ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยในงาน สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าขึ้นสู่ปีที่ 14 เรื่อง “ท้องถิ่นที่สากล: อนาคตประเทศไทย” ว่า ไทยโตแบบเดิมไม่ได้ เพราะกว่า 10 ปีที่ผ่านมา การเติบโตของเศรษฐกิจในภาพรวมไม่ไปถึงครัวเรือนเท่าที่ควรนอกจากนี้ รายได้กระจุกตัวอยู่กับธุรกิจขนาดใหญ่ และธุรกิจรายใหม่อยู่รอดยากขึ้น พึ่งโลกเท่าที่ผ่านมาไม่ได้
ทั้งนี้มองว่า เศรษฐกิจไทยในอนาคตต้องโตจาก local มากขึ้น เพราะ
1. ประชากรราว 80% ของประเทศ อาศัยอยู่นอก กทม. และปริมณฑล
2. ธุรกิจจ านวนเกือบ 80% อยู่นอก กทม. และปริมณฑล
3. อัตราการเติบโต GDP ของ กทม. ต่อหัวประชากรเพียง 0.22%
โดย ท้องถิ่นมีความท้าทาย 3 อย่าง ทำให้แข่งขันได้ยาก ประกอบด้วย
1. คนในท้องถิ่นกระจายตัว ไม่ได้กระจุกตัวเหมือนใน กทม.
[กทม. มีประชากรกระจุกตัวมากที่สุดถึง 3,503 คน ต่อ ตร.กม. สูงกว่าภาคเหนือ 71 ภาคอีสาน 129
ภาคใต้ 134 และภาคกลาง 169 คน ต่อ ตร.กม.]
2. ธุรกิจท้องถิ่นส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก
[10 ปีที่ผ่านมา กว่า 90% ของสถานประกอบการในท้องถิ่นเป็นรายย่อย]
3. มีภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
นาย เศรษฐพุฒิ กล่าวว่า ประเทศต้องทำให้เกิดท้องถิ่นโตแบบสากลได้ ด้วยดังต่อไปนี้
1 เชื่อมตลาด เพื่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนลดลง
2 สร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น สร้างเอกลักษณ์ในตัวผลิตภัณฑ์ (สินค้าท้องถิ่นที่บ่งบอกแหล่งที่มา (Geographical Indication หรือ GI))
3 ร่วมมือกับ Partner ในลักษณะที่ใช้จุดแข็งของแต่ละฝ่าย ให้เกิดประโยชน์ win-win ทำให้เมืองรองโต (urbanization)
4 ให้ท้องถิ่นสามารถจัดการตนเองได้มากขึ้น (empowerment) เพื่อให้เกิดนโยบายตามความต้องการของแต่ละพื้นที่ (Tailor-made policies)
5 สร้างระบบติดตาม พัฒนาการหรือความเจริญของท้องถิ่น
“ไทยโตแบบเดิมไม่ได้ เพราะเดิมโตจาก กทม. และโตจากรายใหญ่ ซึ่งเป็นการโตบนฐานที่แคบ โอกาสโตอีกจึงน้อย ท้องถิ่นที่สากล จะช่วยให้โตดีกว่าที่ผ่านมา เพราะโตบนฐานที่กว้างขึ้น การโตจะไปต่อไม่ได้ หากยังพึ่งการอุดหนุน ดังนั้น การโตจะต้องกระจาย (more inclusive) ไปสู่คนหมู่มาก และโตแบบยืดหยุ่น (more resilient) เพราะท้องถิ่นแต่ละแห่งมีความแตกต่างและหลากหลาย สุดท้าย ถ้าจะให้ท้องถิ่นยั่งยืน (sustain) ต้องแข่งขันได้ผ่านความเป็นสากล” ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าว