ดันแบงก์พาณิชย์ ตั้ง AMC อุ้มลูกหนี้เอสเอ็มอี

Date:

นายลวรณ แสงสนิท กล่าวว่า มาตรการดูแลเอสเอ็มอี ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ และสงครามการค้าการขึ้นภาษีของสหรัฐ นอกจากมีงบกระตุ้นเศรษฐกิจ 1.57 แสนล้านบาท มี่ยังเลือกวงเงินใช้ในปีงบประมาณ 2568 อีก 2 หมื่นล้านบาท และหลังในปีงบประมาณ 2569 ที่เริ่มเดือน ต.ค. นี้ อีก 2.5 หมื่นล้านบาท

ยังมีเงินกู้ซอฟท์โลนจากธนาคารออมสินอีก 1 แสนล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ยต่ำมากๆ ปล่อยต่อให้กับธนาคารพาณิชย์เพื่อไปช่วยเหลือลูกค้า รวมถึงยังมีกำไกของบรรษัทค้ำประกันสินเชื่อขนาดกลางและขนาดย่อม (บสย.) ช่วยค้ำประกันลูกหนี้ในโครงการ GPS11 วงเงินอีก 5 หมื่นล้าน ทำให้เอสเอ็มอีที่ไม่มีหลักประกันเพียงพอเข้าถึงทุนได้มากขึ้น

ขณะเดียวกันจะมอบหมายให้ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ ที่จะดูแลลูกค้า ปรับบทบาทเชิงรุกมากขึ้น ผลกระทบครั้งนี้น่าเป็นห่วง การปล่อยสินเชื่ออย่างเดียวไม่เพียงพอ เอสเอ็มอีแบงก์ต้องเข้าไปร่วมทุน (Venture Capital) กับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมากขึ้น หลังจากเอสเอ็มอีแข็งแรงก็ขายหุ้นกลับให้เจ้าของ ซึ่งต้องทำตรงนี้ให้มากขึ้น โดยกระทรวงการคลังจะสนับสนุนเรื่องแหล่งทุนที่ต้องมาดำเนินการให้กับเอสเอ็มอีแบงก์

นายลวรณ กล่าวว่า คลังยังมีมาตรการดูแลเอสเอ็มอี ผ่านกลไกของธนาคารพาณิชย์ ดูแลลูกหนี้เอสเอสเอ็มอีที่เป็นหนี้เสียให้กลับมาดำเนินกิจการได้อีกครั้งอย่างรวดเร็วมากขึ้น โดยให้ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่หรือมีกำลังมากๆ ตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ (AMC) นำลูกหนี้เอสเอ็มอีที่เป็นหนี้เสียออกดูแล โดยจะให้เงื่อนไขพิเศษกับลูกหนี้กลุ่มนี้จากเดิมที่ต้องมีประวัติติดในเครดิตบูโร 36 เดือน สถานะถึงกลับมาเป็นลูกหนี้ปกติ ก็จะให้เป็นกรณีพิเศษเหลือเพียง 6 เดือน เพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลลูกหนี้กลุ่มนี้ได้เร็วมากขึ้น

สำหรับธนาคารพาณิชย์ขนาดเล็กที่ไม่สามารถตั้ง AMC ได้เอง ก็มีแนวคิดให้มาใช้บริการ ARI-AMC ของธนาคารออมสินที่ตั้งขึ้นมาได้

“การแก้หนี้เอสเอ็มอีผ่าน AMC ทำให้ธนาคารพาณิชย์ตัวเบาขึ้น การดำเนินการปกติก็สามารถทำให้ปล่อยหนี้ใหม่ได้มากขึ้น ขณะที่การช่วยลูกหนี้เอสเอ็มอีเป็นเอ็นพีแอล ที่ยังมีศักยภาพให้กลับมาดำเนินการปกติ ก็ทำได้รวดเร็วมากขึ้น ซึ่งแนวคืดนี้อาจจะนำไปใช้แก้หนี้เสียของนอนแบงก์ด้วย โดยแนวคิดจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วให้ปฏิบัติได้จริง” นายลวรณ กล่าว

ปลัดคลัง กล่าวว่า เอสเอ็มอีมี 35% ของจดีพี ซึ่งเป็นจำนวนมากแต่โอกาสก้าวขึ้นเป็นธุรกิตขนาดใหญ่น้อยเกินไป นอกจากนี้ยังล้มหายตายจากไปจำนานมาก เกิดใหม่มากจริงแต่ก็ตายไปเยอะเช่นกัน  ซึ่งวันนี้การแข่งขันยากขึ้นมากกว่าปกติ เพราะมาตรการภาษีของสหรัฐฯ จะมีผลวันที่ 1 ส.ค. นี้ ซึ่งหวังว่าไทยจะโดนเก็นภาษีเพิ่มในอัตราเดียวกับประเทศคู่แข่งในภูมิภาค ซึ่งต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะโดนเก็บอัตราเท่าไร มีผลกระทบกับเศรษฐกิจไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอาเอ็มอีของไทยทั้งนั้น คลังจึงเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบดังกล่าวให้ครอบคลุมทุกด้านมากที่สุด 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน DAD ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณ

ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน DAD ร่วมถวายสัตย์ปฏิญาณ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

‘ปลัดคลัง’ หวังขัดแย้งไทย-กัมพูชาไม่ยืดเยื้อ

‘ปลัดคลัง’ หวังขัดแย้งไทย-กัมพูชาไม่ยืดเยื้อฃ เร่งอัดเยียวยา/มั่นใจเศรษฐกิจ Q2 ยังโตฉลุย

ธ.ก.ส. ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ธ.ก.ส. ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 28 กรกฎาคม 2568

ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ออมสิน ถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว