สตง. เผยแนวทางการตรวจสอบโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่

Date:

นายสุทธิพงษ์ บุญนิธิ รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ในฐานะโฆษกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน เปิดเผยว่า จากกรณีเหตุการณ์อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนถนนพระราม 2 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยของโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่  สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิน ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และได้ศึกษาแนวทางการตรวจสอบด้านความปลอดภัยของโครงการขนาดใหญ่จากองค์กรตรวจเงินแผ่นดินในต่างประเทศ อาทิ สตง.เกาหลีใต้ (BAI) สตง.เนเธอร์แลนด์ (NCA) สตง.สหรัฐอเมริกา (GAO) และ สตง.ออสเตรเลีย (ANAO) ซึ่งมีแนวทางการตรวจสอบที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการกำกับดูแลความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของไทย โดยสรุปได้ดังนี้

1. การประเมินความเสี่ยงโครงการผ่านเครื่องมือที่เป็นระบบ สตง.เกาหลีใต้ได้พัฒนา Risk Analysis Model ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์เพื่อคำนวณค่าความเสี่ยงและจัดระดับความเสี่ยงของโครงการขนาดใหญ่ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น ความซับซ้อนของโครงการ ประวัติผู้รับเหมา ประวัติอุบัติเหตุ และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย และปัจจุบัน สตง.ไทย ได้นำแนวทางนี้มาพัฒนาเป็น MIRA (Mega Project Integrity Risk Assessment) ซึ่งเป็นระบบประเมินความเสี่ยงที่สามารถช่วยกำหนดระดับความเข้มข้นในการตรวจสอบโครงการขนาดใหญ่

2. การสอบทานคุณสมบัติของผู้รับเหมาอย่างละเอียด สตง.สหรัฐอเมริกาใช้แนวทาง Past Performance Review เพื่อช่วยหน่วยงานรัฐในการสอบทานประวัติของผู้รับเหมาก่อนอนุมัติให้เข้าร่วมโครงการ โดยเน้นพิจารณาประวัติการทำงานก่อนหน้า อุบัติเหตุในอดีต และการปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย

3. การนำเทคโนโลยีมาช่วยประเมินความปลอดภัย สตง.เนเธอร์แลนด์ได้นำเทคโนโลยี 3D Modeling และ Simulation มาใช้ในการตรวจสอบความมั่นคงของโครงสร้างก่อนเริ่มการก่อสร้าง เพื่อจำลองสถานการณ์และระบุจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ

4. การส่งเสริมความโปร่งใสผ่านรายงานความปลอดภัย สตง.ออสเตรเลียแนะนำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่รายงานความคืบหน้าด้านความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ และเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ

โฆษกสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวเพิ่มเติมว่า สตง. ให้ความสำคัญกับประเด็นความปลอดภัยในโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ โดยเน้นการนำแนวทางสากลและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการตรวจสอบ พร้อมทั้งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยเพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต 

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

GPSC เปิดแผนศึกษา SMR เทคโนโลยี Gen IV

GPSC เปิดแผนศึกษา SMR เทคโนโลยี Gen IV ผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด ตอบโจทย์ภาคการผลิต มุ่งสู่เป้าหมาย Net Zero Emissions

GPSC คว้า 5 รางวัล Asian Excellence Award 9 ปีซ้อน

GPSC คว้า 5 รางวัล Asian Excellence Award 9 ปีซ้อน ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมพลังงานระดับเอเชีย

พม. พัฒนา “App DepFund” สร้างโอกาส “คนพิการและผู้ดูแล”

พม. พัฒนา “App DepFund” สร้างโอกาส “คนพิการและผู้ดูแล” เข้าถึงบริการเงินกู้ยืมง่ายขึ้น

เชลล์ ผนึกความร่วมมือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน

เชลล์ ผนึกความร่วมมือกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ยกระดับทักษะเสริมประสิทธิภาพช่างบริการศูนย์เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเชลล์ทั่วไทย