“ศุภชัย พานิชภักดิ์” แนะคลังรักษาวินัยการคลังสู้วิกฤตเศรษฐกิจ

Date:

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การค้าโลก (WTO) กล่าวปาถกาถาพิเศษ เรื่อง “New World Order : รับมือระเบียบโลกใหม่” ในงาน “MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย” ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ว่า ขณะนี้โลกมีความวุ่นวายไม่แน่นอน สับสนอลเวงมากมาย สหประชาติเรียกสภาพการณ์นี้ว่า โลกของความไม่แน่นอน เป็น New World Order ที่มีระเบียบใหม่ มีวิธีการบริหารใหม่ หรือพูดอีกทางหนึ่งว่าโลกตอนนี้มันไม่เป็นระเบียน ต้องจัดระเบียบใหม่ให้ได้ จึงต้องมีการพูดคุยกัน 

ดร.ศุภชัย กล่าวว่า ปัจจุบันโลกตอนนี้มีอำนาจใหญ่ 3 ขั้ว จากเดิมมีสหรัฐฯ เป็นใหญ่คนเดียว แค่ตอนนี้มีจีน และรัสเซีย ยังไม่รวมกับขั้วอำนาจอื่นๆ กลุ่มประเทศแอฟริกา เอเชีย อาเซียน ซึ่งต้องมาแชร์อำนาจผลประโยชน์ทางการค้าซึ่งกันและกัน

ปัญหาโลกตอนนี้ เกิดจากสหรัฐฯ ที่เดิมคิดว่ากุมระบบเศรษฐกิจของโลกไว้ได้เพียงผู้เดียว แต่ปัจจุบันรู้แล้วว่า มีจีนขึ้นใหม่ใหญ่แทนแซงหน้าไปแล้ว ดูได้จากที่สหรัฐฯ มีสัดส่วนการค้าโลกของสหรัฐก่อนนับตั้งแต่จีนเข้า WTO ปี 2001 ที่ 20% ของโลก แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 8% ขณะที่จีนก่อนเข้า WTO มีสัดส่วนการค้าเพียง 4-5% ของโลก แต่ตจอนนี้เป็น 15%

นอกจากนี้ สหรัฐยังสัญญาณการถดถอยเศรษฐกิจหลายเรื่อง นอกจากสัดส่วนการค้าลดลง ยังมีปัญหาสถาบันการเงินมีการล้ม การรัสเซียบุกยูเครน สหรัฐฯ ก็นิ่งเฉย 

ขณะที่ประเทศจีนประกาศนโยบาย Belt and Road Initiative (BRI) โครงการจีนเชื่อมโลก เป็นนโยบายที่ทำให้จีนสร้างอำนาจการค้าออกไปนอกประเทศและเอเชีย ขยายไปทั่วโลก รวมถึงปีที่ผ่านมาจีนสามารถระบบเอไอ Deepseek มาแข่ง Chat GPT

“ตอนนี้ จีนพัฒนาขึ้นมาเป็นสหรัฐ และสหรัฐถดถอยไปเป็นจีนในอดีต ส่วนทางยุโรปก็อ่อนแอลงมาก หลังจากที่อังกฤษถอนตัวออกจากกลุ่มอียี ทำให้กลุ่มอียูตัดงบประมาณช่วยเหลือต่างๆ จำนวนมาก เพื่อไปพัฒนาประเทศ และซื้ออาวุธ พัฒนากองทัพ เสริมความมั่นคงให้กับกลุ่มอียู ซึ่งการประชุมดาวอวล่าสุด มีการประเมินกันว่า ในอนาคต 2-3 ปี สงครามการค้าจะพัฒนาเป็นสงคครามจริง แม้ว่า สหรัฐจะไม่ได้ทำสงครามจริงกับจีนโดยตรง แต่ก็จะมีวงครามจริงที่ใช้ตัวแทนเกิดขึ้น” ดร.ศุภชัย กล่าวว่า

ดร.ศุภชัย กล่าวว่า สงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีน เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมับโอบาม่าก็มีนโยบายกรีดกันการค้าจีน มาถึงสมับไบเดน ก็มีการขึ้นภาษีการค้ากับจีน มีการอุดหนุนสินค้าภายในประเทศ แต่พอมาถึงสมัยทรัมป์ทำให้โลกแตกตื่น โดยการขึ้นภาษีการค้ากับจีนและประเทศๆ อย่างรุนแรง เนื่องจากสหรัฐขาดดุลการค้าปีละ 9 แสนล้านดอลลาร์ ถือว่าสูงมาก ขณะที่จีนได้ดุลการค้าปีละ 1 ล้านล้านดอลลาร์ โดยการขาดดุลของสหรัฐฯ เป็นการขาดดุลให้จีน กับเวียดนามรวมกับ 1 ใน 3 ของ 9 แสนล้านดอลลาร์ ทำให้สหรัฐฯ ประกาศสงครามการค้าขึ้นภาษีสินค้าประเทศจีน กับเวียดนามสูงมาก

