แก้ปัญหา สลากทิพย์ กองสลากปรับรูปแบบใบสลากใหม่

Date:

พันโท หนุน ศันสนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวว่า กรณีที่มีการนำรูปภาพสลากฯ ไปโพสต์จำหน่าย โดยปกปิดสาระสำคัญบนใบสลาก ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่า เป็นสลากที่ถูกนำไปวนขายหลายทอด โดยไม่มีสลากจริงหรือที่เรียกกันว่าสลากทิพย์ตามที่ปรากฎเป็นข่าว

อีกทั้ง ยังมีกรณีการนำสลากที่ไม่ถูกรางวัลไปปลอมแปลงแก้ไขตัวเลขแล้วนำไปหลอกขายให้กับประชาชนที่หลงเชื่อต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง อีกทั้งหากนำสลากปลอมแปลงแก้ไขมาขึ้นเงินรางวัล ก็จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายอีกด้วย ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ทำให้ประชาชนผู้ซื้อได้รับความเดือดร้อน นอกจากการต้องซื้อสลากราคาเกินกว่าที่กำหนดแล้ว ยังอาจจะถูกหลอกลวงจากการที่ไม่มีสลากฉบับจริง หากถูกรางวัลจะไม่สามารถขึ้นเงินรางวัลได้

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว สำนักงานสลากฯ จึงได้ปรับรูปแบบของข้อมูลบนใบสลากจากเดิม “ชุดที่” จะอยู่ใต้ “งวดวันที่” ปรับเปลี่ยนเป็น พิมพ์หมายเลข “ชุดที่” เพิ่มโดยพิมพ์ทับลงบน “งวดวันที่” ซึ่งจะทำให้ เห็นเลขชุดได้อย่างชัดเจน ในตำแหน่งเดียวกับงวดวันที่ ซึ่งเป็นส่วนที่ผู้โพสต์ขายจะต้องเปิดเผยให้ผู้ซื้อเห็นได้อย่างชัดเจนอยู่แล้ว นอกเหนือจากหมายเลขบนใบสลาก เมื่อผู้ซื้อสลากทราบหมายเลขชุดก็จะสามารถตรวจสอบได้ว่า สลากฉบับนั้นๆ ได้ถูกนำไปขายที่อื่นด้วยหรือไม่ นอกจากนี้ ยังเป็นการป้องกันการปลอมแปลงบนใบสลากแล้วนำไปหลอกขายให้กับประชาชนอีกด้วย ทั้งนี้ รูปแบบดังกล่าวจะเริ่มพิมพ์ออกจำหน่ายตั้งแต่งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป

Share post:

spot_img
spot_img

Related articles

EA รับฟังเสียงผู้ถือหุ้นกู้ ปรับแผนชำระหุ้นกู้ใหม่ลดเวลาเหลือ 5 ปี

EA รับฟังเสียงผู้ถือหุ้นกู้ ปรับแผนชำระหุ้นกู้ใหม่ลดเวลาเหลือ 5 ปี นัดประชุมผู้ถือหุ้นกู้วันที่ 9 กรกฎาคมนี้

‘VRANDA’ ชี้ตลาดท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว

‘VRANDA’ ชี้ตลาดท่องเที่ยวส่งสัญญาณฟื้นตัว พ้นจุดต่ำสุดในไตรมาส 2 เตรียมรับปัจจัยบวก "เที่ยวคนละครึ่ง" หนุนตลาดครึ่งปีหลัง 68 คึกคัก

Gen Z พลิกโฉมวงการท่องเที่ยวแบบ Luxury!

Gen Z พลิกโฉมวงการท่องเที่ยวแบบ Luxury! ผลสำรวจเผยคนยุคใหม่ในเอเชียแปซิฟิก ให้ความสำคัญกับเรื่องราวระหว่างทาง มากกว่ามูลค่าที่ต้องจ่าย

 ททท. ผนึกกำลัง KTC กระตุ้นท่องเที่ยวหน้าฝน

ททท. ผนึกกำลัง KTC กระตุ้นท่องเที่ยวหน้าฝนผ่านแคมเปญ “Isan Greencation” พร้อมหนุนท่องเที่ยวอีสานเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน