ผู้เชี่ยวชาญวิจารณ์ WHO เดินถอยหลังในการควบคุมยาสูบ

Date:

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา นิตยสารทางการแพทย์ชื่อดังอย่าง The Lancet ได้เผยแพร่บทความของ ศาสตราจารย์ Robert Beaglehole อดีต ผอ. ศูนย์โรคเรื้อรังและการส่งเสริมสุขภาพ (Director of the Department of Chronic Diseases and Health Promotion) แห่งองค์การอนามัยโลก ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎระเบียบการควบคุมยาสูบ และศาสตราจารย์ Ruth Bonita ที่เรียกร้องให้องค์การอนามัยโลกรวมถึงประเทศภาคสมาชิกของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบ (FCTC) สนับสนุน ‘หลักการลดอันตรายจากยาสูบ’ และปฏิเสธการควบคุมผลิตภัณฑ์ไร้ควันด้วยแนวทางเดียวกับบุหรี่มวนในการประชุม FCTC COP10 ระหว่าง 5-10 กุมภาพันธ์ 2567 นี้ ที่ประเทศปานามา

โดยเนื้อหาบทความระบุว่า หลักการลดอันตรายนั้นเป็นกลยุทธ์ทางสาธารณสุขที่ประสบความสำเร็จ ตัวอย่างเช่นการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด ดังนั้น หลักการลดอันตรายในยาสูบจึงควรเป็นกลยุทธ์สำหรับกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC) เพิ่มเติมจากมาตรการควบคุมอุปสงค์และอุปทานของยาสูบ ซึ่งจำเป็นแต่ไม่เพียงพอที่จะแก้ปัญหาการลดอัตราการสูบบุหรี่ลงได้ 

องค์การอนามัยโลกนั้นมีอิทธิพลต่อการผลักดันและสนับสนุนแนวทางการควบคุมยาสูบในระดับโลก ทว่าความสำเร็จของการจัดการกับอัตราการสูบบุหรี่และการบริโภคยาสูบของ FCTC นั้น ยังคงเป็นที่กังขา เนื่องจากกรอบอนุสัญญาฯ นั้นไม่ได้ห้ามการใช้แนวทางลดอันตราย แต่ให้แต่ละประเทศตัดสินใจเลือกวิธีการควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่เอง ฝ่ายองค์กรอนามัยโลกนั้นก็ยังคงขาดการผลักดันในเรื่องของการลดอันตรายจากยาสูบ ซึ่งเป็นการจำกัดทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพของผู้คนจำนวนกว่า 1,300 ล้านคนทั่วโลกที่ยังคงสูบบุหรี่และมีความเสี่ยงทางสุขภาพ

จุดยืนขององค์การอนามัยโลกที่ต้องการให้บุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่ถูกควบคุมแบบเดียวกันกับบุหรี่มวนนั้น ไร้ซึ่งเหตุผลสนับสนุนทางวิทยาศาสตร์ โดยจุดยืนดังกล่าวเป็นการมองข้ามหลักการของ “สัดส่วนความเสี่ยง” (Risk-proportionate Approach) ซึ่งศาสตราจารย์ผู้ให้ความเห็นได้กล่าวว่า “เราเชื่อว่า WHO ต้องแสดงความเป็นผู้นำและให้การสนับสนุนทางเทคนิคกับประเทศที่พิจารณานำบุหรี่ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์นำส่งนิโคตินอื่นๆ (เช่น SNUS, ถุงนิโคตินสำหรับใช้ในช่องปาก, ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบใช้ความร้อน และผลิตภัณฑ์ยาสูบไร้ควัน) ในปัจจุบันแนวทางขององค์การอนามัยโลกต่อผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าเหล่านี้ คือการให้รางวัลแก่ประเทศต่างๆ ที่แบนบุหรี่ไฟฟ้ากว่า 34 ประเทศ โดยส่วนมากเป็นประเทศในกลุ่มรายได้ต่ำถึงปานกลาง เช่น อินเดีย ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วและไม่ได้แบนผลิตภัณฑ์ไร้ควันเหล่านี้ ได้รับประโยชน์จากการนำแนวคิดเรื่องหลักการลดอันตรายไปใช้ เช่น นิวซีแลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ อังกฤษ เป็นต้น” 

