
นายลวรณ แสงสนิท ปลัดกระทรวงการคลัง แถลงความคืบหน้าการดำเนินงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) โดยมีนายวินิจ วิเศษสุวรรณภูมิ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายได้ ประธาน กยศ. และนางสาวนันทวัน วงศ์ขจรกิตติ ผู้จัดการ กยศ. ร่วมแถลงข่าว
นายลวรณ กล่าวว่า ที่ผ่านมามีความเข้าใจผิดเรื่องการชำหนี้ กยศ. ทำให้สังคมเกิดความสับสนผิดไปอย่างมาก โดยที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2566 กยศ. เริ่มใช้กฎหมายใหม่ ส่งผลดีกับลูกหนี้ กยศ. หลายประการ ประกอบด้วย การเรียงลำดับตัดชำระหนี้ทำให้ลูกหนี้มีหนี้ที่ลดลง การคิดอัตราดอกเบี้ยจากเพดานไม่เกิน 7.5% ต่อปี เป็นไม่เกิน 1% ต่อปี ซึ่งมีการเก็บจริงเพียง 0.5% ต่อปีเท่านั้น รวมถึงกฎหมายยังแก้ให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากภาระหนี้ ไม่เป็นปัญหาเหมือนกฎหมายเดิม
ทั้งนี้ หลังจากกฎหมายมีผลเริ่มใช้ปี 2566 ทางคณะกรรมการ กยศ. ได้มีมติว่า ให้กฎหมายมีผลย้อนหลังกลับลูกหนี้ทุกราย เพราะถือกฎหมายเป็นคุณกับผู้กู้ทำให้ให้ภาระหนี้ลดน้อย อย่างไรก็ตามปัญหาทางเทคนิคการปรับปรุงยอดหนี้ใหม่ (Recal) ลูกหนี้ทั้งหมด 3.8 ล้านราย ต้องใช้เวลาดำเนินการนาน เพราะมีเงื่อนไขการกู้รายละเอียดที่แตกต่างกันมาก
อย่างไรก็ตาม ผลของการ Recal ลูกหนี้ 3.8 ล้านราย พบว่า ส่งผลดีกับลูกหนี้ทุกราย ประกอบด้วย
1 กลุ่มผู้ได้เงินคืนจำนวน 2.89 แสนบัญชี เป็นเงิน 3,399 ล้านบาท
2 กลุ่มที่มียอดหนี้ลดลง 3.54 ล้านบัญชี ยอดหนี้ลดลง 4.62 หมื่นล้านบท
3 กลุ่มที่มียอดหนี้เท่าเดิม 755 บัญชี
4 กลุ่มที่หนี้หมด (ปิดบัญชีการกู้) 80 บัญชี
“จากข้อมูลผลของการ Recal จะเห็นเป็นที่ประจักษ์ชัดเจนว่า ลูกหนี้กยศ. ทั้ง 3.8 ล้านราย จะเห็นว่าลูกหนี้ได้ประโยชน์ทั้งหมด ไม่มีลูกหนี้คนไหนที่มีลูกหนี้เพิ่มขึ้นเลยแม้แต่คนเดียว” นายลวรณ กล่าว

อย่างไรก็ตาม นายลวรณ กล่าวว่า ลูกหนี้ทั้ง 4 กลุ่ม ต้องที่เข้ามาลงทะเบียนยืนยันตัวตนผ่านเว็บไซต์ กยศ. เพื่อรับเงินคืน ปรับยอดโครงสร้างหนี้ใหม่ให้ลดลง อย่างไรก็ตามพบว่า ลูกหนี้ยังไม่เข้ามาลงทะเบียนยืนยันตัวตน เช่นการขอเงินคืนจากจำนวนทั้หมด 2.86 แสนบัญบัญชี วงเงิน 3.399 ล้านบาท มีผู้มาลงทะเบียนขอคืนเพียง 2.64 หมื่นบัญชี เป็นเงิน 426 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นจำนวนน้อยมากทั้งที่ลูกหนี้ได้เงินของตัวเองคืน ซึ่ง กยศ. พร้อมจะคืนเงินทั้งหมดภายในเดือน พ.ค. 2568
สำหรับการลงทะเบียนยืนยันตัวตนปรับโครงสร้างหนี้ที่ลดลงจำนวน 3.54 ล้านบัญชี มีผู้มาลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ประมาณ 6 แสนบัญชีเท่านั้น
ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับปัญหาที่เกิดขึ้นในขณะนี้ที่ผู้กู้ต้องจ่ายเพิ่ม 3,000 บาท เนื่องจากมียอดค้างชำระหนี้ก่อนหักเงินเดือน หรือผู้กู้ไม่ชำระส่วนต่างๆ และยังไม่ยอมมาลงทะเบียนปรับโครงสร้างหนี้ มีจำนวน 5.1 แสนบัญชี ในจำนวนนี้หลังได้รับแจังจาก ก.ย.ส. มีผู้เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ 2 แสนบัญชี ปิดบัญชี 4.2 หมื่นบัญชี ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 3,000 บาท แต่ยังเหลือที่ไม่ไม่มาลงทะเบียนอีก 2.6 แสนบัญชี ทำให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 3,000 บาท ตั้งแต่เดือนเม.ย. 2568 ที่ตัดยอดในวันที่ 17 ของทุกเดือน และหากไม่มาปรับโครงสร้างก็จะต้องจ่ายเพิ่มเดือนละ 3,000 บาทต่อไปเรื่อยๆ ทางกยศ. จึงขยายเวลาในในเดือนพ.ค. ที่ต้องตัดยอดในวันที่ 17 ขยายเวลาไปเป็นวีนที่ 24 เพื่อให้ผู้กู้มีเวลาเพิ่มในการเข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ ไม่ต้องมีภาระจ่ายเพิ่ม

นายลวรณ ยกตัวอย่างผู้กู้ยืมจริงรายหนึ่งให้เห็นภาพว่า มียอดหนี้เดิม 2.79 แสนบาท ต้องชำหนี้ต่อเดือน 1,620 บาท บวกกับที่ถูกเก็บเพิ่มอีก 3,000 บาท รวมเป็น 4,620 บาท แต่เมื่อเข้ามาในระบบปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้หนี้ลดลงเหลือ 8.49 หมื่นบาท มีภาระชำระหนี้เดือนละ 480 บาท และไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม 3,000 บาท ให้มีปัญหาอย่างที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
“ตอนนี้ ต้องขอให้ลูกหนี้ 2.6 แสนบัญชี ที่มีปัญหายังต้องจ่ายเพิ่ม 3,000 บาท เข้ามาปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงลูกหนี้ที่ได้เงินคืน และลูกหนี่ที่หนีลดลงอีกจำนวนมาก เข้ามาลงทะเบียน เพราะเป็นประโยชน์ของลูกหนี้เอง ซึ่งทาง กยศ. จะเร่งทำการประชาสัมพันธ์ทุกช่องทาง เพื่อไม่ให้เสียเงินเพิ่ม 3,000 บาท ได้เงินคืน และหนี้ลดลง” นายลวรณ กล่าว














