มีเงินใช้คล่องมือทั้งปี….ด้วยเคล็ดลับวางแผนการเงินดีๆ

Date:

ต้องยอมรับว่าในภาวะเศรษฐกิจเช่นยุคนี้  ‘การวางแผนการเงิน’ คือ ทางรอดสำคัญอย่างหนึ่ง หากยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร ลองมาฟังคำแนะนำดี ๆ จาก กรุงศรีคอนซูมเมอร์ผู้ให้บริการบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคลที่แนะเคล็ดลับวางแผนการเงินรับต้นปีเพื่อช่วยให้คุณมีเงินใช้คล่องมือตลอดปีแบบไม่มีสะดุด

ตรวจสอบที่มาของรายรับและรายจ่ายสม่ำเสมอ : การทำบัญชีแสดงรายรับ-รายจ่าย คือ ‘หัวใจ’ สำคัญที่จะเห็นร่องรอยการใช้จ่ายของตัวเองว่าเป็นอย่างไร เปรียบได้กับมี ‘แผนที่’ ช่วยนำทางเพื่อให้รู้ที่มาและที่ไปของเงินคุณ จะได้รู้ว่าคุณควรแบ่งเงินสำหรับใช้หรือเก็บอย่างไร อาจลองทำตามคำแนะนำง่าย ๆ คือ ให้แบ่งเงินเป็น 3 หมวดตามรายการใช้จ่ายจริงของคุณ เช่น เงินเพื่อการออม (เช่น เงินฝากประจำ/กองทุน/สลากออมสิน/หุ้น) – เงินเพื่อใช้จ่าย (เช่น ค่าผ่อนรถ/ค่าผ่อนบ้าน/ค่าสาธารณูปโภค/ค่าอาหาร) – เงินเพื่อความสุข (เช่น หนังสือ/ท่องเที่ยว/ชมความบันเทิงต่าง ๆ) เคล็ดลับสำคัญ คือ ‘ให้ออมก่อนใช้’ และอย่าใช้ก่อนแล้วค่อยออมจะทำให้ไม่บรรลุเป้าหมาย 

ใช้แอปพลิชันช่วยจัดการค่าใช้จ่าย : ยุคนี้มีแอปพลิเคชันช่วยจัดการเรื่องการเงินอย่างมากมาย เช่น แอปพลิเคชันบริหารค่าใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ผู้ใช้สามารถตรวจสอบได้อย่างสะดวกผ่านสมาร์ทโฟน ทำให้รู้ทุกการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และยังเพิ่มความปลอดภัยจากในการใช้จ่ายผ่านบัตรด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่าง ๆ, แอปพลิเคชันสำหรับจดบัญชีรับ-จ่าย ข้อดีคือหยิบใช้งานได้ทันใจเพราะอยู่ในสมาร์ทโฟน ทำให้สะดวกจดได้ทันที จะถ่ายรูปอัปโหลดเก็บไว้เป็นหลักฐานก็ทำได้ง่าย ๆ ไม่ต้องเก็บบิลกระดาษไว้สร้างขยะให้กับโลกอีกด้วย บางแอปพลิเคชันช่วยอำนวยความสะดวกถึงขั้นดึงไฟล์เป็นนามสกุล Excel มาดูภาพรวมการใช้จ่ายได้ แถมเลือกจัดหมวดหมู่ได้ตามพฤติกรรมของแต่ละคน และยังมีกราฟสรุปให้ดูได้ง่าย ๆ เลือกได้ทั้งแบบรายวัน/รายสัปดาห์/รายเดือน/รายปี เห็นรายรับ-รายจ่ายได้ทันทีว่าทั้งปีคุณใช้เงินไปกับอะไรบ้าง 

แบ่งค่าใช้จ่ายเป็นหมวดหมู่ช่วยลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น : ยินดีด้วยหากคุณสามารถทำตาม 2 ขั้นตอนแรกได้แล้ว มาถึงอีกขั้นของความยากในการบริหารการเงิน คือ ‘How to ตัดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นทิ้ง’ ถือโอกาสนี้สำรวจบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตัวเองดูว่ามีรายจ่ายไหนที่อาจเป็นรายจ่ายฟุ่มเฟือยโดยที่คุณไม่รู้ตัว ทำให้เงินกระเด็นออกจากกระเป๋าสตางค์โดยไม่ทันได้คิด หรือลองดูว่ามีทางเลือกอื่นที่ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋าคุณได้มากกว่าหรือไม่ เช่น ข้าวของที่คุณซื้อใช้ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่มีอายุเก็บไว้ได้นานเป็นปี ไม่หมดอายุในทันที ลองซื้อเป็นแพ็กหรือซื้อยกลังจะถูกกว่าซื้อปลีก ทุ่นค่าใช้จ่ายได้มากกว่า, หากใช้บัตรเครดิตแทนเงินสดจะช่วยยืดระยะเวลาการจ่ายเงินได้ เมื่อถึงเวลาครบกำหนดชำระบิลต้องมีวินัยเลือกจ่ายแบบครบเต็มจำนวนจะได้ความคุ้มค่าจากส่วนลด โปรโมชันบัตร หรือเครดิตเงินคืนคุ้ม ๆ อย่างที่คุณอาจคาดไม่ถึง, เวลาซื้อของชิ้นใหญ่ที่มีราคาสูง ให้ใช้เวลาค่อย ๆ คิดและตัดสินใจ ลองเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสียเพื่อให้คุ้มกับเม็ดเงินที่คุณจ่ายไป เคล็ดลับสำคัญในการใช้จ่ายอย่างฉลาดคือให้คิดก่อนใช้และให้ใช้เมื่อจำเป็น ทางที่ดีหมั่นสังเกตรายรับ-รายจ่ายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ช่วยบ่มเพาะนิสัยการออมและสร้างวินัยทางการเงินให้เกิดขึ้นได้

