การสำรวจความพร้อมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ สำหรับจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค

Date:

นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้นำคณะทำงานด้านพิธีการและอำนวยการเพื่อเตรียมการจัดประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค (APEC Finance Ministers’ Meeting: APEC FMM) ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เยี่ยมชมศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เพื่อสำรวจความพร้อมของสถานที่สำหรับจัดการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะใช้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นสถานที่สำหรับการจัดประชุมระดับรัฐมนตรี ในวันที่ 20 ตุลาคม 2565 โดยเฉพาะพื้นที่ห้องประชุม Plenary Hall ห้องแถลงข่าว และห้องสื่อมวลชน รวมทั้งห้องฟังก์ชั่นต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประชุม ตลอดจนพื้นที่สำหรับการนำเสนอนวัตกรรมทางการเงินการคลังของประเทศไทยซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล มุ่งสู่การเงินการคลังยั่งยืน” (“Advancing digitalization, Achieving sustainability”)

ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ได้ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว โดยมีขนาดใหญ่กว่าเดิมถึง 5 เท่า มีพื้นที่รวมกว่า 300,000 ตารางเมตร กำหนดเปิดดำเนินการในวันที่ 12 กันยายน 2565 และมีความพร้อมสำหรับการจัดการประชุม APEC FMM ครั้งที่ 29 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ในเดือนตุลาคม 2565 ทั้งในส่วนของความเหมาะสมของห้องประชุม การรักษาความปลอดภัย และความสวยงามของสถาปัตยกรรมซึ่งสะท้อนเอกลักษณ์ความเป็นไทยร่วมสมัย อีกทั้งยังสามารถชื่นชมความสวยงามและร่มรื่นของสวนป่าเบญจกิติได้จากบริเวณที่ใช้จัดการประชุม โดยสามารถรองรับและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมจากกระทรวงการคลังสมาชิกเอเปค องค์การระหว่างประเทศ และภาคเอกชน รวมทั้งสื่อมวลชนกว่า 300 คน ทั้งนี้ ผลการสำรวจความพร้อมข้างต้นจะนำรายงานให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบและมีข้อสั่งการต่อไป

ทั้งนี้ การประชุมในเดือนตุลาคม 2565 จะเป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเอเปค และผู้บริหารระดับสูงขององค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย รวมถึงสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจเอเปค เพื่อหารือประเด็นสำคัญ 2 ประเด็นที่ไทยต้องการผลักดัน ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Finance) และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อมุ่งสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล (Digitalization for Digital Economy) รวมทั้ง เป็นโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจาก 21 เขตเศรษฐกิจจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง เพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคที่เข้มแข็ง สมดุล มั่นคง ยั่งยืนและครอบคลุมต่อไป

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri 

กรุงศรี ขับเคลื่อนกลยุทธ์ GO ASEAN with krungsri ผสานความแข็งแกร่งและร่วมมือในเครือกรุงศรี MUFG และพันธมิตร สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอาเซียน

พันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน ซื้อเกินเป้าหมายกว่า 2.76 เท่า

สบน. ประสบความสำเร็จในการออก พันธบัตรส่งเสริมความยั่งยืน  (Sustainability-Linked Bond) ครั้งแรก ด้วยการเสนอซื้อเกินเป้าหมายกว่า 2.76 เท่า

ปี 2568 ส่งออกไทย ยังเสี่ยง

ปี 2568 การค้าโลกและการส่งออกของไทย ยังต้องเผชิญความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น

EXIM BANK ร่วมยินดีรองปลัดกระทรวงการคลัง

EXIM BANK ร่วมยินดี “ธีรลักษ์ แสงสนิท” รองปลัดกระทรวงการคลัง