
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การที่ Moody’s ปรับลดแนวโน้มเครดิตเรตติ้งไทย จาก Stable สู่ Negative มีความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและการคลังสูงขึ้นจากผลกระทบของการปรับขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯ
ก่อนหน้านี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า Moody’s ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตไทยเป็น Negative ผลกระทบกับค่าเงิน และผลตอบแทนตราสารหนี้
โดยวันที่ 29 เมษายน 2568 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Moody’s Ratings ปรับลดมุมมองแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือสำหรับรัฐบาลไทยจาก “Stable” มาที่ “Negative” แม้ว่าจะยังคงอันดับความน่าเชื่อถือของไทยไว้ที่ Baa1
โดย Moody’s กล่าวถึงสาเหตุสำคัญของการปรับมุมมองต่อแนวโน้มอันดับเครดิตลงเป็น Negative รอบนี้ มาจากความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจไทยซึ่งมีผลทำให้สถานะทางการคลังอ่อนแอลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าการปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตในรอบนี้ ต่างจากการปรับลดแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น Negative ในรอบก่อน ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนธันวาคม 2551 ในช่วงของวิกฤต Subprime อยู่ 2 จุด คือ
เศรษฐกิจไทยในปี 2551-2552 ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจการเงินทั่วโลก
ระดับหนี้สาธารณะของไทยในเวลานั้นยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ในรอบนี้ คงต้องยอมรับว่า เศรษฐกิจไทยมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว และมีเงื่อนไขซ้ำเติม คือ ตัวช่วยทางการคลังมีสัญญาณที่จำกัดมากขึ้นกว่ารอบก่อน
ตลาดการเงินไทยตอบรับข่าวการปรับมุมมองต่อแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือมาเป็น Negative ในรอบนี้ ค่อนข้างจำกัด เพราะปัจจัยอื่นมีผลมากกว่า อาทิ ทิศทางเงินดอลลาร์ฯ ที่โดนกระทบจากเรื่องสงครามการค้า และสัญญาณฟันด์โฟลว์ของต่างชาติ ซึ่งสลับมาอยู่ในฝั่งไหลเข้าสุทธิรับมติการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยลง 0.25% มาที่ 1.75% ในการประชุม กนง. 30 เมษายน 2568