ทีดีอาร์ไอ เตือนการเมืองแทรกแซงธปท. 

Date:

ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) โพสต์เฟสบุ๊ก “Somchai Jitsuchon” ระบุ

แนวคิดในการบริหารนโยบายการเงินเป็นเรื่องที่เข้าใจไม่ง่าย ไม่สามารถใช้ common sense ในการทำความเข้าใจได้ (อดีตผู้บริหารท่านนึงของ ธปท. ถึงกับบอกว่ามักจะ against common sense ด้วยซ้ำ) 

ด้วยเหตุนี้จึงมีการ ‘ใช้เหตุผล’ ที่ฟังเหมือนถูก แต่จริง ๆ ไม่ถูกหลายประการในการถกเถียงเรื่องความเหมาะสมในการดำเนินนโยบายการเงินในระยะ 1-2 ปีที่ผ่านมา และลามมาถึงการถกเถียงในเรื่องความพยายามส่งคนของฝ่ายการเมืองเข้ามามีบทบาทระดับสูงในธนาคารแห่งประเทศในระยะหลังนี้ 

หนึ่งในเหตุผลที่ดูเหมือนใช่ แต่จริง ๆ ไม่ถูก คือความเห็นว่าการแทรกแซงจากการเมืองในธนาคารกลางไม่ใช่เรื่องเสียหายเสมอไป เพราะหลายครั้งธนาคารกลางก็ทำไม่ถูก ถ้ามีการแทรกแซงและทำให้ถูกต้องขึ้นก็น่าจะเป็นประโยชน์มากกว่า และมีการยกตัวอย่างตอนต้มยำกุ้งที่ ธปท. ตัดสินใจพลาดในหลายเรื่องจนทำความเสียหายให้เศรษฐกิจไทยอย่างใหญ่หลวง

ฟังดูดีใช่ไหมครับ? 

แต่จริง ๆ ไม่ถูกครับ เพราะถ้าคิดแบบนี้แล้วเปิดช่องให้การเมืองเข้ามามีอิทธิพลได้ ‘ตลอดเวลา’ และ ‘ทุกเมื่อที่ต้องการ’ สิ่งที่ตามมาคือ (ก) การกดดันให้นโยบายการเงินสนองตอบผลประโยชนน์ระยะสั้น ซึ่งเรื่องนี้พูดกันมากแล้ว (ข) ไม่มีใครรับประกันได้ว่าการแทรกแซงครั้งไหนช่วยป้องกันความเสียหายที่ธนาคารกลางอาจดำเนินนโยบายผิดพลาด และครั้งไหนการแทรกแซงก่อความเสียหายเสียเอง (ค) สำคัญที่สุดคือการดำเนินนโยบายการเงินจะ ‘คาดเดาไม่ได้’ ในมุมมองของตลาดเงิน ตลาดทุน และภาคส่วนอื่น เพราะคงไม่มีฝ่ายการเมืองใดสามารถสร้าง ‘กรอบแนวคิดการแทรกแซง’ ที่โปร่งใส เข้าใจได้ คาดเดาได้ ไม่เหมือนกรอบแนวคิดการดำเนินนโยบายการเงินอย่างมีอิสระของธนาคารกลางที่ได้รับการพัฒนาอย่างยาวนานในเรื่องความโปร่งใส และคาดเดาได้

การคาดเดาไม่ได้ก็เป็นเรื่องใหญ่กว่าที่จะเข้าใจได้ด้วย common sense ว่าทำไมถึงสำคัญ จะเข้าใจมากขึ้นถ้าเอาข้อเท็จจริงว่าธนาคารกลางมีบทบาทสำคัญในการกำหนดขนาดและทิศทางของปริมาณเงิน สินเชื่อ การปริวรรศเงินตราต่างประเทศ ฯลฯ ซึ่งจะมีผลต่อราคาหลักทรัพย์หลากหลายประเภท หากคาดเดาไม่ได้ หรือคาดเดาได้ยาก ก็จะทำให้ต้นทุนการดำเนินกิจกรรมการเงินและการลงทุนสูงขึ้น ยังมิพักต้องกล่าวถึงเรื่องการคาดการณ์เงินเฟ้อทีจะถูกกระทบจนทำให้เงินเฟ้อหลุดกรอบจนยากจะกู่กลับ ซึ่งผลเสียต่อระบบเศรษฐกิจมากเกินบรรยาย 

แน่นอนว่าธนาคารกลางทุกแห่งรวมทั้ง ธปท. ก็ยังจะตัดสินใจผิดพลาดได้ แต่วิธีแก้ไม่ใช่อนุญาตให้ฝ่ายการเมืองเข้าแทรก แต่เป็นการส่งเสริมให้ธนาคารกลางทำการสื่อสารเพื่ออธิบายการตัดสินใจทางนโยบายที่ชัดเจน มี

กลไกรับผิดชอบหากทำผิดพลาด (เช่นการออกรายงาน ‘รับผิด’ ว่าทำไมพลาดเป้าเงินเฟ้อ และจะ ‘แก้ไขอย่างไร’) ซึ่งต้องทำอย่างโปร่งใส เปิดเผยต่อสาธารณชน กล่าวอีกนัยหนึ่งธนาคารกลาง ‘ต้องไม่เป็นอิสระ’ จากสาธารณชน ต้องพร้อมรับผิดชอบ เพราะผลประโยชน์ของสาธารณชนย่อมอยู่เหนือกว่าผลประโยชน์ของกลุ่มการเมืองใด ๆ

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

CHAGEE เปิดตัวน้อน “Bes-tea Plushies”

น่ารักเกินกว่าจะยกดื่ม! CHAGEE เปิดตัวน้อน “Bes-tea Plushies” คู่หูสุดคิ้วท์ ชวนจุ่มทั้งคอลเลคชันกับดีลพิเศษคู่เมนูฮิตจำนวนจำกัด 18 - 24 ก.ค. 2568 นี้ เท่านั้น!

ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต 

ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส ปลดล็อกอนุมัติกู้ให้ทุกอาชีพที่ไม่เคยกู้เงินแบงก์

ธ.ก.ส. ชวนฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก

ธ.ก.ส. ชวนฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก ลุ้นจุ่ม Art Toy AGRI ANIMAL ในงาน Thailand Smart Money อุบลราชธานี ครั้งที่ 11

“เผ่าภูมิ” ยันไทยไม่ลดภาษี 0% ทั้งหมดให้สหรัฐฯ

“เผ่าภูมิ” ยันเป็นไปได้ที่ไทยจะลดภาษี 0% ให้สหรัฐฯ แบบ100% ยันต้องพิจารณาบนหลักความสมดุล ย้ำผู้ชนะไม่ใช่คนที่ได้เรตภาษีต่ำที่สุด