หมั่นสังเกตสุขภาพทางการเงินส่วนบุคคล : สุขภาพทางการเงินมีความสำคัญไม่แพ้สุขภาพทางร่างกาย ลองตรวจเช็คง่าย ๆ ด้วยคำถาม 3 ข้อ คือ ตอนนี้คุณมีรายจ่ายมากกว่ารายได้หรือไม่, คุณมีหนี้สินที่ต้องจ่ายมากกว่ารายได้ต่อเดือนหรือไม่และทุกเดือนคุณมีเงินเหลือเก็บหรือไม่หากคำตอบ ‘ใช่’ มีมากกว่า ‘ไม่ใช่’ แสดงว่าคุณอาจต้องหันมาสังเกต ‘แผนที่ค่าใช้จ่าย’ และจัดระเบียบการเงินของตัวเองเสียใหม่ เพราะตามปกติแล้วสัดส่วนหนี้ต่อรายได้ตามคำแนะนำของสมาคมธนาคารไทยได้กำหนดภาระผ่อนชำระหนี้ไว้ไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ต่อเดือน สำคัญคือต้องระวังไม่ให้สัดส่วนรายได้น้อยกว่าหนี้สิน หากพบว่าสัดส่วนหนี้สินมีมากกว่า อาจต้องคิดหาทางแก้ไขด้วยการหารายได้เพิ่ม หรือลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยลง หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการแก้หนี้เพื่อหาหนทางปลดหนี้ให้หมดโดยไว 

ยิ่งลดค่าใช้จ่ายยิ่งเพิ่มเงินออมคือเคล็ดลับทำให้มีเงินใช้ไม่ขาดมือ: เคล็ดลับข้อสุดท้ายนี้คือก้าวสำคัญสู่บันไดแห่งความมั่งคั่ง หลังจากสำรวจจนรู้ ‘แผนที่ค่าใช้จ่าย’ ของตัวเองแล้ว ลองมาตั้งเป้าหมายการใช้จ่ายเงินของตัวเองให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการลดค่าใช้จ่ายเท่าที่ทำได้ จำเคล็ดลับไว้ว่า “ยิ่งลดค่าใช้จ่ายมากเท่าไหร่ยิ่งเพิ่มเงินออมมากเท่านั้น” นอกจากนั้น สำหรับคนที่อยากเพิ่มรายได้ให้กับตัวเอง ยุคนี้โลกเปิดกว้าง ความทันสมัยของเทคโนโลยีต่าง ๆ และช่องทางการเข้าถึงลูกค้าช่วยสร้างโอกาสให้สามารถหาช่องทางสร้างรายได้เสริมได้  อาจลองมองหาอาชีพที่ 2 หรือ 3, 4, 5…  สร้างรายได้เพิ่มเติมโดยไม่เบียดบังเวลาทำงานประจำของตัวเอง หรือหากยังนึกไม่ออกว่าจะหารายได้เพิ่มอย่างไร แค่เพียงมีวินัยทางการเงิน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ก็ช่วยให้คุณมีเงินออมเพิ่มขึ้นแล้ว

ข้อสำคัญคือคุณต้องไม่ย่อท้อ มีวินัย ในการจัดการการเงินอย่างฉลาดและอย่างระมัดระวัง เพราะอนาคตการเงินคุณต้องกำหนดวางแผนและลงมือทำด้วยตัวเองเท่านั้น ไม่ว่าจะปีนี้หรือปีไหนย่อมจะมีเงินให้ใช้ไม่ขาดและใช้จ่ายได้คล่องมืออย่างแน่นอน

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

สภาฯ พร้อมใจผ่าน พ.ร.ก. เก็บภาษีธุรกิจข้ามชาติ

สภาฯ พร้อมใจเห็นชอบ พ.ร.ก.เก็บภาษีธุรกิจข้ามชาติ พรรคประชาชนติงรัฐบาลไร้มาตรการรองรับผลกระทบ ทำนักลงทุนไม่มั่นใจไทย

เก็บภาษีส่วนเพิ่ม “ต่างชาติ” สะเทือนลงทุนบีโอไอ

รมช. คลังยอมรับ เก็บภาษีส่วนเพิ่ม “ต่างชาติ” กระทบมาตรการส่งเสริมการลงทุนบีโอไอ

ที่อยู่อาศัย กทม.-ปริมณฑล ฟื้นตัว

ดัชนีความเชื่อมั่นการซื้อ ที่อยู่อาศัย ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 มีสัญญาณฟื้นตัว

คลังปลื้มลูกหนี้เสียแห่ลงทะเบียน

“เผ่าภูมิ” เผยแก้หนี้ “คุณสู้ เราช่วย” เพียง 1 เดือน ลงทะเบียนล้นหลาม 1.8 แสนราย เกือบ 4 แสนบัญชี