาษีนำเข้าไทย

นายกฯ ยัน ไม่รีบดันร่าง “พ.ร.บ. กาสิโน” เข้าสภาฯ

นายกฯ ยัน ไม่รีบดันร่าง “พ.ร.บ. กาสิโน” เข้าสภาฯ ลั่น พยายามบริหารงานทุกทางไม่ให้เกิดความขัดแย้ง บอกยังมีเวลาทำความเข้าใจ

ส่งออกไทยเดือดร้อนหนักแน่แล้ว

ส่งออกไทยเดือดร้อนหนักแน่แล้ว หลังทรัมป์ตั้งกำแพงภาษีไทย ภาษีฐาน 10% บวกภาษีตอบโต้อีก 36% รวมเป็น 46%