เตือนประชาชน อย่าเผยแพร่ 5 ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญในโซเชียลมีเดีย

Date:

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เนื่องจากขณะนี้ได้พบกรณีประชาชนถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพผ่านช่องทางออนไลน์และโซเชียลมีเดีย ซึ่งพบว่ามีลักษณะคล้ายกันคือการได้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลทางการเงิน ให้มิจฉาชีพที่แสดงตัวในรูปแบบต่าง เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่รัฐ และนำไปสู่การถูกจารกรรมทรัพย์สินต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเงินในบัญชีเงินฝาก

ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการถูกหลอกลวงหรือจารกรรมข้อมูลในเบื้องต้น สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้มีคำเตือนให้ประชาชนระมัดระวังการให้ข้อมูลส่วนบุคคลแก่บุคคลอื่นบนช่องทางออนไลน์ หรือโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะบุคคลที่ไม่รู้จัก และหลีเลี่ยงการร่วมกิจกรรมบนโซเชียลมีเดียที่มีลักษณะการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลในที่สาธารณะ เช่น การรับรหัส ATM นำโชค ที่มีการแจกให้กับผู้มีความเชื่อเกี่ยวกับตัวเลข ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในขณะนี้

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า ข้อมูลส่วนบุคคลสำคัญ 5 ประเภท ที่ สพร. เตือนให้ระมัดระวังไม่เปิดเผยต่อบุคคลอื่น ประกอบด้วย 1)หมายเลขข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เลขบัตรประชาชน เลขหนังสือเดินทาง เลขประจำตัวผู้เสียภาษี เลขหนังสือเดินทาง 2)ข้อมูลพิกัดที่อยู่อาศัย เบอร์โทรศัพท์ อีเมล 3)ข้อมูลธนาคาร เช่น เลขบัญชี รหัส ATM, เลขบัตรเครดิต 4)ข้อมูลทางชีวมิติ เช่น ลายนิ้วมือ ข้อมูลแสดงม่านตา 5)ข้อมูลอุปกรณ์ เช่น IP Address, Mac Address, Cookie ID

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ ที่ทั้งเจ้าของข้อมูลและผู้ทำหน้าที่รักษาข้อมูลก็ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้เกิดการรั่วไหล เนื่องจากเป็นเป็นเรื่องละเอียดอ่อน อาทิ ข้อมูลทรัพย์สินของบุคคล เช่น ทะเบียนรถยนต์ โฉนดที่ดิน, ข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปยังข้อมูลส่วนบุคคลอื่นๆ เช่น วันเดือนปีเกิด เชื้อชาติ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลการจ้างงาน ข้อมูลประเมินผลการทำงานหรือความเห็นของนายจ้างต่อการทำงานของลูกจ้าง ข้อมูลบันทึกต่างๆ ที่ใช้ติดตามตรวจสอบกิจกรรมของบุคคล ตลอดจนข้อมูลที่สามารถใช้ในการค้นหาข้อมูลส่วนบุคคลอื่นในอินเตอร์เน็ต

“ข้อมูลส่วนบุคคลโดยเฉพาะหมายเลขส่วนบุคคล ข้อมูลธนาคาร เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เจ้าของข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวัง ไม่บอกให้กับผู้อื่นทราบ ไม่โพสต์เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต หรือบนเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพราะเสี่ยงต่อการที่ข้อมูลรั่วไหล หรือ ถูก Phishing ข้อมูลจากมิจฉาชีพ ที่อาจนำไปสู่การจารกรรมข้อมูลและเกิดการสูญเสียเงินและทรัพย์สิน” น.ส.ไตรศุลี กล่าว

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

รมช.คลัง โยนนายกฯ ตัดสิน แจกเงินดิจิทัลเฟส 3

รมช.คลัง โยนนายกฯ ตัดสินแจกเงินดิจิทัลเฟส 3 จะไปไปต่อ หรือพอแค่นี้

นายกฯ รับ ทบทวนเงินดิจิทัลเฟส 3 

นายกฯ รับ ทบทวนเงินดิจิทัลเฟส 3 แจงคุยทีมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่แล้วเรื่อยๆ

ธนาคารกรุงเทพ ผนึก กรุงเทพประกันชีวิต ตอบโจทย์แผนการเงินมั่นคง

ธนาคารกรุงเทพ ผนึก กรุงเทพประกันชีวิต ตอบโจทย์แผนการเงินมั่นคง ชูโครงการ ‘Gain & Save รับความคุ้มครองชีวิตพร้อมรับสิทธิ์ดอกเบี้ยพิเศษ

เบทาโกร กำไรไตรมาส 1/68 โตก้าวกระโดด 1,897 ล้านบาท

เบทาโกร กำไรไตรมาส 1/68 โตก้าวกระโดด เติบโตอย่างแข็งแกร่ง รายได้รวม 30,499.0 ล้านบาท และกำไรสุทธิ 1,897.8 ล้านบาท