“ในหลายประเทศ การลดลงอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการสูบบุหรี่นั้นเกี่ยวโยงกับการนำผลิตภัณฑ์นิโคตินแบบใหม่เข้ามา เช่น ในนิวซีแลนด์ อัตราการสูบบุหรี่ต่อวันของผู้สูบบุหรี่ที่เป็นผู้ใหญ่นั้นลดลงจากร้อยละ 13.3 ในปี 2017-2018 สู่ร้อยละ 6.8 ในปี 2022-2023 หลังบุหรี่ไฟฟ้ามีขายทั่วไปอย่างแพร่หลาย ซึ่งนับว่า (อัตราการสูบบุหรี่) ลดลงกว่าร้อยละ 49 ในระยะเวลา 5 ปี โดยในช่วงระยะเวลาเดียวกัน อัตราการใช้บุหรี่ไฟฟ้าต่อวันในผู้ใหญ่นั้นเพิ่มจากร้อยละ 2.6 สู่ร้อยละ 9.7 โดยมีรัฐบาลคอยควบคุมบุหรี่ไฟฟ้าอยู่ การลดลงของอัตราการสูบบุหรี่ในนิวซีแลนด์นั้นนับเป็นการพิชิตเป้าหมายที่เกินกว่าเป้าหมายการลดอัตราการสูบบุหรี่ลงร้อยละ 30 ภายใน 15 ปีที่กำหนดโดยองค์การอนามัยโลก” 

เช่นเดียวกับนิวซีแลนด์ ยังมีอีกหลายประเทศที่สามารถลดอัตราการสูบบุหรี่ลงโดยการนำผลิตภัณฑ์นำส่งนิโคตินรูปแบบใหม่เข้ามาใช้เพิ่มเติมจากการนำหลักการลดอุปสงค์อุปทานขององค์การอนามัยโลก เช่น สวีเดนและนอร์เวย์ที่มีการใช้ SNUS อย่างแพร่หลายมาอย่างยาวนาน สหราชอาณาจักรที่นำบุหรี่ไฟฟ้ามาเป็นเครื่องมือช่วยเลิกบุหรี่ ญี่ปุ่นที่ผู้สูบบุหรี่หันมาใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบแบบให้ความร้อน 

การประชุมประเทศภาคีสมาชิกของกรอบอนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมยาสูบขององค์การอนามัยโลก (WHO FCTC Conference of the Parties 10; COP10) ซึ่งกำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้จนถึงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ที่ประเทศปานามานั้น มีการนำเสนอให้ควบคุมผลิตภัณฑ์นิโคตินรูปแบบใหม่ด้วยแนวทางเดียวกับบุหรี่มวน ซึ่งนับเป็นข้อเสนอที่เป็น ‘การก้าวถอยหลัง’ เนื่องจากระดับของอันตรายจากผลิตภัณฑ์ทั้งสองกลุ่มนั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง และที่สำคัญที่สุดคือ สาเหตุหลักของอันตรายจากบุหรี่นั้นมาจากการเผาไหม้ ไม่ใช่นิโคติน และในกรณีที่แย่ที่สุด ยุทธศาสตร์ดังกล่าวอาจเป็นการสนับสนุนบุหรี่มวนและเป็นการสกัดกั้นบุหรี่ไฟฟ้า

นอกจากนี้ บทความยังระบุว่า “จุดโฟกัสควรอยู่ที่ปัญหาด้านสาธารณสุข ซึ่งคือผลกระทบต่อสุขภาพจากการบริโภคยาสูบ การลดการสูบบุหรี่นั้นเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการลดอัตราการเสียชีวิตจากยาสูบ และหลักการลดอันตรายจากยาสูบนั้นก็เป็นหนทางที่รวดเร็วและสมเหตุสมผลที่สุดในการลดอัตราการสูบบุหรี่ องค์การอนามัยโลกควรรับเอานวัตกรรมการนำส่งนิโคตินรูปแบบใหม่เหล่านี้มาใช้”

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

บสย. หนุน SME “กลุ่มเปราะบาง” ออกมาตรการ “ลด ปลด หนี้”

บสย. มอบของขวัญปีใหม่ 2568 ช่วย SMEs ตัวเบา ส่งมาตรการใหม่ หนุน SMEs “กลุ่มเปราะบาง” ลด ปลด หนี้

EXIM BANK พัฒนาอุตสาหกรรมฮาลาลไทยสู่ตลาดการค้าโลก

EXIM BANK จับมือกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมและพันธมิตร มอบของขวัญปีใหม่สำหรับผู้ส่งออกสินค้าฮาลาล

EXIM BANK จัดงาน EXIM: Excellence in Trust for Sustainability

EXIM BANK จัดงาน EXIM: Excellence in Trust for Sustainability ตอกย้ำความมุ่งมั่นในแนวคิด ESG สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญปีใหม่ 2568 

EXIM BANK ออกมาตรการของขวัญพิเศษปีใหม่ 2568 สร้าง “ชีวิตดี มีความสุข ดีต่อใจ” ผู้ประกอบการไทยในเวทีการค้าโลก