
นายอมรเทพ จาวะลาผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย สรุปผลกระทบจากสถานการณ์ชายแดนไทย–กัมพูชา ดังต่อไปนี้
1. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจโดยรวมยังจำกัด
หากเหตุปะทะยังระดับ “ไม่ลุกลามเป็นสงครามเต็มรูปแบบ” ผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคยังค่อนข้าง “น้อย” เพราะใช้งบประมาณระยะสั้น ปกติไม่ถึง 3–7 วัน ซึ่งไม่ทำให้ระบบเศรษฐกิจไทยสั่นคลอน แม้กระทบความเชื่อมั่นหรือกระทบด้านจิตวิทยาการลงทุน
2. กระทบทันทีที่พื้นที่ชายแดน
ภาค “การค้าชายแดน” จะได้รับผลกระทบโดยตรง เนื่องจากความไม่แน่นอนหยุดชะงักการขนส่งสินค้า แต่มูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศไม่สูง ดังนั้นหากสถานการณ์ไม่ยืดเยื้อ อาจกระทบเฉพาะชั่วคราวเท่านั้น
ประชาชนกัมพูชายังคงต้องการสินค้าไทยในชีวิตประจำวัน การคว่ำบาตรหรือหยุดนำเข้าไม่น่าจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้
ผลกระทบชัดเจนในหมู่เกษตรกร พ่อค้า และสินค้าอุปโภคบริโภคที่ส่งผ่านพื้นที่ดังกล่าว สินค้าผ่านด่านมีกลุ่มน้ำมัน สินค้าเกษตร และเครื่องดื่ม
3. การลงทุนไทยในกัมพูชาไม่กระทบมาก
โครงการลงทุนจากไทยในกัมพูชายังไม่ได้รับผลกระทบใหญ่ ทั้งที่มีโรงงานและธุรกิจไทยดำเนินงานในพื้นที่ แต่ต้องระวังหากเหตุการณ์ปานปลายจนเกิดความรุนแรงเหมือนในอดีต
สิ่งที่ต้องจับตาคือ “แรงงานกัมพูชา” ที่อยู่ในไทยหากมีการเรียกแรงงานกลับประเทศ อาจมีผลกระทบบ้าง แต่ในระดับเล็ก เนื่องจากขนาดแรงงานกัมพูชายังสัดส่วนน้อยกว่าของพม่า และโดยมากอยู่ในภาคก่อสร้าง
โดยสรุป สถานการณ์ปะทะชายแดนไทย–กัมพูชา มีผลกระทบในช่วงสั้นและระดับพื้นที่ แต่ยังไม่น่ากังวลสำหรับเศรษฐกิจไทยโดยรวม หากไม่ยืดเยื้อเกินสัปดาห์ และภาคการค้าระหว่างประเทศยังสามารถดำเนินต่อได้ในภายหลัง เพียงแต่ให้จับตาว่าจะมีความรุนแรงจะขยายวงกว้างหรือไม่ ซึ่งจะกระทบบรรยากาศการค้าและการลงทุนในอนาคต
