เตรียมพร้อมอย่างไร เพื่อรองรับการสมรสเท่าเทียม

Date:

เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 วุฒิได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่..) พ.ศ. … หรือร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียม ได้รับการประกาศและมีผลบังคับใช้ จะทำให้คู่รัก LGBTQ+ ได้รับสิทธิตามกฎหมาย ประกอบด้วย 1) สิทธิในการตั้งครอบครัว 2) สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน 3) สิทธิทางทรัพย์สินและมรดก และ 4) สิทธิในการดูแลระหว่างคู่ชีวิต การปรับเปลี่ยนสถานะดังกล่าว ยังเชื่อมโยงถึงสิทธิตามกฎหมายอื่นที่ได้เพิ่มขึ้นมาจากสวัสดิการข้าราชการ อาทิ สิทธิในการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล สิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอด ขณะที่ สวัสดิการลูกจ้างภาคเอกชน คู่สมรสซึ่งมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม มีสิทธิที่จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพ เงินสงเคราะห์จากกองทุนประกันสังคม และเงินค่าทำศพหากเป็นผู้ดำเนินการจัดการศพ รวมทั้งเป็นผู้รับประโยชน์จากการทำประกันชีวิตได้

นอกจากนี้ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ยังมีส่วนช่วยการกระตุ้นเศรษฐกิจจากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการสมรส จากการศึกษาของ The William Institute สหรัฐอเมริกา พบว่า กฎหมายสมรสเท่าเทียม สามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับประเทศไทย ข้อมูลของ Ipsos ปี 2566 คาดว่า ไทยอาจมีประชากร LGBTQ+ วัยผู้ใหญ่ ประมาณร้อยละ 9 หรือคิดเป็นจำนวนกว่า 4.4 ล้านคน ซึ่งหากในจำนวนนี้ มีการสมรสในอัตราเดียวกับการจดทะเบียนสมรสระหว่างชายหญิง อาจส่งผลให้ในแต่ละปีมีการจัดงานแต่งงานเพิ่มขึ้นประมาณ 1.2 หมื่นงาน หรือสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ถึงปีละ 1.7 พันล้านบาท และเป็นโอกาสในการเติบโตของหลายธุรกิจที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสินเชื่อและการเป็นเจ้าของทรัพย์สิน อีกทั้ง ยังส่งผลให้เกิดประโยชน์ทางด้านสังคม เช่น ความมั่นคงของความสัมพันธ์ภายในครอบครัว
จากการมีหลักประกันของการใช้ชีวิตคู่ และ การรับบุตรบุญธรรมอาจมีส่วนช่วยลดปัญหาเด็กโตนอกบ้านได้ 

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นที่ต้องเตรียมความพร้อมและดำเนินการภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้ คือ

1) การทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการเตรียมความพร้อมในการดำเนินงานของภาครัฐ จากการแก้ไข ที่ระบุให้บรรดาบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ข้อบัญญัติ ประกาศ คำสั่ง หรือมติคณะรัฐมนตรีต่าง ๆ ที่มีการอ้างถึงคำว่า “สามี” “ภริยา” ให้ถือว่าอ้างถึงคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสตาม ร่าง พ.ร.บ.ฯ ฉบับนี้ ซึ่งจะทำให้มีกฎหมาย 51 ฉบับ ที่ต้องได้รับการทบทวน อีกทั้ง รัฐจะต้องเตรียมความพร้อมด้านทะเบียน เอกสาร ใบสำคัญต่าง ๆ เกี่ยวข้อง

2) การพิจารณาประเด็นเชื่อมโยงที่เป็นผลสืบเนื่องจากสิทธิ ที่คู่รักเพศหลากหลายได้รับเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะประเด็นเกี่ยวกับบุตรบุญธรรม ที่ยังคงถูกจำกัดสิทธิ ค่ารักษาพยาบาลและค่าเล่าเรียน แต่ยังคงได้รับสิทธิจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด ซึ่งในบางครั้งไม่สามารถติดตามตัวได้ ทำให้เด็กไม่ได้รับสิทธิและเป็นภาระค่าใช้จ่ายของพ่อแม่บุญธรรม จึงอาจต้องพิจารณา เพื่อให้ผู้รับบุตรบุญธรรมสามารถให้สิทธิแก่บุตรบุญธรรมได้

3) การเตรียมความพร้อมทางธุรกิจเพื่อรองรับกลุ่มคนเพศหลากหลาย ต้องมีการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มนี้ เพื่อเตรียมกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งด้านสินค้าและบริการ และเป็นการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจใหม่ที่ตอบโจทย์ชีวิตมากขึ้น อาทิ คลินิกสุขภาพเพศหลากหลาย

4) การสร้างความเข้าใจถึงความหลากหลายทางเพศให้กับสังคม ต้องมีการสร้างความเข้าใจ การเคารพต่อสิทธิ และความเห็นของแต่ละฝ่าย รวมทั้งต้องร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันด้านจิตใจ โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนในครอบครัว LGBTQ+ และอาจต้องมีการปรับปรุงวิถีปฏิบัติ อาทิ กิจกรรมงานวันพ่อ/แม่

และ 5) การเตรียมความพร้อมของงบประมาณ เพื่อรองรับการได้รับสวัสดิการที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากอาจมีค่าใช้จ่ายการเบิกค่ารักษาพยาบาลของคู่สมรสข้าราชการมากขึ้น และการจัดเก็บรายได้ที่ลดลง จากการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีของคู่สมรสและของบิดามารดาคู่สมรส

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

CHAGEE เปิดตัวน้อน “Bes-tea Plushies”

น่ารักเกินกว่าจะยกดื่ม! CHAGEE เปิดตัวน้อน “Bes-tea Plushies” คู่หูสุดคิ้วท์ ชวนจุ่มทั้งคอลเลคชันกับดีลพิเศษคู่เมนูฮิตจำนวนจำกัด 18 - 24 ก.ค. 2568 นี้ เท่านั้น!

ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต 

ออมสิน ชวนเข้าโครงการสินเชื่อสร้างเครดิต สร้างโอกาส ปลดล็อกอนุมัติกู้ให้ทุกอาชีพที่ไม่เคยกู้เงินแบงก์

ธ.ก.ส. ชวนฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก

ธ.ก.ส. ชวนฝากสลากออมทรัพย์ ธ.ก.ส. ชุดมังกรหยก ลุ้นจุ่ม Art Toy AGRI ANIMAL ในงาน Thailand Smart Money อุบลราชธานี ครั้งที่ 11

“เผ่าภูมิ” ยันไทยไม่ลดภาษี 0% ทั้งหมดให้สหรัฐฯ

“เผ่าภูมิ” ยันเป็นไปได้ที่ไทยจะลดภาษี 0% ให้สหรัฐฯ แบบ100% ยันต้องพิจารณาบนหลักความสมดุล ย้ำผู้ชนะไม่ใช่คนที่ได้เรตภาษีต่ำที่สุด