สำหรับประเทศไทย เศรษฐกิจมีสัดส่วนผูกกับไว้กับการส่งออกสูงมาก มีการค้าโลกไม่ดี เศรษฐกิจไทยก็แย่ไปด้วย จากการขึ้นภาษีของสหรัฐฯ ซึ่งประเทศไทย และอาเซียนอยู่ในภาวะลำบาก เหมือนมีหอกรอแทงทั้งสองข้าง ไปทางไหนก็ไม่ได้ ต้องทำตัวให้เป็นกลางมากที่สุด เพราะต้องพึ่งทั้งสหรัฐและจีน

“ผมแนะนำว่าขณะไทยต้องเร่งเจรจากับสหรัฐ และควรรีบเจรจากับจีนไปพร้อมกันด้วย เพราะสหรัฐฯ จะไม่ยอมให้จีนใช้ไทยเป็นฐานในการส่งสินค้าของจีนเข้าไปขายในสหรัฐฯ ซึ่งทางไทยต้องหารือกับจีนการทำเช่นนี้ต่อไปไม่ได้แล้ว การที่จีนจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตจะส่งไปได้ในภูมิภาคเท่านั้น ไม่สามารถส่งไปสหรัฐฯ ได้เหมือนในอดีต” ดร.ศุภชัย กล่าว

นอกจากนี้ ไทยต้องเจรจากับกลุ่มประเทศอาเซียน ร่วมมือกันในการเจรจาต่อรองการขึ้นภาษีกับสหรัฐฯ ไม่ควรมาดรัมป์ราคาสินค้าเพื่อแข่งกันไปขายสหรัฐ เพราะจะเป็นการซ้ำเติมปัญหากันเองให้มากขึ้น

ดร.ศุภชัย กล่าวว่า นอกจากนี้ประเทศไทยต้องเร่งทำ 2 เรื่อง คือเรื่องระยะยาวต้องไม่ทิ้ง แผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ซึ่งมีทุกอย่างที่ประเทศต้องทำ มีปรัชญาสำคัญมาก คือ เศรษฐกิจพอเพียง มีภูมิคุ้มกัน เราต้องรักษาเนื้อตัว ลงทุนภาคสังคม การศึกษษ สาธารณสุข พลังงานสะอาด ไม่ต้องสร้างเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ แต่สร้างเฮลท์คอมเพล็กซ์ แทนได้ไหม

นอกจากนี้ต้องทำเรื่อง นโยบายคลังให้มีประสิทธิภาพ ประเทศไทยอยู่ในภาวะเราคับขันอีกอย่างน้อย 3 ปั ดังนั้นต้องมีเงินมากพอในการรองรับปัญหาที่จะเกิดขึ้น จึงอย่าใช้จ่ายหรือกู้เงินเกินกว่าที่ควรต้องใช้ หรือใช้ในเรื่องที่ไม่จำเป็น ควรใช้เพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริงเท่านั้น

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

EXIM BANK ร่วมงานเสวนา ในงาน “MOF Journey 150 ปี”

EXIM BANK ร่วมงานเสวนาและพบปะผู้บริหารกระทรวงการคลังและหน่วยงานพันธมิตรในงาน “MOF Journey 150 ปี เส้นทางการคลังไทย”

สำนักงาน คปภ. จับมือ ญี่ปุ่น หารือกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย

สำนักงาน คปภ. จับมือ ญี่ปุ่น หารือกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย รองรับการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินระดับโลก

เลขาธิการ คปภ. เน้นย้ำบทบาทในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย

เลขาธิการ คปภ. เน้นย้ำบทบาทในการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยของสำนักงาน คปภ. ในหลักสูตร ปธพ. รุ่น 11

สำนักงาน คปภ. จัดสัมมนาอนุญาโตตุลาการที่เชียงใหม่

สำนักงาน คปภ. จัดสัมมนาอนุญาโตตุลาการที่เชียงใหม่ เชื่อมโยงข้อมูลจากพื้นที่ สู่การพัฒนาระบบยุติธรรมทางเลือกเพื่อประชาชน